พลังชุมชน “เจาะกะพ้อใน” ร่วมอนุรักษ์ “นกเงือก” ร่วมสร้าง “ป่าบูโด” ให้น่าอยู่ สานฝันสู่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

08 Jun 2017

สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ชาวบ้านเจาะกะพ้อใน ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำ "โครงการสร้างบ้านสร้างบ่าบูโดให้น่าอยู่" เพื่อร่วมกันอนุรักษ์นกเงือกและปกป้องผืนป่าบูโดซึ่งเป็นทั้งแหล่งน้ำและแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้าน และพัฒนาพื้นที่ของชุมขนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นายซัยฟุดีน เจ๊ะฮะ ผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดเผยว่าจากการทำงานเป็นครูอยู่ในพื้นที่ทำให้ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับชาวบ้านอยู่หลายๆ เรื่อง และพบว่าในพื้นที่ป่าของชุมชนนั้นยังคงมีปัญหาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการลักขโมยลูกนกเงือกไปขาย จึงเกิดแนวคิดที่จะประสานความร่วมมือของคนในชุมชนโดยเชื่อมโยงกับทุนเดิมที่มีอยู่ ไปสู่แนวทางการอนุรักษ์ผืนป่าบูโดโดยใช้นกเงือกเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน

พลังชุมชน “เจาะกะพ้อใน” ร่วมอนุรักษ์ “นกเงือก” ร่วมสร้าง “ป่าบูโด” ให้น่าอยู่ สานฝันสู่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

"นกเงือกคือตัวเดินเรื่องและเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ชุมชน และสถานศึกษา ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ ทั้งการสำรวจพื้นที่ป่าไม้และรังนกเงือกเพื่อเก็บข้อมูล มีการจัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้นกเงือกบ้านเจาะกะพ้อใน เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ มีการจัดกิจกรรมนำองค์ความรู้จากป่าลงไปสู่ห้องเรียน และการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยจัดทำเส้นทางเดินทางป่าเพื่อศึกษาธรรมชาติและชมนกเงือก นกเงือกจึงเครื่องมือในการสร้างพลังของชุมชน เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าบูโดให้กลายเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคง และพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนในระยะยาว"

สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องการตัดไม้และขโมยลูกนกเงือกในพื้นที่ป่าเขาบูโดนั้น ชุมชนแห่งนี้ใช้วิธีการรวมตัวกันเดินไปพูดคุยกับครอบครัวของผู้ที่ทำผิด และร้องขอให้หยุดการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่มีการจับลูกนกเงือกไปขายอีกเลยและให้สมาชิกในชุมชนช่วยกันสอดส่องติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องทางด้าน โดยภารกิจที่ต้องทำต่อจากนี้ก็คือการส่งไม้ต่อ โดยการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ไปสู่คนรุ่นต่อไปอย่างเด็กประถมและมัธยม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืน โดยไม่ได้หยุดอยู่แค่ในคณะทำงาน

"การดำเนินงานในปีแรกนั้นเราเน้นให้เด็กๆ ได้ศึกษาบริบทในพื้นที่และให้รู้ว่ามีนกเงือกอยู่จริง โดยได้สอดแทรกความรู้จากป่าผ่านการจัดการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของนกเงือกและผืนป่าต้นน้ำ และเรียนรู้ว่าวิถีชีวิตของชุมชนและอาชีพต่างๆ นั้นล้วนต้องพึ่งพาอยู่กับป่าบูโด ดังนั้นปีต่อไปเราจะเน้นเรื่องของการพัฒนานักเรียน สร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจริงๆ และมีความสามารถที่จะถ่ายทอดไปสู่คนอื่นๆ ผ่านการเป็นมัคคุเทศก์น้อย เป็นการขยายผลให้ชุมชนเกิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีความยั่งยืน" นายซัยฟุดีน เจ๊ะฮะ กล่าวสรุป

HTML::image(
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit