ชุมชนสงขลา และอาสาสมัครกรีนพีซรวมพลังเก็บขยะ ตรวจสอบแบรนด์ขยะพลาสติกในวันทำความสะอาดชายหาดสากล – พิชามญชุ์ รักรอด หัวหน้าโครงการรณรงค์ยุติมลพิษพลาสติก กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่ากังวลที่เรายังคงเจอขยะพลาสติกในทุก ๆ สภาพแวดล้อม ตั้งแต่บนภูเขาไปจนถึงทะเล ขยะพลาสติกเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหลายชนิดด้วย และที่น่าเศร้าใจที่สุด คือ
แถลงการณ์ของกรีนพีซ กรณีพบขยะพลาสติกในกระเพาะอาหารของวาฬหัวทุยที่เสียชีวิตกลางทะเลแถบเกาะลันตา จ.กระบี่ – รายงานสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก พ.ศ.2560 [2] ระบุว่า จากการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากกลุ่มโลมาและวาฬที่เกยตื้นระหว่างปี พ.ศ.2549-2559 รวมระยะเวลา 11 ปี โลมาและวาฬส่วนใหญ่เสียชีวิตมาก่อนแล้ว ทำให้ความสำเร็จในการช่วยเหลือโลมาและวาฬยังมีค่อนข้างต่ำ เนื่องจากจากโลมาและวาฬที่เกยตื้นส่วนใหญ่มีอาการป่วยที่ค่อนข้างรุนแรง รายงานยังระบุอีกว่า ขยะเป็นสาเหตุของการเกยตื้นซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลกำหนดนโยบายปกป้องเกษตรกรจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู และผลกระทบอื่นจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ – โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมูกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วเอเชีย กระทรวงเกษตรของเวียดนามระบุในรายงานว่า เวียดนามกำจัดหมูไปแล้วกว่า 2.8 ล้านตัว คิดเป็นเกือบร้อยละ10 ของหมูในประเทศทั้งหมดจำนวน 30 ล้านตัว [1] โรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิตหมู แต่ไม่ส่งผลอย่างไรต่อมนุษย์ ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีการตรวจพบการแพร่ระบาดของโรคนี้ในเอเชีย เมื่อปี
แถลงการณ์ของกรีนพีซ กรณีปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และกรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล – พลาสติกเป็นปัญหามลพิษ ไม่ใช่ปัญหาขยะ และต้องเน้นการแก้ปัญหาตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงเมื่อพลาสติกหมดอายุการใช้งาน ข้อจำกัดของกรอบการปฏิบัติงานว่าด้วยขยะทะเล คือเน้นเพียงการจัดการปลายทางหลังจากมลพิษพลาสติกได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์กากของเสีย การจัดการของเสียและการกำจัดขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม
ลด น.เนื้อ เพื่อ ล.โลก กรีนพีซรณรงค์งดเนื้อสัตว์เพื่อลดความเสี่ยงเชื้อดื้อยา – กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงาน ผ.ผักกินดี ลด น.เนื้อ เพื่อ ล.โลก ขึ้น ร่วมกับ Krua.co สำนักพิมพ์แสงแดด เพื่อเดินหน้าผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงนิเวศและการผลิตที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ร่วมลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาบริโภคอาหารที่ทำจากพืชผักอย่างน้อยสองมื้อต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพของทุกคนและความอุดมสมบูรณ์ของโลก
กรีนพีซผลักดันรัฐบาลไทยให้ยกร่างมาตรฐานใหม่ของ PM 2.5 ในบรรยากาศ ชี้พื้นที่เมืองหลายแห่งยังคงเผชิญกับมลพิษทางอากาศที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ – การจัดอันดับเมืองที่มีปัญหามลพิษฝุ่นละอองPM2.5 ในประเทศไทยครั้งนี้ พบว่าในปี 2561พื้นที่เมือง 10 อันดับที่ต้องเผชิญกับมลพิษ PM2.5 คือ (1) ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร (2) ต.แม่ปะอ.แม่สอด จ.ตาก (3) ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ (4) ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (5) ต.ช้างเผือก อ.เมือง
ความเห็นของกรีนพีซต่อมาตรการเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิดของประเทศไทย – "การกำหนดเป้าหมายและช่วงเวลาในการเลิกใช้พลาสติกทั้ง 7 รายการนี้ เป็นจุดพลิกผันทางนโยบายครั้งสำคัญเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติกทั้งในระบบนิเวศทางทะเลและบนบก การเลิกใช้พลาสติก 7 รายการนี้จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามาตรการที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายอย่างเป็นระบบนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีกว่าการดำเนินการแบบสมัครใจที่ผ่านมา
กรีนพีซชวนคนมาร่วมกัน ซื้อน้อย ใช้ซ้ำ ทำเอง เพื่อลดการบริโภคที่ล้นเกิน – กิจกรรม MAKE SMTHNG Week หรือสัปดาห์แห่งการสร้างสรรค์ ถูกจัดขึ้นในหลายพื้นที่กว่า 260 แห่ง ใน 33 ประเทศ(1) โดยจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่23 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2561โดยกรีนพีซ เครือข่าย และกลุ่มคนที่ชื่นชอบงาน DIY กิจกรรม MAKE SMTHNG Week ในประเทศไทยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2561 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงาน “MAKE SMTHNG Week” – ภายในงานพบกับกิจกรรมเวิร์กช็อปมากมาย ได้แก่ เวิร์กช็อปทำไขผึ้งห่ออาหาร วัสดุจากธรรมชาติแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยSuperBee Wax Wraps และแชมพูก้อน ทำง่าย เก็บสะดวก ปลอดขยะ จากใส่ใจเนเจอร์แอนด์เฮอร์เบิล เวิร์กช็อปทำมาส์กและสครับสำหรับผิวหน้าและผิวกายจากข้าวกับสมุนไพรฤทธิ์เย็น โดยยูทูปเบอร์ Mamasayyes และเวิร์กช็อปแปลงโฉมเสื้อผ้าเก่าเป็นสไตล์ใหม่
กรีนพีซเปิดเผยผลการตรวจสอบขยะพลาสติกจากแบรนด์สินค้าในประเทศไทย – การตรวจสอบแบรนด์ (Brand Audit) ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่ (Clean up) โดยแนวร่วม Break Free From Plastic (2) ที่เกิดขึ้นใน 239 จุด ใน 42 ประเทศ โดยครอบคลุมทั้ง 6 ทวีป มีอาสาสมัครราว 10,000 คนเข้าร่วม และเก็บขยะพลาสติกรวมกันทั้งหมด 187,851 ชิ้น (3) เพื่อระบุแบรนด์สินค้าจำนวนนับพันที่พึ่งพาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งกลายเป็นมลพิษพลาสติกที่ปนเปื้อนในทะเล
ความคิดเห็นและข้อสังเกตของกรีนพีซต่อการดำเนินระบบการรายงานคุณภาพอากาศตาม ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ใหม่ของกรมควบคุมมลพิษ – นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "กรีนพีซเห็นว่าการนำเอา PM2.5 เข้ามาคำนวณในดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นหมุดหมายสำคัญในการต่อกรกับวิกฤตมลพิษอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้คน และเป็นขั้นตอนสำคัญในการสื่อสาร "คุณภาพอากาศ" และระบุผลกระทบต่อสุขภาพของคนกลุ่มต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและสะท้อนถึงความเป็นจริง
กรีนพีซรณรงค์ลดกินเนื้อสัตว์ และร่วมกินผักให้มากขึ้น ในวันงดเนื้อสัตว์โลก – ทั่วโลก กรีนพีซรณรงค์ให้เมืองต่าง ๆ รวมถึงสถาบันภาครัฐ เช่น สถานศึกษา ร่วมลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาบริโภคอาหารที่ทำจากพืชผักให้ได้สองมื้อต่อสัปดาห์ภายในปี 2563 เนื่องจากการทำปศุสัตว์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคปศุสัตว์นั้นมากพอ ๆ กับก๊าซเรือนกระจกที่มาจากรถยนต์ รถบรรทุก เครื่องบิน และเรือทั้งหมดทั่วโลกรวมกัน
เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ของกรีนพีซ ทอดสมอที่สงขลา ร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมุ่งสู่วิสัยทัศน์พลังงานหมุนเวียน 100 % – ดร. สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา ให้เกียรติเป็นประธานร่วมเปิดงาน ณ หาดสมิหลา โดยมีนักปั่นจักรยานอิสระกว่า 100 คน ผู้แทนหน่วยงานรัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และอาสาสมัครกรีนพีซ ร่วมต้อนรับการมาถึงของเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ "ไม่มีเวลาใดที่จะดีไปกว่านี้แล้วในการมุ่งไปสู่พลังงานหมุนเวียน 100 %
กรีนพีซเรียกร้องให้ลดการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาวะของโลก – รายงานกรีนพีซระบุด้วยว่า การผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุที่ซ่อนเร้นของวิกฤตสุขภาพของคนทั่วโลก การบริโภคเนื้อแดงในปริมาณมากมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน และ เบาหวาน ขณะที่คนนับล้านอาจมีอายุยืนขึ้นจากการเข้าถึงแหล่งอาหารที่มีพืชผักเป็นหลัก การผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมล้วนเกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะ
กรีนพีซ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ นักกิจกรรมนำเสนอนาฬิกาทราย ชี้วิกฤตมลพิษ PM2.5 เป็นวาระเร่งด่วน ต้องลงมือทำทันที – นาฬิกาทรายเป็นสัญลักษณ์ถึงความเร่งด่วนของวิกฤตมลพิษทางอากาศที่รัฐบาลต้องลงมือทำในทันทีก่อนที่จะสายเกินไป โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากภาคการคมนาคม การผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการผลิต และการเผาในที่โล่ง
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัด กิจกรรม“ถึงเวลาใช้ค่า PM2.5 คำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ” – วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 น. ณ ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.) (ถนนพิษณุโลก ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM 2.5) ซึ่งมีแหล่งที่มาหลัก จากการคมนาคม การเผาในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการผลิต
พบนกสายพันธุ์ใหม่ในป่าที่กำลังถูกคุกคามของอินโดนีเซียตะวันออก – โรเต มิซโซเมลา (Myzomela irianawidodoae) อยู่ในวงศ์กินน้ำผึ้ง มีสีสันสวยงาม และตั้งชื่อให้ตามชื่อของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของอินโดนีเซีย คือ นางอิเรียนา โจโก วิโดโด การค้นพบของทีมสำรวจครั้งนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ของอินโดนีเซียชื่อ ตรีอูเบีย เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2560 [1] "อินโดนีเซียมีสายพันธุ์นกมากกว่า 1,500 สายพันธุ์ และจะสำรวจพบนกสายพันธุ์ใหม่ทุกปี
งาน Right to Clean Air- The Art Exhibition ขออากาศดีคืนมาเน้นย้ำวิกฤตมลพิษทางอากาศในประเทศไทย – งานนิทรรศการ "Right to Clean Air - The Art Exhibition ขออากาศดีคืนมา" ครั้งนี้จัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมี เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะรังสรรค์ขึ้นมาจากฝุ่นที่รวบรวมมาจากหลากหลายจังหวัดที่มีมลพิษทางอากาศปนเปื้อนสูงในประเทศไทย
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงาน “Right to Clean Air - The Art Exhibition ขออากาศดีคืนมา” – งานดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่างวันอังคารที่ 16 - อาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยพิธีเปิดจะมีขึ้นในวันที่ 16 มกราคม 2561 เวลา 13.30 น. พบกับ Installation art "Memory" ประติมากรรมรูปเด็ก แม่ และคนแก่ ขนาดเท่าคนจริง จำนวน 3 ชิ้น ห้อยเรียงต่อกัน
กรีนพีซ ชวนทุกคนมาร่วมกันนำของเก่ามาประดิษฐ์เป็นสิ่งใหม่ และหยุดการซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นในช่วงสัปดาห์กิจกรรม “ทำเองใช้เอง” – สัปดาห์แห่งการ "ทำเองใช้เอง" เป็นกิจกรรมแห่งการสร้างสรรค์ที่จะมีขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก กิจกรรมนี้เน้นไปที่การสอนทุกคนให้รู้วิธีการซ่อมแซม การสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศษวัสดุ การแลกเปลี่ยน การดีไอวาย และการใช้ซ้ำ โดยมีหลายองค์กร อาทิ กรีนพีซ, Fashion Revolution, Shareable และเหล่านักประดิษฐ์ (Makers)จากทั่วโลก