อุตสาหกรรมด้านการแพทย์ และการรักษาพยาบาล พร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซีมาก โดยการผลักดันนโยบาย "เมดิคอล ฮับ" ให้มากกว่านี้ เนื่องจากธุรกิจด้านการแพทย์สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศถึง 14% จาก 100% ที่เป็นรายได้ด้านการท่องเที่ยว โดยผู้เดินทางเข้ามาเพื่อใช้บริการทางการแพทย์ในไทย รวมทั้งผุ้เดินทางมาไทยจะต้องมีผู้ติดอย่างน้อย 2-3 คน และความพร้อมด้านการแพทย์จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนในพื้นที่ต่างๆ
ล่าสุด กอง บ.ก.เว็บไซต์ www.medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นนี้ว่ากรมสุขภาพจิตได้วางแผนเตรียมการรองรับในเรื่องนี้แล้ว โดยได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 ที่จ.ชลบุรีและเปิดดำเนินการแล้วศูนย์แห่งนี้จะทำหน้าที่พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตประชาชนทุกกลุ่มวัย ที่อยู่ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 ประกอบด้วย 8 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว ระยอง ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ประชากรประมาณ 5 ล้านคน
สำหรับในพื้นที่เป้าหมายของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 3 จังหวัดคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา คาดว่าจำนวนประชากรอาจเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่าตัวจากการย้ายถิ่นเข้าไปทำงานทั้งคนไทยและต่างชาติ ผลจากการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทสู่สังคมเมืองและอุตสาหกรรม อาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ เช่นความเครียดจากการทำงาน การใช้สิ่งเสพติด ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม ผู้สูงอายุขาดคนดูแลเพราะลูกหลานต้องไปทำงานเป็นต้น
ประการสำคัญจะต้องผลักดันให้สถานประกอบการต่างๆให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อให้บุคลากรทำงานอย่างความสุขมากขึ้น
ผลวิจัยพบว่าจะเพิ่มศักยภาพในการทำงานและเพิ่มขีดความสามารถการปรับตัวและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทยสูงขึ้น ทั้งนี้กรมสุขภาพจิตอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การดูแลสุขภาพจิตประชาชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจะได้บูรณาการร่วมกับยุทธศาสตร์ภาพรวมกระทรวงสาธารณสุขโดยเร็ว
ด้าน นางวรรณวิไล ภู่ตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 จ.ชลบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 ได้เร่งดำเนินการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตประชาชนร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด เน้นสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพจิตประชาชนทุกกลุ่มวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ในเบื้องต้นได้
โดยอบรมเพิ่มเติมองค์ความรู้ทางสุขภาพจิตให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม. ให้เป็นอสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิตชุมชนจำนวน 4,500 คนมีครบทุกหมู่บ้านใน 69 อำเภอซึ่งจะสามารถให้การดูแลเฝ้าระวังและค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนทั้งในภาวะปกติและในภาวะฉุกเฉินในขั้นต้นเช่น น้ำท่วม เป็นต้น
เพื่อส่งต่อสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ให้ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมทั้งได้ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตขั้นพื้นฐานทั่วไปให้แก่กลุ่มสื่อมวลชนในพื้นที่ 8 จังหวัดด้วย เพื่อเป็นเครือข่ายเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพจิตต่างๆให้แก่ประชาชนในวงกว้างยิ่งขึ้น
สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 มีโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 20,680 แห่ง มีจำนวนแรงงาน 1.2 ล้านกว่าคน ได้เน้นการส่งเสริมความสุขในสถานประกอบการ ส่งเสริมกิจกรรมลดความเครียดต่างๆ จากการทำงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากสถานประกอบการเป็นอันมาก
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit