มศว-วิโนน่า ลงนามสัญญาอนุญาตใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยี จุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์

26 Mar 2021

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และ วิโนน่า ร่วมลงนามสัญญาอนุญาตใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยี จุลินทรีย์ โพรไบโอติก สายพันธุ์ Lactobacillus paracasei MSMC39-1 เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ สำหรับงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมสนับสนุนภาคธุรกิจ ต่อยอดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่มีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยปี 2560 - 2563 มูลค่าตลาดของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาเซียน มีการเติบโตมากกว่า 300 เปอร์เซ็นต์

มศว-วิโนน่า ลงนามสัญญาอนุญาตใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยี  จุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยถึงการลงนามสัญญาอนุญาตใช้สิทธิข้อมูลเทคโนโลยี จุลินทรีย์ โพรไบโอติก สายพันธุ์ Lactobacillus paracasei MSMC39-1 ครั้งนี้ "ด้วยทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ และต่อยอดผลงานวิจัยที่มีศักยภาพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ตลอดจนสร้างความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อันจะก่อให้เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีอยู่ภายในประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วย

โพรไบโอติก (probiotics) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ เมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นในทางเดินอาหาร สายพันธุ์ Lactobacillus paracasei MSMC39-1 เป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยและมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ ลดการสะสมของไขมัน ลดการอักเสบในตับ ลดลำไส้อักเสบ ยับยั้งเชื้อก่อโรค ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ และเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่อนุญาตให้ใช้เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ถือเป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทย ซึ่งจะคุ้นเคยกับผู้บริโภค และนี่เป็นครั้งแรกของการนำโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่อนุญาตใช้สิทธิและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมทัศน์ จิระเดชะ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวเสริมว่า "บทบาทของสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย คือการสนับสนุนส่งเสริม อาจารย์ นักวิจัย ทั้งในรูปแบบของเงินทุนวิจัย การอบรมต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี นอกจากนี้ประเทศไทยโดยนายกรัฐมนตรีได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศด้วยระบบเศรษกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งงานวิจัยที่มีพิธีลงนามอนุญาตใช้สิทธิเพื่อนำเทคโนโลยีจุลินทรีย์โพรไบโอติกไปใช้
มีต่อ

ประโยชน์ในวันนี้ ถือเป็นงานวิจัยที่อยู่ภายใต้เป้าหมายของ BCG เช่นกัน การได้สนับสนุนทางภาคเอกชนครั้งนี้ ก่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ผู้ประกอบการคุณภาพอย่าง วิโนน่า อันจะส่งผลต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ก่อเกิดงานวิจัยที่จับต้องได้จากการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง"

นางนพรัตน์ สุขสราญฤดี ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์วิโนน่า กล่าวว่า "แบรนด์วิโนน่า เป็นแบรนด์เฟมินิน แคร์ ที่ก่อตั้งโดยคนไทย และมีชื่อเสียงระดับเอเซีย ส่งออกไปขายแล้วกว่า 14 ประเทศทั่วไโลก ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีมาก เมื่อภาครัฐโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สนับสนุนให้ภาคเอกชนได้นำงานวิจัยที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งนักวิจัยจะเปิดเผยข้อมูลเทคโนโลยีของสายพันธุ์โพรไบโอติกที่พัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒให้แก่บริษัท ซึ่งจะนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้หญิงไทย และส่งออกไปยังฐานลูกค้าที่มีในต่างประเทศ เพื่อช่วยดูแลปัญหาที่เกิดจากระบบภายในร่างกายและฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ตลอดช่วงอายุ โดยเฉพาะช่วงวัยทอง"

โพรไบโอติก (probiotics) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์เมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมสำหรับสุขภาพน้องสาว จุลินทรีย์ตัวนี้มีบทบาทสำคัญเพราะเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่อยู่ในช่องคลอดอยู่แล้ว ดังนั้นการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ตัวดีนี้ ทำให้ป้องกันการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังช่วยย่อยโครงสร้างไฟโตเอสโตรเจนให้เล็กลง ทำให้ดูดซึมง่ายและทำให้ร่างกายนำไปใช้ได้ในที่สุด

อีกทั้งผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก ถือเป็นนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก การนำโพรไบโอติกไปเป็นส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งในระหว่างปี 2560 - 2563 มูลค่าตลาดของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในอาเซียน มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 300%

ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในไทยจึงสนใจในการนำโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยที่มีการพิสูจน์คุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกที่ดี อยู่ในการอนุญาตของ อย. และมีคุณสมบัติจำเพาะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการนำเข้าสายพันธุ์ หรือผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกจากต่างประเทศ และโพรไบโอติกสายพันธุ์ไทยมีความจำเพาะต่อคนไทย ดังนั้นจึงสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศได้