"ทรีนีตี้" มองดัชนีหุ้นไทยเดือนส.ค.แกว่งในกรอบ 1530-1630 จุด มองกรอบแนวต้านแรกที่ 1580-1600 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าสนใจสำหรับการขายทำกำไรระยะสั้น จับตาเงินเฟ้อไทยในวันที่ 5 ส.ค.

01 Aug 2022

"ทรีนีตี้" มองดัชนีหุ้นไทยเดือนส.ค.แกว่งในกรอบ 1530-1630 จุด มองกรอบแนวต้านแรกที่ 1580-1600 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าสนใจสำหรับการขายทำกำไรระยะสั้น จับตาเงินเฟ้อไทยในวันที่ 5 ส.ค. ซึ่งจะมีผลต่อ Action ของกนง. ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค.ส่วนกลยุทธ์ลงทุนยังคงเน้นไปยังกลุ่ม Defensive play ทั้ง Healthcare / Consumer staples / Utilities / ICT มองการรีบาวด์ของหุ้นวัฏจักรในรอบปัจจุบันอาจเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว

"ทรีนีตี้" มองดัชนีหุ้นไทยเดือนส.ค.แกว่งในกรอบ 1530-1630 จุด มองกรอบแนวต้านแรกที่ 1580-1600 จุด ซึ่งเป็นบริเวณน่าสนใจสำหรับการขายทำกำไรระยะสั้น จับตาเงินเฟ้อไทยในวันที่ 5 ส.ค.

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนเดือนสิงหาคม 2565 ว่า คาด SET Index เดือนสิงหาคมแกว่งตัวในกรอบ 1530-1630 จุด มองการรีบาวด์ขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาเป็นเพียงปรากฏการณ์ Bear market rally ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แล้วตลาดมีการ Price in ข่าวร้ายไปมาก จึงมีการปรับตัวผ่อนคลายชั่วครั้งชั่วคราว สอดคล้องกับเงิน USD ที่ถูก Lock profit บางส่วน จนทำให้เกิดแรง Cover short กลับคืนในกลุ่มสกุลเงิน EM ส่งผลให้มีการซื้อหุ้นไทยกลับของนักลงทุนต่างชาติตามเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

มองตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เข้าสู่ภาวะ Technical recession ในช่วงไตรมาสที่ 2 แทบไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าตกใจแต่อย่างใด แต่ตัวเลข -0.9% QoQ ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะยังไม่ใช่จุดต่ำสุดของรอบนี้ ซึ่งประเด็นนี้อาจทำให้ตลาดหุ้นอาจกลับมาปรับตัวลงอีกครั้ง หากมีตัวเลขเศรษฐกิจใดที่ส่งสัญญาณอ่อนแอมากขึ้น เนื่องจากจะทำให้นักลงทุนเริ่ม Price in กับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยที่ลึกขึ้น (Deeper recession)

นายณัฐชาต กล่าวว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่น่ากังวลได้แก่ความชะล่าใจของนักลงทุนที่เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เนื่องจากหากดูจาก Fed Funds futures ล่าสุดจะพบว่า ตลาด Price in การขึ้นดอกเบี้ย Fed ในการประชุมครั้งถัดไปเพียง 58 bps เท่านั้น ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯยังคงทรงตัวในระดับสูงจนทำให้ Fed ตัดสินใจคงอัตราเร่งในการขึ้นดอกเบี้ย อาจเป็นปัจจัยที่กลับมาทำให้เงิน USD แข็งค่าและกดดันสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้งได้ ด้วยเหตุนี้ ตัวเลขที่ยังคงต้องจับตาต่อในเดือนนี้ได้แก่ตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ซึ่งจะออกมาในวันที่ 10 ส.ค.

ในเชิงกลยุทธ์ ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับตัวแปรทางเศรษฐกิจ และตัวแปรทางด้าน Valuation ต่างๆ ด้วยเหตุนี้ จึงแนะนำนักลงทุนที่ได้เข้าะสมหุ้น ณ บริเวณดัชนี 1500-1530 จุดตามที่ทางทรีนีตี้แนะนำก่อนหน้านี้ ทยอยขายทำกำไรที่ระดับดัชนีบริเวณ 1580 จุดขึ้นไป ซึ่งเป็นเส้นแบ่งความถูก/แพงของดัชนีที่เราเคยให้ไว้ มองกรอบแนวต้านแรกของดัชนี SET เดือนนี้ที่บริเวณ 1580-1600 จุด และ แนวต้านสำคัญที่ไม่น่าผ่านได้แก่ระดับ 1630 จุด ส่วนแนวรับสำคัญของเดือนนี้ให้ไว้ที่บริเวณ 1530 จุด

นายณัฐชาต กล่าวว่า จากการตรวจสอบความชัน Yield curve ทั่วโลกล่าสุดพบว่ายังคงแบนราบ และระดับ 2s10s spread ยังคงอยู่บริเวณจุดต่ำสุด ซึ่งมักเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อกลุ่ม Cyclical ที่การปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นเพียง Technical rebound ช่วงสั้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ในส่วนของกลุ่มหุ้นแนะนำเดือนนี้ยังคงเน้นไปที่กลุ่ม Defensive play เป็นสำคัญ อาทิ BDMS, CPALL, GPSC, RATCH, WHAUP, ADVANC ผนวกกับการ Selective หุ้นเด่นใน Sector อื่นๆ อย่าง BBL, CPF, JMT, OR

สำหรับปัจจัยอื่นๆที่น่าติดตามประจำเดือนสิงหาคมนี้ได้แก่ รายงานตัวเลข CPI ของไทยประจำเดือนก.ค.ในวันที่ 5 ส.ค.นี้ ซึ่งล่าสุดตลาดคาดการณ์ขยายตัว 7.9% YoY และ 0.0% MoM โดยจะต้องติดตามว่าเงินเฟ้อมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อไปยังคาดการณ์ดอกเบี้ยในตลาด รวมถึง Action ของกนง.ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค.นี้ รวมถึงรายงานตัวเลขเศรษฐกิจชี้นำที่สำคัญโดยเฉพาะตัวเลข PMI ภาคการผลิต ซึ่งล่าสุดจีนรายงานตัวเลขเดือนก.ค.ถือว่าน่าผิดหวังกลับมาอยู่ในโซนหดตัวอีกครั้งที่ระดับ 49.0 โดยต้องติดตามทางฝั่งของสหรัฐฯและยุโรปด้วยเช่นกัน หากออกมาไม่ดีหรือแย่กว่าคาด อาจทำให้ตลาดกลับมากังวลกับภาวะเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง