นายแพทย์สุธน พิศูทธินุศาสตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลยันฮี เผยว่า "สถานการณ์โรคอ้วนของคนไทยในปัจจุบันเป็นไปในทิศทางที่น่ากังวล จัดอยู่ในอัตราการเสียชีวิตสูงไม่ต่างจากโรคอื่นๆ จากข้อมูลในปี 2564 ที่ผ่านมา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. (เครือข่ายคนไทยไร้พุง) ให้ข้อมูลว่า คนไทยเป็นโรคอ้วนลงพุงสูงถึง 20.8 ล้านราย โดยมีเพศหญิงอ้วนกว่าเพศชายในสัดส่วน 14 ล้านคน : เพศชาย 6.8 ล้านคน และเสี่ยงป่วยเป็นโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน , โรคอ้วนลงพุง , โรคมะเร็งต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภัยคุกคามชีวิตทั้งสิ้น
ด้วยตระหนักถึงภัยและความรุนแรงของโรคอ้วน กอปรกับในวันที่ 4 มีนาคมของทุกปีทั่วโลกได้กำหนดให้เป็น "วันอ้วนโลก (World Obesity Day)" เราจึงได้จัดการบรรยายพิเศษการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีรักษาโรคอ้วนให้มีประสิทธิภาพ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของโรงพยาบาลยันฮี เพื่อลดอัตราและภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย และเพื่อมุ่งหวังให้ต้องการหยุดวิกฤติโรคอ้วนในคนไทยให้มากที่สุด
ทั้งนี้ โรงพยาบาลยันฮี เป็นโรงพยาบาลที่มีความครบวงจรทั้งโรคทั่วไปและความสวยงาม โดยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางครบทุกสาขา มีศูนย์การรักษามากถึง 36 ศูนย์ ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการการรักษาแบบเฉพาะทางอย่างแท้จริง พร้อมด้วยเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัย โดยเฉพาะศูนย์ลดน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์ลดน้ำหนักของโรงพยาบาลยันฮี มีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญเฉพาะทางด้านสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนกว่า 20 ท่าน กระจายอยู่ตามศูนย์การรักษาต่างๆ เช่น ศูนย์โรคอ้วน ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์
นอกจากนี้เรายังมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มากขึ้น อีกทั้งมีการจัดอบรม เพื่อเพิ่มศักยภาพของแพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
ทางด้าน แพทย์หญิงกัลยาณี พรโกเมธกุล แพทย์ผู้ชำนาญการ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลยันฮี ได้ให้ความรู้เรื่องวิทยาการในการดูแลรักษาโรคอ้วนแบบองค์รวม เพื่อการมีสุขภาพดีแบบยั่งยืน ว่า "จุดตั้งต้นของการลดน้ำหนักจะขึ้นกับค่า BMI หรือ การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) เมื่อพบว่าเริ่มมีน้ำหนักเกิน โดย BMI เกินกว่า 25 สิ่งที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรกคือ การหาสาเหตุที่แท้จริงของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เพื่อวางแผนการลดน้ำหนัก ร่วมกับการเช็คสุขภาพเพิ่มเติมถึงการมีภาวะโรคร่วม เราต้องเข้าใจและยอมรับก่อนว่า ในผู้ที่ BMI สูงกว่า 25 ไม่ใช่แค่ปัญหาด้านรูปร่าง แต่เป็นภาวะของการเป็น "โรคอ้วน" เมื่อเรารู้ระดับความอ้วนของคนไข้ โปรแกรมจึงจะเริ่มต้นขึ้นตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
ปัจจุบันทางโรงพยาบาลยันฮี มีนวัตกรรมการดูแลรักษารักษาโรคอ้วนแบบองค์รวม ที่จะช่วยในคนไข้ลดน้ำหนักได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพหลักๆ 2 วิธีคือ วิธีแรก คือการใช้ "เป็ปไทด์ฮอร์โมนควบคุมความหิว" , วิธีที่สอง การลดความจุกระเพาะด้วย "บอลลูน" ซึ่งแต่ละวิธีล้วนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการดูแลและผู้ป่วย ช่วยให้รูปร่างกระชับ สวยงามด้วยเทคโนโลยีต่างๆ
"นอกจากนี้ ยังมีวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ การกระชับสัดส่วนและรูปร่าง ด้วยการใช้ความเย็นบำบัด (Cryotherapy) เช่น Coolsculpting และ Cristal , การใช้คลื่นวิทยุ (RF หรือ Radio Frequency) เช่น Indiba Velashape , การใช้คลื่นเสียง (Ultrasound) เช่น Accent Ultra ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะรักษาโดยทีมแพทย์ผิวหนังและเลเซอร์ รวมไปถึงการดูดไขมันเฉพาะส่วนด้วย Vaser หรือการดูดไขมันเฉพาะส่วนด้วย J-Plasma การตัดหน้าท้อง การดูดไขมันเฉพาะจุดเช่น กระชับแขน ต้นขา ลำตัว โดยแพทย์ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง อีกด้วย"
แพทย์หญิงกัลยาณี แนะนำวิธีปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เพื่อสุขภาพที่ดีและมีร่างกายที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน ต่อไปอีกว่า "เราควรเริ่มจากการปรับพฤติการณ์และการดำเนินชีวิต (life style modification) ด้วยวิธีง่ายๆ อาทิ การควบคุมอาหาร โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันผู้ชายต้องการพลังงานที่ใช้ประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี ส่วนผู้หญิงต้องการพลังงานที่ใช้ต่อวันราว 1,600 กิโลแคลอรี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น น้ำหนัก อายุ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ดังนั้น ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและต้องการลดน้ำหนัก ให้ลดลงสัปดาห์ละ 0.5-1 กิโลกรัม ควรลดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคให้น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องการประมาณ 500-600 กิโลแคลอรีต่อวัน
นอกจากนี้ ควรอออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 30-40 นาทีต่อวัน พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการอดนอนจะขัดขวางการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันออกไปได้ พฤติกรรมบำบัด เช่น ตั้งเป้าในการลดน้ำหนัก โดยจะส่งผลดีต่อสุขภาพระยะยาว ควบคุมสิ่งกระตุ้น เพื่อส่งเสริมส่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น จำกัดอาหารที่ไม่จำเป็นออกจากตู้เย็น การจัดการความเครียด ผ่อนคลาย และทำจิตใจให้แจ่มใส เพื่อการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน สร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกำลังใจในการลดหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนัก อาจมีอุปสรรคมากมายระหว่างการดูแล แต่ถ้าน้ำหนักไม่ลดตามเป้าหมาย การดูแลรักษาลดน้ำหนักแบบองค์รวม โดยการปรึกษาแพทย์และทีมผู้ดูแลรักษา ก็สามารถช่วยทำให้เราไปสู่เป้าหมายได้อย่างดี ปลอดภัย ได้ประสิทธิภาพนั่นเอง และการได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างถูกต้อง และได้ผลลัพธ์จากการลดน้ำหนักอย่างถาวรได้ในที่สุด" แพทย์หญิงกัลยาณี กล่าวทิ้งท้าย
และชวนมาดูแลตัวเอง สุขภาพดีไกลโรคอ้วนตลอดปี !! ไปกับแพ็คเกจ "รู้เท่าทัน รักษาได้ท่วงที" ซึ่งเป็นโปรแกรมคัดกรองภาวะโรคอ้วน ด้วยการตรวจสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลยันฮี เริ่มต้นเพียง 3,200 บาทกับโปรแกรม 1 ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด, ตรวจหาน้ำตาลสะสมในเลือด, ตรวจการทำงานของไต, ตรวจระดับไขมันในเลือด, ตรวจการทำงานของตับ, ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ พร้อมให้คำปรึกษาทุกเรื่องรับประทานอาหาร จากนักโภชนาการมืออาชีพ หรือรู้ทันยิ่งกว่า ตรวจสุขภาพพร้อมตรวจร่างกายเชิงลึก กับโปรแกรม 2 เพิ่มการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, เอกซเรย์ปอดและหัวใจ และอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน ทั้งหมดในราคาเพียง 5,300 บาทเท่านั้น (จากปกติ 7,000 บาท) เริ่มแล้ววันนี้ - 31 ธันวาคม 2565
สนใจสามารถปรึกษาพร้อมเข้ารับคำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงได้ที่ โรงพยาบาลยันฮี โทร.1723 / Website : https://th.yanhee.net/ Line : yanhee Hospital หรือทาง Facebook : ยันฮีโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพและความงาม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit