ปตท.สผ. ประสบผลสำเร็จในการเจาะหลุมสำรวจ “ออคิด-1” ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งออสเตรเลีย – พีทีทีอีพี เอเอเอ ได้ทำการเจาะหลุมออคิด-1 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเจาะถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 2,925 เมตร ค้นพบชั้นหินกักเก็บก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท ความหนา 34 เมตร ซึ่งผลการเจาะสำรวจเป็นไปตามที่คาดไว้ พีทีทีอีพี เอเอเอ จะวางแผนพัฒนาร่วมกับแหล่งแคช-เมเปิล (Cash-Maple field) ที่มีปริมาณทรัพยากรที่คาดว่าจะผลิตได้ (contingent
ฟิทช์เรทติ้งส์: การชนะการประมูลแหล่งก๊าซฯจะช่วยเพิ่มปริมาณสำรองและการผลิตของ ปตท. – ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิต BBB+/AAA(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งผลการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 ได้ทำให้ความเสี่ยงของการต่ออายุสัมปทานของแหล่งบงกชหมดไป อีกทั้งสัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. สผ. ในแหล่งบงกชจะเพิ่มขึ้นเป็น 100% จากปัจจุบันที่ 66.67% และในส่วนของแหล่งเอราวัณจะเพิ่มขึ้นเป็น 60%
กพช. มีมติรับทราบ การดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2665-2566 (แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช) โดยออกประกาศเชิญชวน ในวันที่ 24 เมษายน 2561 – ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องผลิตก๊าซธรรมชาติปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลขG1/61 และต้องผลิตก๊าซธรรมชาติในปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
กพช. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ – โดยที่ประชุม กพช. ได้มีมติรับทราบในหลักการเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ ในปี พ.ศ. 2565-2666 สรุป ดังนี้ 1. รับทราบการพิจารณาของคณะกรรมการปิโตรเลียม ที่ได้ประเมินว่าปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในแต่ละหลุมและโอกาสพบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ของแหล่งเอราวัณ และบงกช นั้นเข้าตามหลักเกณฑ์การใช้สัญญาแบ่งปันผลผลิตในการบริหารจัดการหลังจากสัมปทานสิ้นสุดอายุลง 2.
เชลล์ตกลงขายสินทรัพย์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชในประเทศไทยให้กับบริษัท ปตท. สผ. – ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 750 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ข้อตกลงดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีพ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา จากข้อตกลงดังกล่าวนี้เชลล์จะทำการขายสินทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วยแปลงหมายเลข 15 แปลงหมายเลข 16 แปลงหมายเลข 17 และแปลงหมายเลข G12/48 ผลของการซื้อขายดังกล่าวจะทำให้สัดส่วนการถือครองสัมปทานของ ปตท. สผ. ในแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชเพิ่มเป็น 66.6667%