ผลการวิจัยล่าสุดที่ได้มีการนำเสนอที่มหาวิทยาลัยอเมริกัน คอลเลจ คาร์ดิโอโลจี ในนครชิคาโก และได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ในนิวอิงแลนด์ระบุว่า การควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับต่ำในกลุ่มผู้สูงอายุอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ 1 ใน 5 และลดอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจได้ 1 ใน 3
ผู้ป่วยสูงอายุ(HYVET)ที่มีระดับความดันโลหิตสูงจำนวน 3,845 รายที่เข้ารับการทดสอบภายใต้ความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน เป็นการทดลองทางการแพทย์ครั้งใหญ่ที่สุดเพื่อตรวจหาผลกระทบของภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยวัย 80 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการรักษาทั้งการใช้ยาหลอก (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษาทางยา หรือ placebo) และการใช้ยาที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ(SR) ในปริมาณ 1.5 มิลลิกรัม พร้อมเสริมด้วยการให้ยา perindopril เพื่อยับยั้งเชื้อ ACE วันละ 1 เม็ด
ผลการวิจัยระบุว่า ข้อดีของการรักษาดังกล่าวสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ร้อยละ 21 (p=0.02) และลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันได้ร้อยละ 39 (p=0.05) ลดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 64 (p<0.001) รวมถึงลดอุบัติการหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ร้อยละ 34 (p<0.001) ซึ่งจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนหลังจากที่มีการติดตามผลการรักษาภายใน 1 ปีแรก
ภาพรวมของอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงเป็นผลการศึกษาที่มีขึ้นใหม่และไม่คาดคิดมาก่อน โดยผลการศึกษาในก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นว่า การลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 80 ปีสามารถลดอุบัติการของภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันและหลอดเลือดหัวใจได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษากลุ่มผู้ป่วยจำนวนน้อยกว่าในก่อนหน้านี้ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดระบุว่า ระดับความดันโลหิตที่ลดลงในผู้ป่วยวัย 80 ปีขึ้นไปที่ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ได้ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะดังกล่าว แต่ในทางกลับกันผู้ป่วยดังกล่าวกลับมีแนวโน้มของการเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันและเสียชีวิตในท้ายที่สุด
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 การทดลองดังกล่าวได้พิจารณาถึงการแนะนำของข้อมูลฉบับหนึ่งที่จับตาผลการศึกษาหลังจากที่ได้สังเกตุเห็นถึงอัตราการเสียชีวิตและภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันที่ลดลงในผู้ป่วยที่ได้รับการรัษา ซึ่งผลลัพท์สุดท้ายของการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันที่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันที่ลดลง 30% ยังไม่เป็นไปตามตัวเลขสถิติที่ตั้งไว้ (p=0.06) ทั้งนี้ ผู้ป่วยวัย 80 ปีขึ้นไปมากกว่าครึ่งที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเสียชีวิต ขณะที่ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันที่ไม่สามารถรักษาได้นั้นีจำนวนลดลง
ศาสตราจารย์คริสโตเฟอร์ บูลพิทท์ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะการวิจัยจากแผนกการบำบัดรักษากลุ่มผู้ป่วยสูงอายุประจำมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนกล่าวว่า "ก่อนที่จะเริ่มทำการวิจัยครั้งนี้ แพทย์ต่างไม่มั่นใจว่าการควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยวัยสูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะได้ผลลัพท์ที่ดีเช่นเดียวกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าหรือไม่ แต่ผลการวิจัยของเราได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าผู้ป่วยที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่มีผลการรักษาที่ดีมาก ซึ่งทำให้ประชากรกลุ่มดังกล่าวมีอายุยืนนานและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น ผลการศึกษานี้จึงนับเป็นข่าวดี และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่อุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจมีจำนวนลดลงขณะที่อัตราการเสียชีวิตก็ลดน้อยลงด้วยเช่นกัน"
คณะนักวิจัยหวังว่า ผลการศึกษานี้จะช่วยให้ความกระจ่างกับคณะแพทย์ที่ไม่แน่มั่นใจถึงข้อดีของการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้ป่วยวัย 80 ปีขึ้นไป
ดร.นิเกิล แบ็คเกตต์ เจ้าหน้าที่ประสานงานการศึกษาจากกลุ่มรักษาผู้ป่วยวัยสูงอายุจากวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน กล่าวเสริมว่า "ผู้ป่วยวัยสูงอายุจำนวนมากที่มีภาวะความดันโลหิตสูงต่างไม่ได้รับการรักษาในทันที เนื่องจากแพทย์ไม่มั่นใจว่าการรักษาจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้หรือไม่ ซึ่งเราหวังว่าผลการศึกษาที่มีขึ้นนี้จะช่วยกระตุ้นให้แพทย์ดำเนินการรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวใด้ตามเจตนารมย์"
จากการทดลองที่หยุดชะงักไปในก่อนหน้านี้ ทำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลองเพิ่มเติมเพื่อทำการประเมินถึงข้อดีของการรักษาในระยะยาว
ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง (วัดจากความดันโลหิตสูงสุดที่เกิดขึ้นหลังระยะการบีบตัวของห้องหัวใจระหว่าง 160-199 mmHg) จาก 13 ประเทศทั่วโลกได้มีการสุ่มทดลองแบบ double-blind ซึ่งแพทย์และผู้ป่วยต่างไม่ทราบว่าคนใช้ยาอะไร รวมถึงการใช้ยาหลอกเป็นตัวควบคุม ซึ่งเริ่มในปี 2544 ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 83 ปี 7 เดือน
ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาหลอกและการให้ยาที่ฤทธิ์ด้านการขับปัสสาวะ(SR) และเสริมด้วยยา perindopril วันละ 1 เม็ดสามารถบรรลุเป้าหมายของความดันโลหิตที่ระดับ 150/80 mmHg ภายใต้การติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉลี่ยที่ 2 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ 20% ของยาหลอกและ 48% ของผู้ที่เข้ารับการรักษามีระดับความดันโลหิตตามเป้าหมายที่ 150/80 mmHg และมีการติดตามผลในระยะเวลาที่นานกว่าพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาดังกล่าวมีระดับความดันโลหิตตามเป้าหมายที่กำหนด
ผู้ป่วยสูงอายุ(HYVET)ที่มีระดับความดันโลหิตสูงเข้ารับการทดสอบภายใต้การดูแลของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากทั่วโลก ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนหลักจากมูลนิธิโรคหัวใจของอังกฤษและเซอร์เวีย
2. เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน
มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 5 ของโลกในการจัดอันดับ Higher Education Supplement University Rankings ประจำปี 2550 และเป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงด้านการเรียนการสอนและการวิจัยซึ่งมีนักศึกษาจำนวน 12,000 คนและบุคลากรที่ทรงคุณวุฒิในระดับสากล 6,000 คน การวิจัยด้านนวัตกรรมใหม่ๆของสถาบันแห่งนี้ได้มีการบูรณาการทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ วิศวกรรมและธุรกิจที่มุ่งให้การแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น เข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ www.imperial.ac.uk
ทั้งนี้ ผลการวิจัยที่มีขึ้นล่าสุดนี้จะถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายผ่านสื่อมวลชนในเมืองชิคาโก้ วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2551 เวลา 10.00 CDT / 16.00 BST รายละเอียดวิธีการติดต่อหรือรับชมการถ่ายทอดสดการอภิปรายดังกล่าวสามารถสอบถามได้จากแผนกสื่อสารมวลชนของ ACC
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
ลอร่า กัลลาเฮอร์
เจ้าหน้าที่สื่อมวลชนสัมพันธ์อาวุโส
มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน
อีเมล์: [email protected]
โทรศัพท์: +44 (0)20 7594 6702 ต่อ 46702
ติดต่อเจ้าหน้าที่สื่อนอกเวลางาน:
โทรศัพท์ +44 (0)7803 886 248
www: www.imperial.ac.uk/press
แหล่งข่าว:มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน
ติดต่อ: ลอร่า กัลลาเฮอร์
เจ้าหน้าที่สื่อมวลชนสัมพันธ์อาวุโสประจำมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน
โทรศัพท์: +44 (0)20 7594 6702 ต่อ 46702 หรือ
+44 (0)7803 886 248
เว็บไซต์: http://www.imperial.ac.uk
http://www.imperial.ac.uk/press
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit