รายงานความคืบหน้านโยบายไข่ไก่ปลอดกรง (Cage-Free Tracker Asia Report 2024) ล่าสุดจาก ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล (Sinergia Animal) เผยบริษัทหลายแห่งในเอเชียมีแนวโน้มที่จะไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในการเลิกใช้ไข่ไก่จากกรงตับภายในปี 2568 จากการสำรวจบริษัท 78 แห่งใน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย พบว่า 50 บริษัท มีความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุเป้าหมายที่ให้ไว้ในการหยุดใช้ไข่ไก่จากระบบกรงตับซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่นี้ และปัจจุบันมีการห้ามใช้แล้วในหลายประเทศ
"เอเชียเป็นผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่ที่สุดของโลก แต่แม่ไก่หลายล้านตัวเหล่านั้นถูกขังอยู่ในกรงแคบ ๆ เคลื่อนไหวไม่ได้ กางปีกไม่ได้ และหรือแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้!" "เราขอเรียกร้องให้บริษัทเหล่านี้เปลี่ยนแปลงโดยการเลิกใช้ไข่จากกรงตับ และหันมาใช้ไข่จากระบบปลอดกรงตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ภายในปี 2568" อามอง ปาโครซา (Among Pakrosa) ผู้อำนวยการซิเนอร์เจีย แอนิมอล ประจำประเทศอินโดนีเซีย กล่าว
บริษัทที่ยังไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญา: ธงแดง และ ธงส้ม
จากการสำรวจ ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล แบ่งบริษัทในออกเป็นสองกลุ่ม: ธงแดง คือ บริษัทที่มีนโยบายเปลี่ยนไปใช้ไข่จากระบบปลอดกรงภายในปี 2568 แต่ไม่รายงานความคืบหน้า ธงส้ม คือ บริษัทที่มีรายงานความคืบหน้าในที่อื่นแต่ไม่รายงานในเอเชีย ซึ่งรวมถึงกลุ่มบริษัทชื่อดังหลายแห่งอย่าง โอ บอง แปง (Au Bon Pain), ชาเทรียม (Chatrium), ฟู้ดแพชชั่น (Food Passion), เบสท์ เวสเทิร์น (Best Western) และ ซับเวย์ (Subway)
"เวลาใกล้หมดแล้ว พวกเขาต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยด่วน ผู้บริโภคควรเรียกร้องให้บริษัทเหล่านี้รับผิดชอบโดยทันที" ปาโครซา กล่าว
สัญญาณเชิงบวกจากบางบริษัท
น่าพอใจที่พบว่า 27 จาก 78 บริษัท หรือคิดเป็น 34.61% ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม ได้เปิดเผยรายงานความคืบหน้านโยบายไข่ไก่ปลอดกรง พบว่าในภูมิภาคเอเชีย มี 2 บริษัทสัญชาติเอเชียที่เปลี่ยนมาใช้ไข่ไก่ปลอดกรงอย่างสมบูรณ์แล้ว รวมถึงบริษัทชั้นนำอย่าง บ้านหญิง (Baan Ying Family) ร้านอาหารกัลปพฤกษ์ (Kalpapruek Restaurant) เลมอน ฟาร์ม (Lemon Farm) และ กรุ๊ป เลอ ดัฟฟ์ (Groupe Le Duff) ที่เป็นผู้นำสู่การเปลี่ยนแปลงในไทยและเอเชีย
"ความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกของบริษัทที่มีต่อสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น" ปาโครซา กล่าวเสริม
ผู้ผลิตหันมาเข้าร่วมการเคลื่อนไหวใช้ไข่ไก่ปลอดกรงมากขึ้น
รายงานที่น่าสนใจจากผลสำรวจผู้ผลิตไข่ไก่ในประเทศไทยและอินโดนีเซียจำนวน 50 ราย พบว่าผู้ผลิต 11 ราย หรือคิดเป็น 22% ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบการผลิตไข่ไก่แบบปลอดกรง 100% แล้ว ปาโครซา อธิบายว่า "ข้อมูลที่เรารวบรวมจากการสำรวจนี้จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถหาแหล่งผลิตไข่ไก่ปลอดกรงได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายในการใช้ไข่ไก่ปลอดกรง นอกจากนี้ บริษัทที่ประสบปัญหาในการจัดหาไข่ไก่ปลอดกรง สามารถใช้ระบบ 'อิมแพ็ค อินเซนทีฟ' (Impact Incentive) หรือ 'เครดิตไข่ไก่เคจฟรี' ของ โกลบอล ฟู้ด พาร์ทเนอร์ (Global Food Partners) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการผลิตไข่ไก่ปลอดกรง และและได้รับความไว้วางใจจากบริษัทขนาดใหญ่ เช่น คอมพาส กรุ๊ป (Compass Group) และ ยูนิลีเวอร์ (Unilever)"
แนวโน้มไข่ไก่ปลอดกรงเติบโตอย่างต่อเนื่องในเอเชีย
ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งผู้ผลิตไข่ไก่กว่า 64% ของโลก ซึ่งกำลังทยอยหันมาเลิกใช้ระบบกรงเลี้ยงไก่ไข่ ประเทศภูฏาน จีน อินโดนีเซีย และไทย ได้เริ่มนำมาตรฐานการผลิตไข่ไก่ปลอดกรงมาใช้แล้ว นอกจากนี้ มีบริษัททั่วโลกอีกกว่า 2,600 บริษัท รวมถึง 318 บริษัทในเอเชีย ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่และให้คำมั่นสัญญาที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบการผลิตไข่ไก่ปลอดกรง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.cagefreetracker.com/asia
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit