มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) เปิดตัวแผนวิจัยและพัฒนาร่วมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนีย โดยใช้กังหันก๊าซในประเทศอินโดนีเซีย

02 Nov 2022

มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (Mitsubishi Heavy Industries, Ltd.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (Institut Teknologi Bandung) จากประเทศอินโดนีเซียเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาร่วมในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแอมโมเนียผ่านกังหันก๊าซ ซึ่งทั้งสองได้ร่วมมือกันมาก่อนหน้านี้แล้วในการวิจัยร่วมระบบการผลิตพลังงานสะอาดหลายชนิด เพื่อผลักดันให้ประเทศอินโดนีเซียก้าวสู่การเป็นประเทศที่ไม่ก่อคาร์บอนภายใต้แผนงานอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยใหม่นี้จะเป็นการนำประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฏิกรณ์เคมีของสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ในการปรับปรุงระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าผ่านเชื้อเพลิงจากแอมโมเนีย หลังการทดสอบสาธิตกับกังหันก๊าซ H-25 ของ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) ทีมงานด้านการวิจัยและพัฒนา จะร่วมกันพัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแอมโมเนียให้สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ในประเทศอินโดนีเซีย

มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) เปิดตัวแผนวิจัยและพัฒนาร่วมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนีย โดยใช้กังหันก๊าซในประเทศอินโดนีเซีย

ซึ่งในปี 2565 ทั้งสองฝ่ายได้ทำการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในการสนับสนุนเพื่อการวิจัยระบบการผลิตพลังงานสะอาด แบบใหม่และเพื่อวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลที่มีทั้งหมด (Big Data) เกี่ยวกับโรงไฟฟ้า โดยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ปี 2565 ทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงเพื่อขยายกรอบบันทึกความร่วมมือ (MOU) ออกไปเป็นห้าปี เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีในการผลักดันแผนการลดการก่อคาร์บอนของอินโดนีเซีย ภายใต้ข้อตกลงเดียวกันนี้ จะมีการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานจากเชื้อเพลิงแอมโมเนีย โดยใช้ส่วนปฏิบัติการของสถาบันฯ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญสามประการ ได้แก่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและบุคลากรกับกลุ่มนักวิชาการและทีมงานวิจัยของสถาบันฯ และเพื่อผลักดันการปรับใช้แนวทางการผลิตพลังงานสะอาดในประเทศอินโดนีเซีย

พิธีลงนามข้อตกลงใหม่นี้จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ระหว่างงาน 2nd Asia Green Growth Partnership Misnisterial Meeting (AGGPM) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น (METI) Prof. I Gede Wenten รองอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดของตนเกี่ยวกับความร่วมมือในครั้งล่าสุดนี้ว่า "การปรับเปลี่ยนแนวทางด้านพลังงานนี้จะมีบทบาทสำคัญในการลดการก่อก๊าซเรือนกระจกสู่โลก และในระยะยาวจะช่วยในการลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การประสานงานด้านการวิจัยในครั้งนี้ระหว่างทั้งสองฝ่าย จะมุ่งเน้นไปที่การใช้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแอมโมเนีย เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหินในระยะยาว การผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนียคาดว่าจะมีการนำแอมโมเนียมาใช้ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นผ่านพลังงานหมุนเวียน เรามุ่งหวังว่าความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อแผนความร่วมมือเพื่อผลักดันไปสู่การผลิตพลังงานอย่างยั่งยืน"

Mr. Junichiro Masada เจ้าหน้าที่อาวุโสและผู้จัดการทั่วไปอาวุโสฝ่าย Energy Transition ของ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) กล่าวถึงความตั้งใจที่มีเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า "การผนวกขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีในเชิงลึกของบริษัทฯ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ร่วมกับความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งและชำนาญเป็นพิเศษ และความรู้ความเข้าใจจากสถานการณ์จริงในประเทศอินโดนีเซียของสถาบันฯ จะทำให้ผมมั่นใจได้ว่านวัตกรรมจากการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดนี้จะเกิดขึ้นได้จริง ผ่านการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะนำไปสู่วิถีแนวคิดรูปแบบใหม่ ๆ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานของประเทศอินโดนีเซียในอนาคต"

ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ในปี 2565 ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการก่อคาร์บอนในภาคพลังงานของประเทศอินโดนีเซียระหว่าง มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้สร้างผู้เชี่ยวชาญอย่างมากมายในหลายวงการทั้งในภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคการเงินของประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกันในด้านต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะเกี่ยวกับแหล่งพลังงานใหม่ ๆ อาทิ ไฮโดรเจน และแอมโมเนียเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศ (AQCS) และระบบไมโครกริดอีกด้วย เพื่อฝึกสอนวิศวกรที่จะมีบทบาทในการผลักดันอนาคตของประเทศอินโดนีเซียต่อไป มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) จึงได้จัดหลักสูตรการสอนร่วมกันเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีทั้งหมด (Big Data) ไปจนถึงพลังงานชีวมวล การเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (IGCC) การใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจน และการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศ (AQCS)

บันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ลงนามร่วมกันครั้งใหม่นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศอินโดนีเซียมีแผนที่จะลดการก่อคาร์บอนในภาคพลังงาน หลังจากที่มีการประกาศปณิธานอย่างเป็นทางการในการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 23% ภายในปี 2568 และกำหนดเป้าหมายในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศให้ได้ 29% ภายในปี 2573 ภายในอนาคต ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท มิตซูบิชิ พาวเวอร์ (Mitsubishi Power) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงาน มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) จึงมีแผนที่จะมีส่วนร่วมด้านการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอินโดนีเซีย และในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไปพร้อม ๆ กับการปกป้องสิ่งแวดล้อม