ป้องกัน - ลดเสี่ยงอุบัติภัยช่วงเทศกาลตรุษจีน...เริ่มต้นปีใหม่จีนอย่างปลอดภัย – อัคคีภัย ปิดเตาแก๊สและวาล์วถังก๊าซทุกครั้งหลังการใช้งาน และไม่อุ่นอาหารทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล ใช้เชิงเทียนและกระถางธูปที่ทำจากวัสดุทนไฟ ห้ามจุดธูปเทียนทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล รวมถึงดับไฟให้สนิททุกครั้ง เผากระดาษเงินกระดาษทองในภาชนะทนไฟ ห่างจากแหล่งเชื้อเพลิงและวัสดุที่ติดไฟง่าย พร้อมเตรียมถังน้ำไว้ใกล้ๆ หากไฟลุกลามจะได้ควบคุมเพลิงทันท่วงที ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พร้อมใช้งาน
มาตรการดูแลความปลอดภัย - ป้องกันอันตรายจากการจุดประทัดดอกไม้ไฟในช่วงเทศกาล – นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่าสำนักอนามัย มีมาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมอันตรายจากการจุดประทัด ดอกไม้ไฟ พลุ ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ปี 2562 ในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันอุบัติเหตุจากการจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุต่าง ๆ โดยสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนการตรวจสอบสถานประกอบการผลิต การสะสม
ปภ. บูรณาการทุกภาคส่วนสร้างความปลอดภัย – ป้องกันอุบัติภัยช่วงเทศกาลตรุษจีน – มาตรการด้านการเตรียมความพร้อม การป้องกันอัคคีภัย สำรวจ ตรวจสอบ จัดทำแผนเผชิญเหตุด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยในพื้นที่เสี่ยงอัคคีภัยพร้อมสนธิกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังกิจกรรมและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย โดยเฉพาะสถานที่จัดงานสถานประกอบการ สถานบริการ พื้นที่ชุมชน ศาลเจ้า และพื้นที่ประกอบพิธีกรรม
กสร. เตือนผู้ประกอบการระวังเหตุไฟไหม้ช่วงตรุษจีน – นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ( กสร.) เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนที่ยึดถือและปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ซึ่งจะมีการจุดธูปเทียนไหว้เทพเจ้า และจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย ดังนั้น กสร. จึงอยากให้ สถานประกอบกิจการต่างๆ คำนึงถึงความปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
ปภ.แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติภัยจากประทัดในช่วงเทศกาลสารทจีน – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า เทศกาลสารทจีนปีนี้ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม 2559 ซึ่งตามธรรมเนียมและประเพณีปฏิบัติของเทศกาลสารทจีน มักมีการสักการะบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษ โดยการจุดประทัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยจากประทัดสูงกว่าปกติ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ปภ. เตือนอันตรายจากการจุดประทัดประกอบพิธีกรรมในช่วงเทศกาลตรุษจีน – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ตามธรรมเนียมและประเพณีปฏิบัติของเทศกาลตรุษจีนจะมีการจุดประทัดประกอบพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษ ซึ่งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความประมาท ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากอุบัติภัยประทัด เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยจากประทัด ดังนี้ ก่อนจุดประทัด ควรอ่านฉลาก
ปภ.แนะป้องกันอัคคีภัยและอุบัติภัยจากประทัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน – นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตามธรรมเนียมและประเพณีปฏิบัติของเทศกาลตรุษจีน มักมีการสักการะบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษ โดยการจุดธูปเทียน การเผากระดาษเงิน กระดาษทอง การจุดประทัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยสูงกว่าปกติ ทั้งอัคคีภัย และอุบัติภัยจากประทัด เพื่อความปลอดภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
สพฉ. เตือนประชาชนระวัง 2 อุบัติเหตุเสี่ยง ที่ทำให้เจ็บป่วยฉุกเฉินในเทศกาลลอยกระทง แนะระวังเด็กเล็กไม่ให้ลงเก็บเงินในกระทงเพราะเสี่ยงจมน้ำ ชี้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ห่วงคนเล่นพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ หากเล่นแล้วพลาดจนระเบิด อาจเสี่ยงสูญเสียอวัยวะสำคั – นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงเทศกาลลอยกระทงมีดังนี้ 1. อุบัติเหตุจากการตกน้ำ
สพฉ.เตือนอุบัติเหตุที่อาจเกิดในการจุดประทัดในเทศกาลออกพรรษา ชี้มีอันตรายต่อร่างกาย 3 ทาง ผิวหนัง นิ้วมือ และดวงตา พร้อมแนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับอันตรายจากประทัด – เลขาธิการสพฉ.ยังได้แนะถึงวิธีปฐมพยาบาลสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากประทัดว่า ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการจุดประทัด อาทินิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดนั้น ให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล พันแผลบริเวณเหนือแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก
กรมควบคุมโรค เตือนจุดประทัดเล่นช่วงออกพรรษาเสี่ยงอันตราย หลังพบ 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บเกือบ 700 รายต่อปี บาดเจ็บที่มือและข้อมือมากสุดถึง 54% – จากข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บ ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าการบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกเปลวหรือสะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ จากโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บแห่งชาติ 33 แห่ง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี พ.ศ. 2553–2557) มีจำนวน 3,456 ราย (เฉลี่ยปีละ 691 ราย) ในจำนวนนี้เสียชีวิต 10 ราย ในปี