สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย

31 Jul 2024

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ สยามพิวรรธน์ อคาเดมี (Siam Piwat Academy) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโกลบอลเดสติเนชั่น อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ ไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอ้าท์เล็ต กรุงเทพ เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยกับหลักสูตร WORLD CLASS SHOPPING MALL ECOSYSTEM DEVELOPMENT: Managing Urban and Facility for Sustainable Society of the Future เพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศด้านการบริหารศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในธุรกิจการค้าปลีกและยกระดับความสามารถของคนไทยให้พร้อมแข่งขันบนเวทีโลก ตอกย้ำแนวคิดการเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสสำหรับทุกภาคส่วน ผ่านการเรียนรู้หลักการและแนวคิดจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและนานาชาติ สู่การเข้าใจถึงบทบาทของศูนย์การค้ากับเศรษฐกิจและความสัมพันธ์กับเมือง และศึกษาดูงานเบื้องหลังการทำงานจริงจากกรณีศึกษาศูนย์การค้าระดับโลก

สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย

ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และผู้นำในการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน (Facility Management for Sustainability) เพื่อสร้างผลกระทบ (Impact) ด้านการจัดการ ESG ต่อการพัฒนาศูนย์การค้าไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน รวมทั้งให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจถึงการบริหาร Shopping mall ทั้งระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่มีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบุคลากรทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือและตระหนักกับความสำคัญของการจัดการร่วมกัน เนื่องจาก ในปัจจุบัน ศูนย์การค้าไทยติดอันดับหนึ่งในศูนย์การค้าที่ดีที่สุดในโลก เป็นจุดหมายปลายทางที่ถูกปักหมุดให้เป็นสถานที่ที่ต้องมาเยือนสำหรับนักเดินทางจากทั่วโลก ศูนย์การค้าจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของเมือง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วมกับสยามพิวรรธน์ ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำระดับโลก เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน (Facility Management for Sustainability) เพื่อให้ศูนย์การค้าไทยสามารถร่วมสร้างรากฐานเศรษฐกิจและเติบโตไปพร้อมกับเมืองอย่างยั่งยืน

หลักสูตร World Class Shopping Mall Ecosystem Development: Managing Urban and Facility for Sustainable Society of the Future เป็นโครงการอบรมระยะสั้นเฉพาะทาง จัดขึ้นทุกวันเสาร์ ระหว่างวันที่ 14 ก.ย. - 2 พ.ย. 2567 จัดกิจกรรมโดยศูนย์ออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU D4S)

เนื้อหาหลักสูตรออกแบบพิเศษ ภายใต้แนวคิดการบริหารย่านศูนย์การค้า จากตึกสู่ย่าน จากย่านสู่เมือง สร้างความเข้าใจระบบนิเวศธุรกิจการค้า ตั้งแต่การริเริ่มโครงการ รู้ทันเทรนด์พัฒนาธุรกิจศูนย์การค้า วิธีการและแนวทางดำเนินธุรกิจการค้าระดับโลก การออกแบบศูนย์การค้า การบริหารทรัพยากรกายภาพ งานบริหารอาคาร การดูแลรักษาระบบวิศวกรรมอาคาร ตลอดจนการจัดการย่านการค้าอย่างมืออาชีพ หลักสูตรได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น University College London และ Zurich University of Applied Sciences โดยมีคณาจารย์ วิทยากร และผู้นำ ผู้มีประสบการณ์ชั้นนำจากไทยและต่างประเทศ อาทิ Prof. Michel Pitt และ Daniel Von Felten และ ผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญจาก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจศูนย์การค้า นักพัฒนาโครงการ นักพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการอาคาร สถาปนิก วิศวกรประจำอาคาร

โดยการเปิดตัวหลักสูตรครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการศูนย์การค้า และ Community mall ทั่วประเทศ ซึ่งความสำเร็จของโครงการที่คาดว่าจะได้รับนอกจากจะเพื่อพัฒนาบุคลากร ยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพด้านการดำเนินธุรกิจศูนย์การค้าเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากลแล้ว คณะสถาปัตย์จุฬาฯและสยามพิวรรธน์อคาเดมี มีแผนการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันในระยะยาว เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ ผนึกกำลังระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมสู่ความยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีนโยบายในการขับเคลื่อนการเรียนรู้นอกหลักสูตรมากขึ้น เพื่อให้ตอบสนองกับอุตสาหกรรมและความต้องการของตลาดแรงงานในระบบเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับโครงการการจัดอบรมหลักสูตร World Class Shopping Mall Ecosystem Development ร่วมกับสยามพิวรรธน์ อคาเดมี เพื่อมุ่งหวังที่จะยกระดับในเรื่องของการต่อยอดองค์ความรู้ Upskill & Reskill ให้กับคนที่อยู่ในตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมของศูนย์การค้า ที่มีการออกแบบและการจัดการอาคารของสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมากในเมือง โดยเฉพาะการบริหารจัดการศูนย์การค้าในประเทศไทยให้มีการพัฒนาและสามารถอยู่ร่วมกันกับการเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืน มิได้สร้างปัญหาและในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของภูมิภาคของเมืองในระดับย่านให้เกิดการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้นอย่างเข้มแข็ง ดังนั้นการมีคนจำนวนมากอยู่ในศูนย์การค้า บุคลากรที่บริหารศูนย์การค้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในพื้นฐานเรื่องระบบนิเวศศูนย์การค้า (Shopping Mall Ecosystem) ซึ่งหมายรวมถึงบทบาทและความเชื่อมต่อของศูนย์การค้ากับชุมชนและเมือง การออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมของประชาชนและลูกค้า การบริหารจัดการนอกเวลา เวลาปิดเปิด การออกแบบที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน ตลอดจนจิตวิทยาการบริหารงานต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาและให้บริการประชาชนได้อย่างราบรื่น ด้วยการนี้ คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ จึงต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อผลิตคนเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านศูนย์การค้าของประเทศ"

คุณณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า สยามพิวรรธน์ เป็นผู้พัฒนาโครงการระดับโลกที่ได้ยึดมั่นในหลักการทำธุรกิจสู่ความยั่งยืนมาโดยตลอด และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีทีได้ร่วมผนึกกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรในธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทยให้ก้าวไปอีกขั้น โดยการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในสายงานที่เกี่ยวข้องที่จะมาให้องค์ความรู้ต่างๆ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ศูนย์การค้าเพื่อสร้างประสบการณ์จริงเสมือนการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัด สะท้อนถึงการเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการเติบโตที่ดีและมีประสิทธิภาพสำหรับทุกภาคส่วน (Well-growing platform) ของสยามพิวรรธน์อย่างชัดเจน ภายใต้โครงการสยามพิวรรธน์ อคาเดมี (SIAM PIWAT Academy) สถาบันการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่นำองค์ความรู้ด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก แลกเปลี่ยนกับภาคการศึกษาไทย

ส่องไฮไลต์หลักสูตร:

  • ฟังการบรรยายและเสวนาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและต่างประเทศ
  • เยี่ยมชมกรณีศึกษาการบริหารจัดการย่านการค้าระดับโลก
  • ทำ Workshop case studies ภายใต้คำปรึกษาของวิทยากร
  • เพื่อเรียนรู้?การจัดการระบบกายภาพศูนย์การค้าชั้นนำและย่านการค้าระดับ World-Class ในทุกมิติ
  • เรียนรู้ศาสตร์ด้านการออกแบบ และการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและบริหารธุรกิจศูนย์การค้าสมัยใหม่
  • ประสานองค์ความรู้จากภาควิชาการและวิชาชีพ
  • ยกระดับและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพนักบริหารทรัพยากรกายภาพสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
  • แบ่งปันและเรียนรู้นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรกายภาพเตรียมพร้อมต่อความท้าทายในอนาคต
  • ส่งเสริมแนวคิดการบริหารทรัพยากรอย่างมีกลยุทธ์พร้อมสนับสนุนองค์กรและธุรกิจสู่การแข่งขันระดับโลก

โครงการนี้จัดอบรม ทุกวันเสาร์ ในระหว่างวันที่ 14 ก.ย. - 2 พ.ย. 2567 เวลา 9:00 - 16:00 น. จำนวนรวม 8 วัน ระยะเวลา 64 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการอบรม 35,000 บาท/ท่าน สำหรับผู้ที่สนใจเปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 โปรดติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook: CUD4S สอบถามข้อมูลได้ที่ Line OA: @cud4s โทร 02-218-4316 Email: [email protected]

สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย สยามพิวรรธน์ ร่วมกับ สถาปัตย์ จุฬา ฯ เปิดตัวหลักสูตรสร้างผู้นำการบริหารจัดการศูนย์การค้าระดับโลกสู่ความยั่งยืน ครั้งแรกในประเทศไทย