ส่งออกไทยแรงไม่ตก คาดทั้งปีโต 8.6% – ภาคการส่งออกไทยใน 4 เดือนแรกของปี 2561 ทะยานขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนอีก 11.5% ด้วยมูลค่าการส่งออกเฉลี่ย 20,444 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน จากปัจจัยบวกทั้งด้านราคาสินค้าตามผลของราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และด้านปริมาณตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิต ส่งผลให้เกือบทุกกลุ่มสินค้าและเกือบทุกตลาดสำคัญเติบโตได้ดี
อัตราดอกเบี้ยไทย ถึงเวลาต้องขึ้นหรือยัง – จากเทรนดอกเบี้ยโลกขาขึ้น นำโดยการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปลายปี 2016 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น มาเลเซียและเกาหลีใต้ ก็เริ่มขึ้นดอกเบี้ยแล้วเช่นกัน อีกทั้ง ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาดีก็สนับสนุนมุมมองที่ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งหาก ธปท. ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยเลยในปีนี้ จะทำให้ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯถึง 0.75%
ธนาคารไทยจะ เพิ่มเงินฝาก หรือ เพิ่มรายได้จากการขายกองทุน? – ในยุคที่ดอกเบี้ยตลาดอยู่ในระดับต่ำทำให้การฝากเงินในธนาคารไม่น่าดึงดูดอีกต่อไป นักลงทุนจึงมองหาสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากและยอมรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในกองทุนรวม โดยพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กองทุนรวมให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ -22% ถึง +18% ในขณะที่ผลตอบแทนของเงินฝากประจำอยู่ที่ 1.34%-2.73% เท่านั้น
ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ – ตามการคาดการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ จะมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในปีนี้ และอีก 3 ครั้งในปีหน้า ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฟดขยับไปอยู่ที่ 2.0-2.25% ณ สิ้นปี 2018 ซึ่งหากดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ยังคงไว้ที่ 1.5% จะทำให้ดอกเบี้ยเฟดสูงกว่าดอกเบี้ยไทยถึง 0.75% เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราดอกเบี้ยเฟดที่สูงกว่าไทยนี้อาจมีผลทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออก อย่างไรก็ตาม
คาดบริโภคเอกชนปี 61 ทรงตัว สวนกระแสการส่งออกเติบโตต่อเนื่อง – การส่งออกที่เติบโตดีต่อเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวดี โดย 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวรวมกว่า 9.3% และคาดว่าจะขยายตัวได้รวม 6-8% ในปีนี้ ถือเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมูลค่าการส่งออกเกือบ 90% มาจากบริษัทใหญ่ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มาจาก SMEs แต่หากพิจารณาสัดส่วนการจ้างงาน จะพบว่าบริษัทใหญ่มีสัดส่วนการจ้างงานเพียง 13% ของการจ้างงานทั้งระบบ
คาด ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายยาวจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัว – อาจกล่าวได้ว่า การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีจุดประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ของภาคเอกชน ทั้งการบริโภคและการลงทุน อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนได้ ซึ่งหากพิจารณาช่วงปี 2015 - 2016 หลายประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง สวนทางกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
จับตา! หนี้เสีย SME และอสังหาฯ ทำ NPL ทั้งระบบพุ่ง – ทิศทาง NPL ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับกำลังซื้อที่หายไปในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจ SME เป็นกลุ่มหลักที่ยอดขายลดลง โดยพบว่า SME มีความสามารถในการทำกำไรหดตัวและบางส่วนประสบปัญหาสภาพคล่อง จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในปี 2558 และ 2559 ธุรกิจ SME โดยเฉลี่ยมียอดขายหดตัวลงถึงร้อยละ 17 กำไรขั้นต้นลดลงร้อยละ 8 และใช้เวลาในการหมุนเงินสดนานขึ้นเป็น 41 วัน
ส่งออกไทยโตต่อเนื่อง แนะจับตาค่าเงินผันผวน – การส่งออกไทยฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2559 โดยในครึ่งปีแรกของปี 2560 ขยายตัวได้ถึง 7.8% มากสุดในรอบ 6 ปีคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 113,547 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 และเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิตในตลาดโลกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ปี 2559 ส่งผลให้การส่งออกไทยเติบโตได้ทุกกลุ่มสินค้าและทุกตลาดส่งออกสำคัญ
คาด ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายยาวถึงสิ้นปีแม้เงินเฟ้อต่ำ – อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 1 ปีที่ลดลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจากเฉลี่ย 1.5% ในเดือนพฤษภาคม 2017 เหลือ 1.46% ในเดือนกรกฎาคม สาเหตุหนึ่งมาจากเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจภาคต่างประเทศของไทยที่แข็งแกร่งจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง แต่อีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่า ธปท. อาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง.
คาด กนง. คงดอกเบี้ย เหตุไร้แรงกดดันเงินเฟ้อ – ตามหลักการของ ธปท. ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ที่ 1-4% แต่ในปี2015 และ 2016 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพียง -0.9% และ 0.2% ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงเฉลี่ยกว่า 45% และ 11% ตามลำดับ (เฉลี่ยต่อเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 เดือนแรกของ ปี 2017 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 30%
มองเกมส์ระยะยาว รับมือยุคดอกเบี้ยเฟด แพงกว่าดอกเบี้ยไทย – การฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่าเฟดจะสามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีก 2 ครั้งในปีนี้ คืออยู่ที่ระดับ 1.25%-1.50% ณ ปลายปีนี้ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ 1.50% นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังคาดอีกว่าเฟดจะขึ้นได้ต่อเนื่องอีกสามครั้งในปีหน้า ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยเฟดแพงกว่าดอกเบี้ยไทยหาก ธปท. ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยตาม