'เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป' คว้ารางวัลต่อเนื่อง ตอกย้ำผู้นำให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซครบวงจรและโซลูชั่นซอฟต์แวร์

07 Nov 2022

"เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป" คว้ารางวัลอย่างต่อเนื่องจาก Shopee และ Lazada ตอกย้ำผู้นำการให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียนและผู้ให้บริการโซลูชั่นซอฟต์แวร์แก่แบรนด์ชั้นนำของโลก รวมถึงได้รับการยอมรับให้เป็น 1 ใน 10 บริษัทยักษ์ใหญ่เกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่จะสร้างผลกระทบอย่างยั่งยืนต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า

'เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป' คว้ารางวัลต่อเนื่อง ตอกย้ำผู้นำให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซครบวงจรและโซลูชั่นซอฟต์แวร์

นายวีระพงษ์ (พอล) ศรีวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce Enabler) ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้รับการรับรองระดับพรีเมียมภายใต้โปรแกรม Shopee Certified Enabler Program ในไตรมาส 3/2565 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สี่ แสดงถึงการเป็นที่ยอมรับด้านความเป็นเลิศในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การเติบโตของแบรนด์ ความสำเร็จของลูกค้า การดำเนินงานในคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติตามคำสั่งซื้อ การดำเนินงานให้แก่ร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ หลังจากในเดือนกันยายน 2565

บริษัทฯ เพิ่งได้รับรางวัล Best Performing Enabler ภายในงาน Shopee Brand Conference 2022 จาก Shopee ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร ที่มีการเติบโตของแบรนด์ลูกค้าอย่างโดดเด่นบนแพลตฟอร์ม Shopee และสามารถรักษามาตรฐานไว้ในระดับสูง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้รับการยอมรับเป็นผู้ให้บริการระดับ 3 ดาว ภายใต้โปรแกรมที่ผ่านการรับรองจาก Lazada ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดที่แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสมอบให้แก่ผู้ให้บริการสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และนับเป็นการได้รับรางวัลดังกล่าวเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันจาก Lazada แสดงถึงการเป็นที่ยอมรับในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ อาทิ การจัดส่งตรงต่อเวลา, การตอบโต้แชทอย่างรวดเร็ว, การได้รับคะแนนด้านข้อมูลเนื้อหาในระดับสูงและด้านการขายในระดับยอดเยี่ยม ฯลฯ

นอกจากนี้ ในรายงานล่าสุดของ KPMG บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของโลก และ HSBC ธนาคารชั้นนำ ได้ให้การยอมรับ บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป เป็น 1 ใน 10 บริษัทยักษ์ใหญ่เกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยรายงานดังกล่าวได้ศึกษาบริษัทสตาร์ตอัพที่เน้นด้านเทคโนโลยีทั้งหมด 6,471 ราย ใน 12 ตลาดหลัก ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน และไทย ซึ่งมีมูลค่ารวมกันถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมระบุว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นใหม่ จะสร้างผลกระทบอย่างยั่งยืนต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า จากการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจและการมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชน รวมถึงมีปัจจัย 2 ประการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ การขยายตัวของเศรษฐกิจในเอเชียเนื่องจากรายได้เฉลี่ยของประชากรที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เพิ่มขึ้นด้วยการสนับสนุนจากเทคโนโลยีดิจิทัล

"เรามีความภูมิใจที่ได้รับรางวัลและการยอมรับจากพันธมิตร ซึ่งมาจากความร่วมมือของทีมงานทุกคน โดยบริษัทฯ จะมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน เพื่อสร้างประโยชน์แก่ลูกค้า คู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ" นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ร่วมก่อตั้ง บมจ.เอคอมเมิร์ซ กรุ๊ป กล่าวว่า ความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของบริษัทในปีนี้คือการลงนามความร่วมมือกับ Shopify แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติจากแคนาดา โดย Shopify เป็นแพลตฟอร์มที่ให้แบรนด์ได้เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ได้ด้วยตนเองและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่ โดยมองว่าการที่แบรนด์มีร้านค้าออนไลน์ของตนเองผ่านเว็บไซต์ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และยังช่วยให้แบรนด์สามารถจัดการวิธีการขายและทำการตลาดสินค้าได้อย่างคล่องตัว ส่วนแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสซึ่งเป็นตลาดกลางสำหรับขายสินค้าออนไลน์ถือเป็นช่องทางขายที่สำคัญ เนื่องจากมีผู้บริโภคเข้าชมเป็นจำนวนมากและช่วยให้แบรนด์ขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น ดังนั้นทั้ง 2 ส่วนจึงไม่สามารถแยกจากกันได้

ขณะที่ผู้ชมในแต่ละแพลตฟอร์มมีความแตกต่างกัน แบรนด์สินค้าจึงต้องค้นหาวิธีการทำตลาดที่ดีที่สุดในแต่ละแพลตฟอร์ม นอกจากนี้การไม่มีช่องทางขายสินค้าตรงถึงผู้บริโภค หรือ D2C (Direct to Consumer) เป็นของตนเอง ทางแบรนด์มีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าที่สูงกว่าค่าใช้จ่ายในการสร้างเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายสินค้าโดยตรงแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องรักษาความแข็งแกร่งทางธุรกิจเอาไว้

"สิ่งสำคัญของช่องทางขายแบบ D2C คือช่วยให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ซื้อสินค้าที่ดีขึ้น และเปิดโอกาสในการนำเสนอรูปแบบการขายสินค้าใหม่ๆ เช่น การสมัครสมาชิก, การซื้อเป็นกลุ่ม, การขายสินค้าผ่านหลากหลายช่องทาง
เป็นต้น" นายวีระพงษ์ (พอล) กล่าว