CEA ร่วมกับภาคเอกชน จัด Creative Economy Forum Thailand 2022 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย ส่งออก Soft Power สู่ตลาดโลก

20 Jun 2022

ร่วมค้นหาคำตอบ ข้อเสนอเชิงนโยบายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย ในด้าน Soft Power สู่การสร้างเศรษฐกิจมูลค่าให้แก่ประเทศ 

CEA ร่วมกับภาคเอกชน จัด Creative Economy Forum Thailand 2022 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย ส่งออก Soft Power สู่ตลาดโลก

ปรากฏการณ์ Soft Power นับว่าเป็นกระแสมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละชาติได้หยิบยก DNA ของประเทศตนเองมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลักดันการสร้างแบรนด์ชาติ ซึ่งล้วนแล้วแต่อาศัยต้นทุนทางด้านวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี ให้เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หากมองกลับกัน นโยบายด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) และการผลักดัน Soft Power ถือว่ายังเป็นจุดเริ่มต้น นำมาสู่การตั้งคำถามว่าอะไรคือ 'Soft Power' ของประเทศไทยที่สะท้อนคุณค่าและตัวตนของชาติ ที่สามารถส่งออกให้ต่างชาติยอมรับ ที่ต้อง 'ขายได้และขายดี'

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับภาคเอกชน บริษัท เวรียนส์ แอนด์ พาร์ทเนอส์ จำกัด เตรียมจัดงาน Creative Economy Forum Thailand 2022 เวทีส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้าร่วม ในการมีส่วนร่วมพัฒนาและผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยให้ก้าวไปข้างหน้า ภายใต้หัวข้อการเสวนา Steering the Growth of Creative Economy amid Technological and Pandemic Disruption เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยก้าวไปด้วยเทคโนโลยี ท่ามกลางโรคระบาดอุบัติใหม่ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. ห้องออดิทอเรียม ชั้น M TCDC กรุงเทพฯ

งานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นประธานในการปาฐกถาเปิดงานในหัวข้อ ภาพรวมสถิติ บทบาท และวิสัยทัศน์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หน่วยงานรัฐบาลที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ให้ขับเคลื่อน GDP ของประเทศไทย

เวทีประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

  1. อนาคตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย หลังพลิกฟื้นจากโควิด-19 และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 
  • ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
  • ดร. ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)
  1. เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการขับเคลื่อนภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ
  • ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 
  • สุวรรณี สุวรรณแสงโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ตาชำนิ จำกัด (มหาชน) 
  • ธีรทัศน์ กรุงแก้ว ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์และบริหารการลงทุน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
  • รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS 
  1. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่การยกระดับอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้เป็น Soft Power 
  • ดร. ศรุต วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประเทศไทย ลาว และกัมพูชา บริษัท เน็ตฟลิกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • ทิฆัมพร ภูพันนา นักสร้างสรรค์ตัวแทนกลุ่มหมอลำโฮโลแกรม
  • กรกต อารมย์ดี เจ้าของแบรนด์ KORAKOT งานหัตถกรรมดีไซน์ 
  • ลักษมณ์ เตชะวันชัย ผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยี บริษัท มวยไทย ไอ.กล้า จำกัด และรองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
  • สุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้สร้างแบรนด์ Karb Studio และผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ

นอกจากนี้ยังมีหลากหลายวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมแบ่งปันความรู้ มุมมอง และข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ "เทคโนโลยีและนวัตกรรม" ให้เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยให้ก้าวไปข้างหน้า และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ https://www.tcdc.or.th/th/all/events/1486 

CEA ร่วมกับภาคเอกชน จัด Creative Economy Forum Thailand 2022 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย ส่งออก Soft Power สู่ตลาดโลก
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit