นักวิชาการ มธ. แนะรัฐตั้ง “สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)” ดึงคนรู้จริงมาพัฒนาสตาร์ทอัพ พร้อมชี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยถ้าไม่ใช้ประโยชน์ควรเปิดเสรีให้ประชาชนใช้ประโยชน์

17 Feb 2017

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเข้าไปที่ www.pr.tu.ac.th

นักวิชาการ มธ. แนะรัฐตั้ง “สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)” ดึงคนรู้จริงมาพัฒนาสตาร์ทอัพ พร้อมชี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยถ้าไม่ใช้ประโยชน์ควรเปิดเสรีให้ประชาชนใช้ประโยชน์

ศาสตราจารย์วิทวัส รุ่งเรืองผล อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยธุรกิจจำนวนมากมายที่ล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มสมาร์ทเอสเอ็มอี (Smart SMEs) กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) และกลุ่มธุรกิจข้ามชาติ (MNCs) ซึ่งทุกกลุ่มธุรกิจจะมีหลักการบริหารงานที่แตกต่างกันไป โดยกลุ่มธุรกิจส่วนหนึ่งสามารถเติบโตและพัฒนาได้ด้วยตนเอง ขณะที่อีกหลายส่วนยังคงต้องการการสนับสนุนทั้งงบประมาณ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการสร้างธุรกิจอย่างมั่นคงโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มุ่งใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาต่อยอดเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่มีขั้นตอนในการพัฒนาธุรกิจค่อนข้างซับซ้อน อันเป็นการยากที่กลุ่มนักวิจัย หรือบุคคลทั่วไปจะสามารถลงมือพัฒนาธุรกิจด้วยตนเองได้ตลอดรอดฝั่ง

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ในประเทศไทย กลับขาดบุคลากรที่มีความรู้จริงในการพัฒนากลุ่มธุรกิจแนวคิดใหม่อย่าง "สตาร์ทอัพ" ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีการจัดตั้ง "สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)" หรือหน่วยงานกลางในการผลักดันและต่อยอดงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ขึ้น โดยมีบทบาทในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการบ่มเพาะและเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร การบริหารทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาการตลาดและธุรกิจ รวมไปถึงการสรรหาเงินทุนผ่านเครือข่ายต่างๆอันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการเกิดใหม่ของธุรกิจสัญชาติไทยอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยไม่มีระบบดังกล่าวที่ครบวงจรในการส่งเสริม

นอกจากการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าวแล้ว ภาครัฐควรพิจารณาปรับใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าของระบบราชการไทยในการใช้ประโยชน์หรือต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ที่มักติดปัญหาระบบขั้นตอน อาทิ การตั้งคณะกรรมการพิจารณา การประเมินราคา การแบ่งผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ โดยจากเดิมที่เมื่อภาครัฐให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยแล้วงานวิจัยจะถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของหน่วยงานภาครัฐ ควรแก้ไขข้อกฎระเบียบให้งานวิจัยหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ในความครอบครองของรัฐและไม่ได้ถูกนำมาใช้ในเวลาที่เหมาะสม เช่น 1-2 ปี ตกเป็นทรัพย์สินทางปัญญาสาธารณะให้ผู้ประกอบการไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นในสังคมไทย

ทั้งนี้ ปัจจุบันภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยข้อมูลจากสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ระบุว่าในปี 2559 กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพไทยมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1,800 ล้านบาทและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปี 2560 หรือคิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 3,600 ล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต ได้แก่ สตาร์ทอัพด้านการผลิตอาหารและการเกษตรและด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เข้มแข็งของประเทศไทยที่จะสามารถนำมาต่อยอดได้อย่างไรก็ดี หากภาครัฐมีการจัดตั้ง "สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)" ขึ้น ก็จะช่วยผลักดันให้เกิดกลุ่มธุรกิจรายใหม่ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้นอันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

ศาสตราจารย์วิทวัส กล่าวต่อว่า อุปสรรคอีกประการหนึ่งก็คือ ระบบการศึกษาไทยที่เน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ตามสายงานเฉพาะทางเท่านั้น ส่งผลให้ผู้เรียนขาดองค์ความรู้แขนงอื่นๆ ในการนำมาต่อยอดทางธุรกิจแบบบูรณาการรวมทั้งขาดทักษะในยุคศตวรรษที่ 21 อาทิ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเป็นผู้ประกอบ ทักษะภาษาที่ 3 อันเป็นทักษะที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น ภาคการศึกษาจึงควรมีการพัฒนารายวิชา และจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะสำคัญต่างๆ ให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะยาวอาจมีการปรับหลักสูตรให้มีการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกรายวิชาเรียนได้ตามความสนใจ เป็นต้นว่าผู้เรียนชอบวิทยาศาสตร์ แต่อยากศึกษาด้านการตลาดควบคู่กันไปเพื่อในอนาคตจะได้เป็นนักวิจัยที่สามารถประกอบการได้ โดยปัจจุบันการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการเป็นโมเดลการศึกษาของหลายประเทศ ในประเทศไทยก็เริ่มมีการนำมาใช้บ้างแล้ว ซึ่งมีข้อดีคือบัณฑิตสามารถรับปริญญาได้มากกว่า 1 ใบ พร้อมนำทักษะความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้แบบบูรณาการได้กับหลากหลายสายงาน โดย มธ. เริ่มมีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้แล้วในปี 2560

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-564-4493 หรือเข้าไปที่ www.pr.tu.ac.th

นักวิชาการ มธ. แนะรัฐตั้ง “สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)” ดึงคนรู้จริงมาพัฒนาสตาร์ทอัพ พร้อมชี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยถ้าไม่ใช้ประโยชน์ควรเปิดเสรีให้ประชาชนใช้ประโยชน์ นักวิชาการ มธ. แนะรัฐตั้ง “สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)” ดึงคนรู้จริงมาพัฒนาสตาร์ทอัพ พร้อมชี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยถ้าไม่ใช้ประโยชน์ควรเปิดเสรีให้ประชาชนใช้ประโยชน์ นักวิชาการ มธ. แนะรัฐตั้ง “สมาร์ทเอเจนท์ (Smart Agent)” ดึงคนรู้จริงมาพัฒนาสตาร์ทอัพ พร้อมชี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยถ้าไม่ใช้ประโยชน์ควรเปิดเสรีให้ประชาชนใช้ประโยชน์
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit