บลจ.ทิสโก้สั่งเพิ่มทุนกอง TCLOUD อีก 2,000 ล้าน หลังนักลงทุนซื้อ IPO จนเต็มมูลค่าโครงการ ต้องปิดขายก่อนกำหนด

15 Jul 2020

นายสาห์รัช ชัฏสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาดและที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (Mr. Saharat Chudsuwan, Head of Marketing and Wealth Advisory, Mutual & Private Fund Business, TISCO Asset Management Co., Ltd.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ บลจ.ทิสโก้เสนอขาย IPO กองทุนเปิด ทิสโก้ Cloud Computing อิควิตี้ (TCLOUD) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี'คลาวด์ คอมพิวติง’ (Cloud Computing) หรือระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ ผ่านกองทุนอีทีเอฟ Global X Cloud Computing ETF (กองทุนหลัก) ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ถึงวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น

บลจ.ทิสโก้สั่งเพิ่มทุนกอง TCLOUD อีก 2,000 ล้าน หลังนักลงทุนซื้อ IPO จนเต็มมูลค่าโครงการ ต้องปิดขายก่อนกำหนด

ผลปรากฎว่าลูกค้าให้การตอบรับเป็นอย่างดี จนเต็มจำนวนเงินทุนของโครงการที่ 2,000 ล้านบาท ทำให้ บลจ.ทิสโก้ต้องประกาศหยุดการรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนไปตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 15.00 น. นั้นเพื่อให้นักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจดังกล่าวได้มีโอกาสลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคต บลจ.ทิสโก้จึงจะเปิดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน TCLOUD อีกครั้ง ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าโครงการอีก 2,000 ล้านบาทเป็น 4,000 ล้านบาท ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท ทั้งนี้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

“สาเหตุหนึ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจลงทุนในกองทุน TCLOUD เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นหนึ่งในกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเมกะเทรนด์ ซึ่ง 2 กองทุนที่เกี่ยวข้องกับเมกะเทรนด์ที่เสนอขายโดย บลจ.ทิสโก้ก่อนหน้านี้สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างน่าพอใจ นักลงทุนจึงเชื่อมั่นว่ากองทุนนี้ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ กองทุน TCLOUD ยังเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีนโยบายลงทุนที่โดดเด่น เพราะมีนโยบายเน้นลงทุนในธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากคลาวด์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุน TCLOUD ได้อีกครั้งอาจทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปจากราคา IPO ได้ แต่บลจ.ทิสโก้ยังแนะนำให้ผู้ลงทุนเน้นลงทุนในระยะยาวในกองทุนเมกะเทรนด์เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน” นายสาห์รัชกล่าว

นอกจากนี้ ธุรกิจคลาวด์ คอมพิวติงยังมีโอกาสเติบโตได้ดีรออยู่ ทั้งจากการเข้ามาของ Internet of Things (IoT) ในยุค 5G เพราะจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวผู้บริโภคเชื่อมต่อและสั่งการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างหลากหลาย และคลาวด์ยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น ผ่านการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Google, Dropbox, Facebook, Zoom รวมถึงภาคธุรกิจที่เร่งนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น การใช้ Big Data มาจับพฤติกรรมผู้บริโภค และปรับเปลี่ยนธุรกิจมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นรับกับยุค New Normal  โดยมี COVID -19 เป็นตัวเร่งให้เกิดเร็วขึ้น

สำหรับบริษัทที่กองทุนหลักเข้าไปลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีโอกาสสร้างรายได้จากการเจริญเติบโตของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น  Zoom Inc ผู้ให้บริการ Video Conference และ Online Chat บน Cloud ซึ่งได้รับความนิยมมากในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID -19 ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านคนต่อวันและเป็นบริษัทที่มีโอกาสเติบโตสูงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มีรายได้เติบโตสูงถึง 88% ในปีล่าสุด 2562, Shopify Inc ผู้ให้บริการระบบ E-commerce สำเร็จรูป ที่มีร้านค้าบนระบบกว่า 1 ล้านร้านค้า มีกระแสเงินสดจากการเก็บค่าบริการรายเดือน มีรายได้เติบโตสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยรายได้เติบโตถึง 59% ในปี 2561 และ 47% ในปี 2562,  บริษัท ซี-สเกลเลอร์ (Zscaler) ผู้นำด้านการให้บริการ Web Security และผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลก โดยมีลูกค้าองค์กรชั้นนำเลือกใช้งาน มีรายได้เติบโต 52% ในปี 2561 และ 59% ในปี 2562 และ Twilio Inc บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการสื่อสารบน Cloud ระหว่างซอฟแวร์ด้วยกัน มีอัตราการเติบโตของรายได้ 63% ในปี 2561 และ 74% ในปี 2562  (ที่มา: globalxetfs Fund Fact Sheet ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563)

ทั้งนี้ กองทุนเปิด TCLOUD อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา, TISCO Contact Center โทร. 02-633-6000 กด 4, www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds  

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit