กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช (ศปภ.) ครั้งที่ 1 / 2568 เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติประเทศไทย

27 Jan 2025

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุมศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช กรมส่งเสริมการเกษตร(ศปภ.) ครั้งที่ 1 / 2568 เพื่อรับทราบสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ปี 2567 และเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตร อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร และผ่านระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom Meeting)

กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช (ศปภ.) ครั้งที่ 1 / 2568 เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติประเทศไทย

โดยมีผู้อำนวยการกอง/สำนักของกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1-6 เกษตรเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

ในส่วนของสสก. 2 รบ. นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี พร้อมผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่ม/หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี

การประชุมมีเนื้อหาประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. สรุปสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ปี 2567

1.1) สรุปผลสถานการณ์ภัยพิบัติ

1.2) อุทกภัย (ช่วงการเกิดภัย เดือนมีนาคม 2567 - ปัจจุบัน)

1.3) วาตภัย (ช่วงการเกิดภัย เดือนมกราคม 2567 - ปัจจุบัน)

1.4) ช้างป่า (ช่วงการเกิดภัย เดือนมกราคม 2567 - ปัจจุบัน)

1.5) ภัยแล้ง (ช่วงการเกิดภัย เดือนมกราคม 2567 - ปัจจุบัน)

1.6) ฝนแล้ง (ช่วงการเกิดภัย ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. 2567 - ปัจจุบัน)

1.7) ศัตรูพืชระบาด (ช่วงการเกิดภัย เดือนมกราคม 2567 - ปัจจุบัน)

1.8) อัคคีภัย-ไฟป่า (ช่วงการเกิดภัย เดือนมกราคม 2567 - ปัจจุบัน)

1.9) ดินโคลนทับถม (ช่วงการเกิดภัย เดือนกรกฎาคม 2567 - ปัจจุบัน)

  1. การให้ความช่วยเหลือเกษตรกผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ได้แก่ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ การสนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มา (ข้อมูล ณ 17 มกราคม 2568)
  2. สถานการณ์เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง สถานการณ์น้ำและสภาพภูมิอากาศ และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
  3. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติ ช่วงฤดูแล้ง
  4. ระบบแผนที่ รายงานสถานการณ์พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านพืช (DOAE Flood Map Online Version 1)
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยแล้ง
  6. การวิเคราะห์กำหนดพืชที่เสี่ยงภัยแล้ง (รายสินค้า) และคาดการณ์สถานการณ์ราคา
  7. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการภัยพิบัติ ช่วงฤดูแล้งและปัญหาอุปสรรค ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช ที่ 1 - 6

และ 9. แผนการประชาสัมพันธ์ ปี 2568 โดยศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช. ที่ 1 - 6

ในการนี้รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำชับให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่ ทำงานเชิงรุกอย่างเต็มที่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติด้านการเกษตรของประเทศไทยต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ภัยพิบัติด้านพืช (ศปภ.) ครั้งที่ 1 / 2568 เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติประเทศไทย