ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ว่า เพียงความรู้ทางวิชาการจะไม่เกิดความสำคัญ หากไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
เช่นเดียวกับทิศทางของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในอดีตที่เคยเน้นเพียงเรื่องการศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Sciences) เพื่อเติบโตสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความรู้อย่างถ่องแท้ แต่ปัจจุบันได้มุ่งศึกษาเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในวงกว้าง
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงผลการคัดเลือกเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชน JSTP-SCB (Junior Science Talent Project) จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
นายวุฒิภัทร อินนท์ทองคำ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในเยาวชนจากโครงการ JSTP-SCB ที่เลือกศึกษาต่อ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีความสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของคณะฯ ที่มุ่งบ่มเพาะสู่การเป็นบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่พร้อมด้วยทักษะแห่งการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้ก้าวทันโลกแห่งศตวรรษที่ 21
โดยปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดให้มี track พิเศษเพื่อการบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาดังกล่าวด้วยหลักสูตร 5 ปี ที่ในสามปีครึ่งแรกกำหนดให้นักศึกษาของคณะฯ ได้ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จนสำเร็จวิทยาศาสตรบัณฑิต และอีกปีครึ่งได้ศึกษาต่อด้านการประกอบการที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการจัดการอีกใบ
หนึ่งในโครงงานของ นายวุฒิภัทร อินนท์ทองคำ ที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการตัดสินโครงการ JSTP-SCB จนได้รับคัดเลือก ได้แก่ "โครงงานวัสดุจากน้ำยางพาราป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็งและรองรับแรงกระแทกเนื่องจากการหกล้ม"
โดยเป็นโครงงานที่ นายวุฒิภัทร อินนท์ทองคำ ได้รับโอกาสให้ร่วมวิจัยกับ กลุ่มวิจัยนวัตกรรมแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตั้งแต่ยังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จนมีแนวโน้มที่จะต่อยอดสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแนวใหม่ของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นายวุฒิภัทร อินนท์ทองคำ คือตัวแทนของ "เยาวชนรุ่นใหม่หัวใจนวัตกร" ผู้มีความฝันจะทำให้ "ยางพารา" พืชเศรษฐกิจที่เปรียบเหมือน "ลมหายใจ" ของพี่น้องชาวใต้เพิ่มมูลค่าได้ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์สู่ผลิตภัณฑ์ "ปลอกแขนป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง" ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์กีฬาจากต่างประเทศ ด้วยฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยในราคาที่คนไทยทุกคนเข้าถึงได้
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา กล่าวทิ้งท้ายว่า ความงามของการเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด จากการมองทุกอย่างให้เป็นโอกาส สิ่งที่รู้แล้วไม่ใช่งานวิจัย แต่ "งานวิจัย คือ การค้นพบ" และจะให้ผลที่งดงามสำหรับผู้ที่พยายามมากพอ เช่นเดียวกับการเป็น"เยาวชนนักวิทย์รุ่นใหม่หัวใจผู้ประกอบการ" ที่พร้อมฝ่าฟันไปสู่จุดมุ่งหมาย
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit