วว.จับมือ วช. และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นำเสนอ/เผยแพร่งานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์

14 Jul 2022

วว.จับมือ วช. และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นำเสนอ/เผยแพร่งานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น

วว.จับมือ วช. และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นำเสนอ/เผยแพร่งานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มอบหมายให้เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  จัดกิจกรรมนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ขึ้น เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ที่ได้รับทุนสนับสนุน ในการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยพัฒนาบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งกิจกรรม  โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการ อว. เป็นประธานเปิดงาน โดยมี   ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานฯ   โอกาสนี้ ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด พร้อมร่วมเสวนา เรื่อง "แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์"  ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม โรงแรมเซ็นทารา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการ  และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการ วว. กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนาว่า โครงการนี้ วว.กำหนด positioning ที่จะเป็นหน่วยงานที่นำศักยภาพของ วว. เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นของผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวชุมชน โดยการทำงานร่วมกันกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎ ทั้งนี้จากบทเรียนการทำงานเชิงพื้นที่ วว.ตระหนักดีว่า "ความยั่งยืนเกิดจากความร่วมมือของ ทุกภาคส่วน และต้องพัฒนาเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น" โจทย์ของ วว. จึงเป็นการทำงาน เพื่อตอบคำถามว่า "เราจะทำให้การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ยั่งยืนได้อย่างไร"

"... วว. จึงได้กำหนดแผนการทำงาน  โดยเริ่มจาก "การมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และยกระดับ มาตรฐานคุณภาพการผลิต"  โดยเน้นการสร้างคนที่มีความรู้ความเข้าใจพื้นที่เกี่ยวกับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายใต้โครงการด้วยการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับ อาจารย์และผู้ประกอบการ  เช่น การยกระดับการผลิต การยกระดับบรรจุภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานการผลิต (มผช. อย) การรับรองระบบคุณภาพการผลิตอาหาร (GMP) มาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP และ Organic) มาตรฐานการท่องเที่ยว  สำหรับในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ได้ร่วมกับ มรภ. โดย วว.ทำหน้าที่ให้บริการวิเคราะห์และทดสอบผลิตภัณฑ์  การวิเคราะห์และทดสอบถ้าผลไม่ได้มาตรฐานก็มีการวิเคราะห์สาเหตุและร่วมกันพัฒนา  รวมถึงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกันเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับมาตรฐานต่างๆ ร่วมกับ ทีมงาน มรภ. ..." ดร.อาภากร สุปัญญา กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าว วว. ยังได้ร่วมนำตัวอย่างผลงานวิจัยและพัฒนาที่แล้วเสร็จและผลผลิตจากการดำเนินงานในโครงการวิจัย ภายใต้แผนงานการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นปีที่ 2   ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง  

วว.จับมือ วช. และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นำเสนอ/เผยแพร่งานวิจัย แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์