ต่อจากนั้น ดร.แอนนา เบนเน็ตต์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ "ทองคำโบราณ" ที่เมืองโบราณอู่ทอง และเบาะแสของที่ตั้ง "สุวรรณภูมิโบราณ" ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า ภูมิภาคนี้โดยเฉพาะประเทศไทย มีความเจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้าในการนำทองคำมาประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ ปี โดยเฉพาะที่อู่ทองมีความหลากหลาย นอกจากพระพุทธรูปทองคำแล้ว ยังพบจี้ที่มีลักษณะพิเศษคล้ายธรรมจักรในพุทธศาสนา อันอาจสนับสนุนสมมุติฐานการเป็นดินแดนสุวรรณภูมิของอาณาบริเวณนี้ ที่พัฒนาต่อจนเป็นแว่นแคว้นทวารดีที่ถือเป็นต้นทางของอารยะธรรมไทยในทุกวันนี้
ภายในงานยังได้มีการจัดแสดงเครื่องประดับทองคำโบราณซึ่งทั้งหมดถูกค้นพบในประเทศไทยและมีอายุสมัยเก่ายิ่งกว่าที่อู่ทอง จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการเปิดกรุเครื่องประดับทองคำโบราณอายุประมาณ ๑ – ๒,๐๐๐ ปี อย่างเป็นทางการครั้งแรก ซึ่งมีทั้งลูกปัดทองคำรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะแบบที่ทำด้วยลวดทองละเอียดมากเรียกว่าตะกร้อ ต่างหูรูปแบบต่าง ๆ จี้ห้อยรูปแบบสัญญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งตราทองคำจำหลักอักขระพราหมีโบราณ ที่เป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์
ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับทองคำโบราณที่ถูกค้นพบที่อู่ทองอีกมากมายที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ City of Gold: The ancient history of U-Thong ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ สำนักพิมพ์ริเวอร์บุคส์ ผู้จัดจำหน่าย หรือ เว็บไซต์ www.riverbooksbk.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit