วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติ ให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในสหภาพยุโรป

24 May 2022

การอนุมัตินี้เกิดขึ้นหลังจากคำแนะนำของคณะกรรมการพิจารณายาสำหรับมนุษย์ของสหภาพยุโรป ในการอนุมัติให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ที่ผ่านการรับรองจากสหภาพยุโรป

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติ ให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในสหภาพยุโรป

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของยุโรป (EMA) ให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในผู้ใหญ่

ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ที่ผ่านการรับรองจากสหภาพยุโรป

การอนุมัติครั้งนี้ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณายาสำหรับมนุษย์ของสหภาพยุโรป (CHMP) ด้วยข้อมูลสนับสนุนจากการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ให้เห็นถึงระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังจากที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA1-5

แม้ว่ากว่า 65% ของประชากรโลกจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม6 แต่การเพิ่มจำนวนประชากรให้ได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็มและเข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหลังจากการอนุมัตินี้บุคลากรทางการแพทย์จะมีตัวเลือกมากขึ้นในการแนะนำวัคซีนให้แก่ประชาชน

เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตราเซเนก้า กล่าวว่า "การอนุมัติให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้นั้นถือเป็นก้าวที่สำคัญในการไปสู่เป้าหมายของเราที่ต้องการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กันประชากรทั่วโลก ซึ่งการดูแลภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคให้ยาวนานขึ้นเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมและจัดการโรคนี้ได้ในระยะยาวได้ ซึ่งวัคซีนเข็มกระตุ้นนี้จะมาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามระยะเวลาหลังจากที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกแล้ว"

มีข้อมูลจากการศึกษามากมายที่ให้การสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในการเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม หลังจากได้รับวัคซีนสองเข็มแรกชนิดต่างๆ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีน mRNA และวัคซีน CoronaVac1,7-12

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังการได้รับวัคซีนชนิดเดียวกัน (ผู้ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า) ในสหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศในทวีปเอเชียและละตินอเมริกา นอกจากนั้นยังได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังการได้รับวัคซีนต่างชนิดกัน (ผู้ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนไวรัล เวคเตอร์ อื่นที่ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีนเชื้อตาย หรือวัคซีน mRNA) ในหลายประเทศนอกสหภาพยุโรป

จากข้อมูลการศึกษาแบบจำลองในการประเมินผลกระทบของโรคโควิด-19 ทั่วโลก13 พบว่าวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 กว่า 50 ล้านราย ป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 5 ล้านราย และได้ช่วยปกป้องชีวิตผู้คนกว่า 1 ล้านชีวิตจากโรคโควิด-1913

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) คิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนชนิด ไวรัล เวคเตอร์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไปซึ่งทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวและไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้เทคโนโลยีวัคซีนนี้ต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาทิ ไข้หวัดใหญ่, อีโบลา, และ HIV14 เป็นต้น

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 90 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ (COVAX)

ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca

เอกสารอ้างอิง

  1. Maheshi N Ramasamy et al. Immunogenicity and safety of AZD1222 (ChAdOx1 nCoV-19) and AZD2816 as third-dose boosters in adults previously vaccinated with AZD1222 or an mRNA vaccine. Presented at the European Society of Clinical Microbiology and Infectious Diseases Congress (ECCMID), Lisbon, 2022.
  2. Flaxman A, et al. Reactogenicity and immunogenicity after a late second dose or a third dose of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) in the UK: a substudy of two randomized controlled trials (COV001 and COV002). The Lancet. Available at: https://www.thelancet.com/article/S0140-6736(21)01699-8/fulltext. Accessed May 2022.
  3. Munro A PS, et al. Safety and immunogenicity of seven COVID-19 vaccines as a third dose (booster) following two doses of ChAdOx1 nCov-19 or BNT162b2 in the UK (COV-BOOST): a blinded, multicentre, randomised, controlled, phase 2 trial. The Lancet. Available at: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)02717-3/fulltext. Accessed May 2022.
  4. Participants were adults 18 years-old and older who would benefit from prevention with Evusheld, defined as having increased risk for inadequate response to active immunisation (predicted poor responders to vaccines or intolerant to vaccination) or having increased risk Liu X et al. Safety and immunogenicity of heterologous versus homologous prime-boost schedules with an adenoviral vectored and mRNA COVID-19 vaccine (Com-COV): a single-blind, randomised, non-inferiority trial. Available at: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)01694-9/fulltext. Accessed May 2022.
  5. Dejnirattisai W et al. SARS-CoV-2 Omicron-B.1.1.529 leads to widespread escape from neutralizing antibody responses. Available at: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0092867421015786. Accessed May 2022.
  6. Ritchie et al. Coronavirus (COVID-19) Vaccinations - Our World in Data. Accessed at: https://ourworldindata.org/covid-vaccinations. Accessed May 2022
  7. Flaxman A, et al. Reactogenicity and immunogenicity after a late second dose or a third dose of ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) in the UK: a substudy of two randomized controlled trials (COV001 and COV002). The Lancet. Available at: https://www.thelancet.com/article/S0140-6736(21)01699-8/fulltext. Accessed May 2022.
  8. Munro A PS, et al. Safety and immunogenicity of seven COVID-19 vaccines as a third dose (booster) following two doses of ChAdOx1 nCov-19 or BNT162b2 in the UK (COV-BOOST): a blinded, multicentre, randomised, controlled, phase 2 trial. The Lancet. Available at:
  9. https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)02717-3/fulltext. Accessed May 2022.
  10. Jara A et al. Effectiveness of Homologous and Heterologous Booster Shots for an Inactivated SARS-CoV-2 Vaccine: A Large-Scale Observational Study. Available at SSRN: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4005130. Accessed May 2022.
  11. Vargas L et al. Serological study of CoronaVac vaccine and booster doses in Chile: immunogenicity and persistence of anti-SARS-CoV-2 S antibodies. Pre-print available at: https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.01.14.22269289v1. Accessed May 2022.
  12. Costa Clemens SA, et al. Heterologous versus homologous COVID-19 booster vaccination in previous recipients of two doses of CoronaVac COVID-19 vaccine in Brazil (RHH-001): a phase 4, non-inferiority, single blind randomised study. Available at: https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(22)00094-0/fulltext. Accessed May 2022.
  13. Data estimates based on model outcomes with transmission defined as 200 infections per 100,000 people per day. AZD1222 lives and hospitalisations prevented data on file. Data on File Number: REF-131228, 10 November 2021. AstraZeneca UK Ltd.
  14. Zhang et al. Adenoviral vector-based strategies against infectious disease and cancer. Available at: https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/21645515.2016.1165908. Accessed May 2022