- ๑ ก.พ. "เคหะสุขประชา" ผนึก "ม.เกษตรศาสตร์" พัฒนาหลักสูตรคุณภาพ ยกระดับความรู้ เสริมทักษะประชาชนในโครงการ "บ้านเช่าพร้อมอาชีพ"
- ๑ ก.พ. "ดนตรีในสวน…เพลงครู" วง Nontri Orchestra Wind ม.เกษตรศาสตร์ บรรเลงสุดประทับใจ ครั้งต่อไป"เพลงรักชาติ" 22 ม.ค.นี้
- ๑ ก.พ. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาและม.เกษตรศาสตร์ เชิญชมดนตรีในสวน บรรเลง "เพลงครู" 15 ม.ค.นี้ ณ สวนหลวงพระราม 8
ผศ.ดร.จุติเทพ วงษ์เพชร เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและบริเวณภาคกลาง ในปัจจุบัน (โดยได้รับการสนับสนุนจาก วช. จากงบประมาณงบการบริหารทุนโครงการวิจัย Co-Run Co-Run ในแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการจัดการน้ำ ปีที่ ๒ ที่มีรศ ดร สุจริต คูณธนกุลวงศ์เป็นประธานแผนงานฯ) เริ่มตั้งแต่งานวิจัยการคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 2 สัปดาห์ และ 3 เดือน เพื่อนำไปสู่แบบจำลองการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่า โดยประยุกต์ใช้การพยากรณ์ฝนดังกล่าวกับแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า DWCM-AgWU เพื่อเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการน้ำในช่วงวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้น และช่วยในคาดการณ์ปริมาณน้ำท่ารายวันล่วงหน้า 7 วัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงเวลานี้
จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำท่าล่วงหน้า 7 วัน ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผลปรากฏว่า ข้อมูลฝนที่พยากรณ์ภายใต้แผนงานรวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ มีผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับข้อมูลปริมาณน้ำท่าตรวจวัด ปริมาณฝนปีนี้ และน้ำท่าเฉลี่ยน้อยกว่าปี 2554 ปริมาณน้ำท่าที่ไหลสู่เขื่อนเจ้าพระยามีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับปริมาณน้ำท่าที่สถานีตรวจวัดน้ำท่า C.2 (นครสวรรค์) ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล จำเป็นต้องมีการอัพเดตข้อมูลทุกวันเนื่องจากช่วงเวลานี้ อาจมีความแปรปรวนของปริมาณฝน ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำท่าที่ค่อนข้างมาก
ที่มา: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ