สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา เดินหน้าช่วยเหลือผู้สูงอายุพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่ม "ของดีบ้านโคกไคร"

25 Mar 2022

นางสาวธัญรัศม์ ศรีริพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา มอบหมายให้ฝ่ายพัฒนาฝีมือแรงงานลงพื้นที่ดำเนินการฝึกอบรมฝึกอาชีพเสริม โครงการฝึกอบรมแรงงานผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพหลักสูตรการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการจำหน่ายออนไลน์ (Value Addition of Products and E-commerce Training Course) จำนวน 18 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 24 - 26 มีนาคม 2565 ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 1 บ้านโคกไคร ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร กลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกไคร (แปรรูปอาหารทะเล) จำนวน 20 คน

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา เดินหน้าช่วยเหลือผู้สูงอายุพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่ม "ของดีบ้านโคกไคร"

นายสมพร สาระการ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร กล่าวว่า บ้านโคกไครแห่งนี้ เป็นชุมชนวิถีประมง มีสถานที่ที่นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสธรรมชาติก็คือหาดทรายร้อน หรือ หาดโคลนร้อน อาชีพหลักคือการทำฟาร์มหอยนางรมธรรมชาติและการทำประมงพื้นบ้านเป็นหลัก ผลิตภัณฑ์ที่มีในชุมชนก็ได้มาจากการทำประมง เช่น กะปิ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม น้ำพริก ปลาหมึกแห้ง เป็นต้น

ซึ่งเป็นโอกาสดีที่สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา ได้เข้ามาส่งเสริมฝึกอาชีพหลักสูตรการเพิ่มมูลค่าสินค้าและการจำหน่ายออนไลน์ เพื่อคนในชุมชนจะได้ร่วมกันพัฒนา ส่งเสริม และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วกลายเป็นสินค้าที่โดดเด่น เพิ่มมูลค่าได้อีกไม่น้อย

นายดลอ้าหลีม กะสิรักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโคกไคร ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงสถานการณ์โควิด19 การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในชุมชนและการตลาดพร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มศักยภาพการแข่งขันยกระดับ สู่สากล จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการใช้งานดิจิทัล ให้มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นในวิกฤตโควิดครั้งนี้ ได้กลับกลายมาเป็นโอกาสของการพัฒนาสู่ "ช่องทางการตลาดยุคใหม่" ช่องทางการจำหน่ายรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการในชุมชน สามารถพัฒนาตัวเองและยกระดับการผลิตสินค้า โดยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยี โดยชาวบ้านในชุมชนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้เน้นการสร้างคอนเทนต์เพื่อมายกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์

โดยให้ความสำคัญกับการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาในท้องถิ่น สามารถเพิ่มช่องทางการขายผ่านโซเชียลมีเดียได้ และขอบคุณสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา ที่เข้ามาจัดฝึกอบรมหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเพื่อเป็นการพัฒนาให้ทันต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการโอทอป ที่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการใช้งานดิจิทัล ให้มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้นในวิกฤตโควิดครั้งนี้ ได้กลับกลายมาเป็นโอกาสของการพัฒนาสู่ "ช่องทางการตลาดยุคใหม่"และสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ได้อีกด้วย

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพังงา เดินหน้าช่วยเหลือผู้สูงอายุพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่ม "ของดีบ้านโคกไคร"