ปภ. ประสานทุกภาคส่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง - เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 29 จังหวัด รวม 154 อำเภอ 705 ตำบล 5,679 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.58 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ แยกเป็น จังหวัดที่มีปัญหาด้านน้ำอุปโภคบริโภค 11 จังหวัด
ปภ. ประสานจังหวัดรณรงค์งดทำนาปรัง – ขอความร่วมมือมิให้ลักลอบสูบน้ำจากแหล่งผลิตน้ำประปา – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 14 จังหวัด 54 อำเภอ 274 ตำบล 2,487 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.32
ติดตามพื้นที่นาปรังภาคกลาง สศก.15 พร้อมสำรวจภาวะครัวเรือนเกษตรกร 4 จังหวัด – นายสมชาย ครามานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 15 ปทุมธานี (สศก.15) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรอยู่ในช่วงดำเนินการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนเกษตรกร โดยในส่วนของ สศก.15 จะสำรวจในภาคกลางในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปทุมธานีและนนทบุรี ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน นี้ เพื่อติดตามสถานการณ์รายได้
สศก.7 เผย จับตาเนื้อที่ปลูกข้าวนาปรัง 4 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ลดต่ำสุดในรอบ 20 ปี – นางอัญชนา ตราโช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศก.7) เปิดเผยถึงปริมาณการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2558 ในพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และ อ่างทอง พบว่า เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังทั้ง 4 จังหวัด มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 410,041 ไร่ ถือเป็นตัวเลขเพาะปลูกข้าวที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี
สศก.4 ติดตามสถานการณ์ปลูกข้าวนาปรัง 4 จังหวัดอีสานกลาง พบพื้นที่นาปรังลดลงเฉลี่ย 60% – นางราตรี พูนพิริยะทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 (สศก.4) ขอนแก่น เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การปลูกข้าวนาปรัง ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ จากปัญหาน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อย
ปภ.แนะประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด เกษตรกรควรงดทำนาปรัง... เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตภัยแล้ง – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิ ประชาชน จัดหา ทำความสะอาด ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ใช้น้ำอย่างประหยัด ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน นำน้ำที่เหลือจากการใช้งานไปใช้ประโยชน์อื่น เช่น รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาด เป็นต้น
วอนเกษตรกรลุ่มน้ำเจ้าพระยา งดทำนาปรัง ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายจากปัญหาขาดแคลนน้ำ – อนึ่ง ตามที่กรมชลประทาน ได้มีประกาศแจ้งเรื่อง การงดส่งน้ำเพื่อเพาะปลูกข้าวนาปรังในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 ไปแล้ว นั้น เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนในปีนี้อยู่ในเกณฑ์น้อย ไม่เพียงพอที่จะจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการทำนาปรัง ที่ต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร
เกษตรฯ ห่วงสถานการณ์ภัยแล้ง หมอกควันและไฟป่า เหตุแล้งเร็วและนาน มอบกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมพัฒนาที่ดินย้ำเกษตรกรงดเผาตอซังลดอัตราการเกิดหมอกควันและงดทำนาปรังรอบสอง – “ปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯ ได้ เร่งรัดในส่วนของมาตรการเชิงป้องกันปัญหาหมอกควันและลดปัญหาความแห้งแล้งมาโดยตลอด โดยในเรื่องการทำฝนหลวง หากสภาวะอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์เพียงพอ ขณะนี้ได้ตั้งกลุ่มปฏิบัติการฝนหลวงไปปฏิบัติการอยู่ใน 5 ภูมิภาค
ปภ. รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง 9 จังหวัด 33 อำเภอ พร้อมขอความร่วมมือประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด - เกษตรกรงดทำนาปรัง – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ระยะนี้บางพื้นที่เริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค โดยตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2556 – 6 กุมภาพันธ์ 2557 มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 9 จังหวัด รวม 33 อำเภอ 202 ตำบล