PathSense นวัตกรรม AI เพื่อผู้พิการทางสายตาจากนักศึกษา CMKL คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน AIS Jump Hackathon 2025

04 Apr 2025

ทีมนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากหลักสูตร วศ.บ. วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์ (Artificial Intelligence & Computer Engineering - AiCE) มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) พัฒนา PathSense อุปกรณ์นำทงานอัจฉริยะสำหรับผู้พิการทางสายตาเพื่ออยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาในการดำรงชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อผู้พิการทางสายตา

PathSense นวัตกรรม AI เพื่อผู้พิการทางสายตาจากนักศึกษา CMKL คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน AIS Jump Hackathon 2025

สมาชิกของทีม PathSense ประกอบด้วย จิรา พิทักษ์วงศ์ สิริชาดา วัฒนาศิริธนวงษ์ ชวิน เหลืองธำรงเจริญ ณฐนน ปราโจโก และภคิน ธรรมศิริมงคล โดยโครงการนี้เริ่มต้นจากกิจกรรมวิจัยและพัฒนา (Undergraduate R&D) อันเป็นแก่นหลักของหลักสูตร AiCE ที่ผลักดันให้นักศึกษาในทุกระดับชั้นร่วมมือกันคิดค้นโครงการที่จะนำเทคโนโลยี AI ไปใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตจริง

จิรา พิทักษ์วงศ์ ตัวแทนนักศึกษาจากทีมพัฒนาระบบ กล่าวถึง PathSense ว่า ในการใช้งานนั้น เราจะติดตั้งกล้องไว้ที่กระเป๋า โดยกล้องจะจับภาพสภาพแวดล้อมรอบตัว จากนั้น AI จะประมวลผลข้อมูลเพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง และส่งคำอธิบายเสียงแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชันมือถือที่เชื่อมต่อ โครงการนี้มุ่งเน้นการเข้าเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงในราคาต่ำ โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการทางสายตาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

สิริชาดา วัฒนาศิริธนวงษ์ ตัวแทนนักศึกษาอีกรายหนึ่งกล่าวเสริมว่า PathSense ถือเป็นโซลูชันที่มีราคาถูกที่สุดในตลาด โดยเป้าหมายของเราคือการลดต้นทุนและมุ่งพัฒนาฟีเจอร์ให้ดียิ่งขึ้น เราวางแผนที่จะผสานการโต้ตอบด้วยเสียงที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติและใช้งานง่าย

นอกจากการพัฒนาทางเทคนิคแล้ว นักศึกษายังชื่นชมบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย CMKL อีกด้วย

"โดยโครงการ PathSense ของเรามีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ผศ. ดร. พนารัตน์ เชิญถนอมวงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตร AiCE และรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ ท่านมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางโครงการ อาจารย์ไม่เพียงแต่ให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับต้นแบบ แต่ยังช่วยเชื่อมโยงเรากับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้เราเข้าใจทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริหารธุรกิจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น" ชวิน เหลืองธำรงเจริญ และ ณฐนน ปราโจโก กล่าวเพิ่มเติม

หลักสูตร AiCE เป็นหลักสูตรที่มีความแตกต่างจากโครงสร้างหลักสูตรแบบดั้งเดิม เนื่องจาก AiCE เป็นหลักสูตรแบบฐานสมรรถนะ (competency-based) ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้นักศึกษาสามารถจัดการการเรียนควบคู่ไปกับการสร้างนวัตกรรมได้อย่างสมดุล

"หลังจากเข้าร่วมแข่งขัน AIS Jump Hackathon 2024 นักศึกษามุ่งยกระดับสมรรถนะของ PathSense ด้วยการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการผสานการโต้ตอบด้วยแชทบอท AI เพื่อช่วยเหลือในการสนทนา เราเริ่มต้นโครงการนี้ในฐานะงานวิจัยในปีแรก แต่ตอนนี้เรามองเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นว่า PathSense จะไปถึงจุดไหนในอีกห้าปีข้างหน้า ด้วยการสนับสนุนจาก CMKL เรามีความมั่นใจที่จะสร้างสรรค์และสร้างผลกระทบที่แท้จริงต่อโลก" ภคิน ธรรมศิริมงคล กล่าวทิ้งท้าย

มหาวิทยาลัย CMKL เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University - CMU) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย Top 10 ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) โดยเน้นการศึกษาและการวิจัยด้าน AI และ มุ่งมั่นที่จะสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ และยกระดับความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์ ทั้งยังเสริมความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและทักษะทางธุรกิจ เพื่อให้บัณฑิตมีความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร AiCE จนถึงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2568 ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.cmkl.ac.th/ หมายเลขโทรศัพท์ 065-878-5000

PathSense นวัตกรรม AI เพื่อผู้พิการทางสายตาจากนักศึกษา CMKL คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน AIS Jump Hackathon 2025