ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ได้รับรายงานว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่พักรักษาในรพ.สวนสราญรมย์ที่มีวันละประมาณ 350 คน ร้อยละ 40 เกิดมาจากการใช้สารเสพติด
ที่พบมากได้แก่ ยาบ้า และเหล้า เพิ่มขึ้นจากช่วง 5 ปีก่อนประมาณ 2 เท่าตัว ร้อยละ 95 เป็นผู้ชาย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน และยังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งส่งมาจากกรมควบคุมประพฤติเป็นผู้ป่วย พ.ร.บ.ยาเสพติด ที่มีอาการทางจิตเช่นก้าวร้าว หูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด ส่งตัวเข้ามาบำบัดด้วย
รพ.สวนสราญรมย์ได้จัดระบบบริการฟื้นฟูด้านสมอง จิตใจ และ ด้านสังคมให้ผู้ป่วยยาเสพติด ที่ผ่านการบำบัดในระยะถอนพิษยาที่อาการทางจิตอยู่ในภาวะสงบ รับรู้ตนเองดีขึ้นแล้ว เพื่อให้กลับคืนมาสู่สภาพที่เป็นปกติที่สุด
โดยใช้ กระบวนการชุมชนบำบัดให้การดูแลแบบโฮมสเตย์ (home stay model) สถานที่พักฟื้นเป็นบ้านพัก 2 ชั้น คล้ายรีสอร์ท ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ อิสระ มีทั้งหมด 9 หลัง หลังละ 10 เตียงให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนจำลอง
ด้าน นายแพทย์จุมภฎ พรมสีดา ผู้อำนวยการ รพ.สวนสราญรมย์ กล่าวว่าโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้ยาเสพติดคือ โรคจิตเภท พบได้ร้อยละ 70 รองลงมาคือโรคซึมเศร้า และโรคบุคลิกผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำร้ายคนอื่นพบได้ประมาณร้อยละ 30 ในปี 2560 มีผู้ป่วยสารเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาที่รพ.สวนสราญรมย์ 9,096 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มี 6,660 คน
ส่วนใหญ่ใช้สารเสพติดหลายชนิดร่วมกัน เช่นใช้กระท่อมกับยาบ้า กัญชากับยาบ้า ร้อยละ 70 มีอายุอยู่ในช่วง 18-25 ปี น้อยสุด 8 ปีจากการใช้สารระเหย
การบำบัดฟื้นฟูฯผู้ป่วยยาเสพติด ขณะนี้มีบ้านพักทั้งหมด 9 หลัง รับได้ 60 คน มีพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และมีระบบการติดตามผลการรักษาหลังจำหน่าย 1 ปี การบำบัดฟื้นฟูฯจะครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณรวมทั้งด้านอาชีพ การใช้เวลาที่เกิดประโยชน์ และมีรายได้ เพื่อสร้างความมั่นใจ ความภาคภูมิใจให้ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ที่ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มักจะขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ
ประการสำคัญได้ให้ครอบครัวซึ่งมีส่วนสำคัญที่สุดในการให้กำลังใจผู้ป่วยเลิกเสพยาอย่างถาวร เข้ามามีส่วนร่วมในการทำครอบครัวบำบัดประมาณ 7-8 ครั้ง ระหว่างที่ผู้ป่วยบำบัดรักษาโดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องปัญหายาเสพติดรวมทั้งผลกระทบและแบบแผนการดำเนินชีวิตหลังผ่านการบำบัด
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit