สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพเผยประชากรกว่า 750 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการขาดสารอาหาร โดยคาดว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครน และภาวะเงินเฟ้อจะทำให้วิกฤตินี้ย่ำแย่ลง

20 Oct 2022
สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) เปิดเผยรายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศ (Ecological Threat Report หรือ ETR) ประจำปี ครอบคลุมงานวิจัยฉบับพิเศษจากโพลความเสี่ยงโลก (World Risk Poll) ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิลอยด์ส รีจิสเตอร์ (Lloyd's Register Foundation)การค้นพบที่สำคัญภัยคุกคามทางระบบนิเวศ เช่น การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงด้านแหล่งน้ำ และความไม่มั่นคงด้านอาหารจะรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่และความขัดแย้ง56% ของ 228 ประเทศและเขตแดนภายใต้การประเมินในรายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศ กำลังเผชิญกับภัยคุกคามเชิงนิเวศวิทยาที่รุนแรง40 ประเทศที่สงบสุขน้อยที่สุดในโลกจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านคนภายในปี 2593 คิดเป็น 49% ของประชากรโลกจากประมาณการถึงปี 2593 แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ในแถบแอฟริกาใต้สะฮาราส่วนใหญ่จะไม่ยั่งยืน และการเติบโตของประชากรจะอยู่ที่ 95% ขณะที่ผู้คนจำนวนกว่า 738 ล้านคนในปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร และทุกประเทศยกเว้นเพียงประเทศเดียวต้องเผชิญกับความวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในปี 2564 เกือบ 92% ของผู้ประสบปัญหาขาดสารอาหารทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีสันติภาพต่ำถึงต่ำมากตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกลดลง 1.5% พลเมืองของสามในสี่ของประเทศที่สร้างมลพิษมากที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย และรัสเซีย มีความกังวลในระดับต่ำมลพิษทางอากาศทำให้โลกเสียหายถึง 8.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 6.1% ของจีดีพีโลก คร่าชีวิตผู้คนราว 6-9 ล้านคนในแต่ละปี รายงานฉบับนี้จะวิเคราะห์ภัยคุกคามทางระบบนิเวศเพื่อประเมินว่าประเทศใดมีความเสี่ยงมากที่สุดจากวิกฤติความขัดแย้ง ความไม่สงบ และการพลัดถิ่นที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ รายงานตอกย้ำให้เห็นว่า ระดับความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศในปัจจุบันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากไม่รวมพลังกัน ทำให้ความขัดแย้งที่มีอยู่บานปลาย และกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ และเป็นแรงบังคับให้เกิดการย้ายถิ่นมากขึ้นรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงทางระบบนิเวศ ความยืดหยุ่นทางสังคม และความสงบสุขสำหรับประเทศและเขตแดนรวม 228 แห่ง เขตการปกครอง 3,638 แห่งและเมือง 250 แห่ง โดยประเมินความสามารถในการจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ในปัจจุบันจนถึงปี 2593 นอกจากนี้ยังเน้นให้เห็นถึง "ประเทศโซนสีแดง" จำนวน 27 แห่ง(1) ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ราว 768 ล้านคน และกำลังเผชิญกับภัยคุกคามทางระบบนิเวศที่เลวร้ายที่สุด และมีความยืดหยุ่นทางสังคมต่ำที่สุด โดยกว่า 23 ประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศ ตั้งอยู่ในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราและภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือปัญหาการขาดแคลนอาหารปัจจุบัน 41 ประเทศกำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปรองดองในสังคม โดยมีประชากรทั้งสิ้น 830 ล้านคนที่ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงนี้ ซึ่งกว่า 89% อาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้สะฮารา และอีก 49 ล้านคนในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างรุนแรงบ่งบอกถึงสถานะที่บุคคลปราศจากซึ่งเสบียงอาหารสำหรับการบริโภค ส่งผลให้สุขภาพ โภชนาการ และสวัสดิภาพของพวกเขาอยู่ในภาวะเสี่ยงรุนแรงจำนวนผู้ขาดสารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยเพิ่มขึ้นกว่า 35% ในปี 2564 อยู่ที่ราว 750 ล้านคน การขาดสารอาหาร ซึ่งเกิดจากการบริโภคอาหารตามปกติแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้สุขภาพดีในทางการแพทย์ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยในปี 2564 เกือบ 92% ของผู้คนที่ขาดสารอาหารทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีระดับสันติภาพต่ำถึงต่ำมากปัญหาความขัดแย้งและการขาดแคลนน้ำความไม่มั่นคงด้านอาหารเกี่ยวข้องกับการขาดแคลนน้ำโดยตรง การขาดแคลนน้ำหมายถึงสถานการณ์ที่ "ประชากรมากกว่า 20% ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้" นั่นหมายความว่า หากไม่สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเพียงพอ ประชากรเหล่านี้ก็ไม่สามารถจัดหาอาหารให้เพียงพอได้ ผู้คนมากกว่า 1.4 พันล้านคนใน 83 ประเทศต่างเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง โดยคาดว่าหลายประเทศในยุโรปจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในปี 2583 ไม่ว่าจะเป็นกรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกสประเทศที่คาดว่าจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมากขึ้นระหว่างปัจจุบันถึงปี 2593 ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราและภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ปัจจุบัน ทุกประเทศยกเว้นเพียงประเทศเดียวในแถบแอฟริกาใต้สะฮาราต่างเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงเมืองขนาดใหญ่: มลภาวะและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นโลกในปัจจุบันประกอบด้วยเมืองใหญ่ 33 แห่ง (2) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มเป็น 47 แห่งภายในปี 2593 เมืองขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มจะเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงที่สุดได้แก่กินชาซา ไนโรบี และลากอส เมืองขนาดใหญ่กว่า 60% อยู่ในประเทศที่มีสันติภาพต่ำ เมืองเหล่านี้มีอัตราการเติบโตของประชากรสูงสุด สุขาภิบาลที่แย่ที่สุด ระดับของอาชญากรรมย่อยและกลุ่มอาชญากรที่สูงกว่า และมลพิษทางอากาศที่แพร่ขยายได้ไกล อย่างไรก็ตาม กลับขาดซึ่งความสามารถทางการเงินและการกำกับดูแลในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างเพียงพอ เมืองที่ต้องเผชิญกับความท้าทายที่สุดมีการเติบโตของประชากรสูงสุด ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคงและไม่ยั่งยืนมลพิษทางอากาศได้สร้างความเสียหายให้โลกคิดเป็นมูลค่ากว่า 8.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 6.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก และคร่าชีวิตผู้คนราว 6-9 ล้านคน ปัจจุบันมีเมือง 9 แห่งที่มีระดับมลพิษทางอากาศมากกว่า 20 เท่าของระดับสูงสุดที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก ซึ่งรวมถึงลาฮอร์ คาบูล และอัคราทั้งนี้ คาดว่า 40 ประเทศที่มีระดับสันติภาพต่ำที่สุดจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านคน คิดเป็น 49% ของประชากรโลก ประเทศที่เผชิญกับภัยคุกคามทางระบบนิเวศที่เลวร้ายที่สุดจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยคาดว่าประชากรในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราจะเพิ่มขึ้นถึง 95%สตีฟ คิลเลเลีย ( Steve Killelea) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ กล่าวว่า"ในขณะที่เราเข้าใกล้การประชุม COP27 เข้ามาทุกขณะ รายงานฉบับนี้เป็นเครื่องเตือนใจในเวลาที่เหมาะสมว่าความท้าทายทางระบบนิเวศที่มีอยู่จำนวนมากจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แนวทางปัจจุบันของโลกสำหรับประเทศที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุดในปัจจุบันนั้นใช้ไม่ได้ผล ภัยคุกคามทางระบบนิเวศกำลังเพิ่มขึ้นและมีสาเหตุเชิงระบบที่ต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบรัฐบาลและหน่วยงานระหว่างประเทศต้องลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในระยะยาว เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายระบบนิเวศ การบังคับย้ายถิ่น และความขัดแย้งในอนาคต สงครามรัสเซีย-ยูเครนตอกย้ำถึงผลกระทบของความขัดแย้งต่อการบังคับอพยพ โดยขณะนี้ชาวยูเครนกว่า 12-14 ล้านคนต้องอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โครงการพัฒนาควรมุ่งเน้นไปที่วิสาหกิจขนาดเล็กที่กักเก็บน้ำ ปรับปรุงการเกษตร และการผลิตให้มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งหมดนี้จะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนที่ทุกข์ทรมานมากที่สุด "ความกังวลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศนับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โลกเริ่มมีความวิตกกังวลน้อยลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยลดลงกว่า 1.5% ลงไปอยู่ที่ 48.7%(3) ขณะที่ภูมิภาคที่เผชิญกับภัยคุกคามทางระบบนิเวศในระดับสูงสุดมักมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยประเทศในพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮาราและเอเชียใต้ต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับสงคราม การก่อการร้าย อาชญากรรม ความรุนแรง และการดำรงชีวิตมากกว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศลดลงมากที่สุด โดยลดลงเกือบหนึ่งในสี่ระหว่างปี 2562 ถึง 2564 เหลือ 49.4% ขณะที่ 13 ประเทศในยุโรปต่างแสดงความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบลเยียม ประชากรของทั้งสิงคโปร์และเบลเยียมมีแนวโน้มที่จะกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนและสุขภาพมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุดในโลก มีเพียง 20% ของพลเมืองที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาร้ายแรง โดยลดลง 3% นับตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนที่ต่ำที่สุดในโลก ขณะที่อินเดียซึ่งผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามต่างก็ทำคะแนนได้ไม่ดีนักที่ 39% แต่เพิ่มขึ้น 3.7% และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แสดงความกังวลมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อย อยู่ที่ 51.5%ภัยธรรมชาติและการย้ายถิ่นฐานผลกระทบของภัยธรรมชาติขึ้นอยู่กับระดับความยืดหยุ่นของประเทศ เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภัยธรรมชาติ รองลงมาคือแอฟริกาใต้สะฮารา อเมริกากลาง และแคริบเบียน อุทกภัยเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้น 5,079 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2524 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอยู่ที่ 2 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งสูงกว่าช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงสี่เท่าเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นบ่อยครั้ง ชุมชนต่าง ๆ จะต้องดิ้นรนเพื่อฟื้นฟูก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติครั้งต่อไป สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การบังคับอพยพย้ายถิ่น ประเทศปลายทางในสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมนี สวีเดน ออสเตรีย และกรีซ ได้เปิดรับผู้ลี้ภัยมากกว่าหนึ่งล้านคนแล้วในปี 2564ในปี 2564 ประเทศที่มีการพลัดถิ่นภายในมากที่สุดจากเหตุความขัดแย้งและภัยธรรมชาติ ได้แก่ ซีเรีย เอธิโอเปีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อัฟกานิสถาน และซูดานใต้เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ economicsandpeace.org และ visionofhumanity.orgหมายเหตุถึงบรรณาธิการ(1) "ประเทศโซนสีแดง" ในรายงาน ETR ประจำปี 2565 ได้แก่1. บุรุนดี2. สาธารณรัฐแอฟริกากลาง3. ชาด4. สาธารณรัฐคองโก5. โซมาเลีย6. ซูดานใต้7. ยูกันดา8. เยเมน9. อัฟกานิสถาน10. แองโกลา11. แคเมอรูน12. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก13. อิเควทอเรียลกินี14. เอริเทรีย15. กินี16. กินี-บิสเซา17. เฮติ18. อิรัก19. ไนจีเรีย20. ซีเรีย21. ซิมบับเว22. ลิเบีย23. มาลี24. มอริเตเนีย25. ซูดาน26. ทาจิกิสถาน27. เวเนซุเอลา( 2) เมืองขนาดใหญ่คือเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน( 3) โพลความเสี่ยงโลก (World Risk Poll) ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิลอยด์ส รีจิสเตอร์ (Lloyd's Register Foundation) เป็นการศึกษาระดับโลกครั้งแรกเกี่ยวกับการรับรู้และประสบการณ์ด้านความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้คน ผลการค้นพบจากโพลความเสี่ยงโลกเมื่อปี 2564 มาจากการสัมภาษณ์กว่า 125,000 ครั้งโดยแกลลัพ (Gallup) ใน 121 ประเทศ รายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศได้นำข้อมูลพิเศษจากโพลนี้มาใช้ ซึ่งเป็นคำตอบสำหรับคำถาม "คุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผู้คนในประเทศนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าหรือไม่"เกี่ยวกับรายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศรายงานภัยคุกคามทางระบบนิเวศฉบับที่สาม เป็นการสำรวจดินแดนและรัฐเอกราช 228 แห่งทั่วโลก รายงานฉบับนี้ผนวกการวัดความยืดหยุ่นกับข้อมูลทางระบบนิเวศที่ครอบคลุมที่สุด เพื่อระบุประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะรับมือกับผลกระทบทางระบบนิเวศอันรุนแรงได้น้อยที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต

วีธีการจัดทำรายงานรายงาน ETR ประกอบด้วยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ล่าสุดและได้รับการยอมรับมากที่สุดทั้งในส่วนของการเติบโตของประชากร ความตึงเครียดเรื่องน้ำ ความไม่มั่นคงทางอาหาร ภัยแล้ง อุทกภัย พายุไซโคลน และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ รายงานยังใช้ Positive Peace Framework ของ IEP ในการระบุประเทศที่มีความยืดหยุ่นไม่มากพอที่จะปรับตัวหรือรับมือกับผลกระทบเหล่านี้ในอนาคต รายงานนี้รวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ได้แก่ ธนาคารโลก สถาบันทรัพยากรโลก องค์การอาหารและการเกษตร สหประชาชาติ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ศูนย์เฝ้าติดตามการผลัดถิ่นภายใน คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน และสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพเกี่ยวกับสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) คือหน่วยงานมันสมองอิสระระดับโลกที่อุทิศตนให้กับการเปลี่ยนมุมมองที่โลกมีต่อสันติภาพ ในฐานะมาตรการเชิงบวกที่เป็นรูปธรรมและทำได้จริงเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ทางสถาบันมีสำนักงานในซิดนีย์ บรัสเซลส์ นิวยอร์ก เฮก เม็กซิโกซิตี้ และฮาราเร