กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์พายุฤดูร้อน เตรียมพร้อมหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน 24 ชม. เพิ่มความปลอดภัยให้คนกรุงฯ – ขณะเดียวกันได้ประสานหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน กรมทางหลวง การไฟฟ้านครหลวง รวมถึงผู้รับจ้างของโครงการต่าง ๆ เพื่อเตรียมแนวทางระบายน้ำในจุดก่อสร้าง ปรับปรุงร่องน้ำชั่วคราว และเร่งรัดการแก้ไขอุปสรรคที่อาจกระทบต่อระบบระบายน้ำของ กทม.
กทม. จัดหน่วย BEST เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำ รับมือพายุฤดูร้อน 6-8 มี.ค นี้ – ขณะเดียวกัน ได้กำหนดให้ใช้แผนการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม. ปี 2568 พร้อมกับคำสั่งการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ตามคำสั่ง กทม. ที่ 625/2567 เพื่อเป็นศูนย์ให้การช่วยเหลือประชาชนที่เกิดเหตุน้ำท่วม หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 67 เป็นต้นมา ซึ่งจัดตั้งขึ้นทั้ง 50 สำนักงานเขต
กทม. เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝนปี 68 เพิ่มความปลอดภัยให้คนกรุงฯ – ขณะเดียวกันได้เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำและสถานีสูบน้ำของ กทม. อาทิ อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง สถานีสูบน้ำ 195 แห่ง ประตูระบายน้ำ 242 แห่ง และบ่อสูบน้ำที่ระบายน้ำช่วยในท่อ 434 แห่ง พร้อมทั้งลดระดับน้ำในแก้มลิงให้อยู่ในระดับต่ำตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จัดหน่วย BEST เข้าพื้นที่ขณะที่มีฝนเริ่มตก
กทม. แจงข่าว กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ 10 เขต เป็นข้อมูลเก่า ยืนยันพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมต่อเนื่อง – ขณะเดียวกัน กทม. ได้รับการสนับสนุนเพื่อลดการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพฯ จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ด้วยมาตรการหยุด/ห้ามการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และจากข้อมูลกรมทรัพยากรธรณีปัจจุบัน กทม. มีค่าการทรุดตัวเฉลี่ยที่ 0.35 มม. ต่อปี และในพื้นที่ที่มีระดับต่ำใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล เช่น ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ และเขตบางนา
สนน. กำชับผู้ปฏิบัติงานใช้พื้นที่ราชการให้เป็นไปตามระเบียบอย่างเคร่งครัด – ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปัจจุบันได้นำรถของเจ้าหน้าที่ที่นำมาฝากจอดค้างไว้ออกจากพื้นที่จอดรถของโรงควบคุมฯ แล้ว พร้อมกำชับเน้นย้ำการใช้พื้นที่ของหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบราชการอย่างเคร่งครัด ส่วนกรณีข้อสังเกตการใช้พื้นที่ราชการเป็นที่พักผ่อนส่วนตัว เนื่องจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำห้วยขวาง เป็นหนึ่งในโรงควบคุมคุณภาพน้ำขนาดชุมชนที่รับโอนจากการเคหะแห่งชาติ
กทม. พร้อมรับสถานการณ์ฝน-ตรวจสอบจุดก่อสร้างที่มีผลกระทบกับการระบายน้ำ – ขณะเดียวกัน สนน. ได้ตรวจสอบจุดก่อสร้างที่จะมีผลกระทบกับการระบายน้ำ พร้อมจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำ เจ้าหน้าที่หน่วยบริการเร่งด่วน (หน่วย BEST) 34 หน่วย เข้าพื้นที่ขณะที่มีฝนเริ่มตกพร้อมตรวจสอบเร่งระบายน้ำตามจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่จุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังและบริเวณทางอุโมงค์ทางลอดต่าง ๆ ตลอดจนให้สำนักงานเขตจัดหน่วย BEST 50
กทม. เร่งสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียคลองหลอดวัดราชบพิธ-วัดราชนัดดา – ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในระยะยาว จากปัญหkน้ำเสียที่ถูกปล่อยลงคลองโดยตรงจะไหลเข้าสู่โรงควบคุมคุณภาพน้ำ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่คลอง รวมทั้งมีการถ่ายเทไหลเวียนน้ำ เพื่อให้คุณภาพน้ำดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ จะมีมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ทิ้งขยะ เศษอาหาร สิ่งปฏิกูล หรือปล่อยน้ำเสียลงท่อระบายน้ำ หรือแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง
กทม. เร่งแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสอง ขอความร่วมมือชุมชนไม่ทิ้งขยะ-เศษอาหารลงคลอง – นายอภิชาต แสนมาโนช ผู้อำนวยการเขตสายไหม กทม. กล่าวว่า บริเวณคลองสองตั้งแต่จุดตัดคลองหกวาสายล่างถึงท้ายซอยพหลโยธิน 58 สนน. เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบร่วมกับเทศบาลตำบลคูคต จ.ปทุมธานี โดย สนน. จะรับผิดชอบฝั่งตะวันตก เบื้องต้นสำนักงานเขตฯ ได้ประสาน สนน. ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ส่วนเรื่องไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณถนนสุขาภิบาล 5 สำนักงานเขตฯ
กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน – รวมถึงการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ตู้เมนไฟฟ้า ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำของสำนักการระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำดีเซลของสำนักงานเขตให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สนับสนุน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถโมบายยูนิต เครื่องสูบน้ำ พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วย BEST เข้าตรวจสอบแก้ไขสถานการณ์และช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้