ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงข่าวดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565

10 Feb 2022

รศ.ดร.ธนวรรธน์  พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ผศ.วชิร  คูณทวีเทพ ผอ.สถาบันยุทธศาสตร์การค้า  และ อาจารย์วทิตร  รักษ์ธรรม  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย  ร่วมแถลงข่าว ผลสำรวจ  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ระดับ 44.8 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 46.2 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 38.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ อยู่ที่ 41.4 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 54.4สำหรับปัจจัยลบที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมกราคม ลดลง ได้แก่ ความกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ ตลอดจนการท่องเที่ยว อีกทั้งศูนย์บริหารสถานการร์โควิด-19 (ศบค.) ยังยกเลิกระบบ Test&Go เป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงตลอดจนปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความกังวต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นส่วนปัจจัยบวก ได้แก่ การที่กระทรวงการคลังปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัว 1.2% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ 1.0% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวที่ระดับ 4% ขณะที่ภาครัฐดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน 7 มาตรการ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของทั้งโลกที่เป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้น การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2564 ขยายตัว 24.18% ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 17% และราคาพืชผลเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกร และกำลังซื้อในต่างจังหวัดเพิ่มสูงขึ้น

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงข่าวดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงข่าวดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม 2565