กทม. เผย "ไม่เทรวม" ลดขยะเศษอาหารได้เกินเป้า พร้อมเดินหน้า "บ้านนี้ไม่เทรวม"

08 Aug 2024

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวถึงสถานการณ์ปริมาณขยะในพื้นที่กรุงเทพฯ และแนวทางการบริหารจัดการขยะของ กทม. ว่า แนวโน้มปริมาณมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีปริมาณเฉลี่ย 8,775 ตัน/วัน ลดลงจากปี 2565 ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ย 8,979 ตัน/วัน ทั้งนี้ กทม. มีระบบบริหารจัดการมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมุ่งเน้นการลด คัดแยก การนำกลับมาใช้ประโยชน์ และกำจัดมูลฝอยที่เหลือด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดการคัดแยกมูลฝอย 4 ประเภท ประกอบด้วย มูลฝอยอินทรีย์ นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ หมักทำปุ๋ย หรือทำน้ำขยะหอมและน้ำหมักชีวภาพ มูลฝอยรีไซเคิล แยกขายเพื่อเป็นรายได้ มูลฝอยทั่วไป แยกทิ้งให้กับรถเก็บขนมูลฝอยของ กทม. และมูลฝอยอันตราย รณรงค์ส่งเสริมให้คัดแยกเป็นการเฉพาะ เพื่อไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล ขณะเดียวกัน กทม. ได้ลดขยะเศษอาหาร โดยดำเนินโครงการ "ไม่เทรวม" ตั้งแต่ปี 2565 โดยปัจจุบันภาพรวมของโครงการฯ สามารถลดขยะเศษอาหารได้วันละ 277 ตัน ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายปี 2567 ที่ตั้งไว้ที่วันละ 200 ตัน โดยมีร้านอาหารกว่า 1,059 แห่ง เข้าร่วมโครงการ ซึ่งสำนักงานเขตจัดเก็บและนำไปใช้ประโยชน์ทั้งการหมักทำปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพ และประสานเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงต่อไป

กทม. เผย "ไม่เทรวม" ลดขยะเศษอาหารได้เกินเป้า พร้อมเดินหน้า "บ้านนี้ไม่เทรวม"

นอกจากนั้น กทม. ได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจัดการมูลฝอย อาทิ ชุมชน โดยมุ่งเน้นให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมคิด วางแผน และจัดการมูลฝอยตามบริบทพื้นที่ เช่น แยกขยะอินทรีย์และเศษอาหารทำปุ๋ย หรือน้ำหมักชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและชุมชน ในสถานศึกษาจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์มูลฝอย เช่น ธนาคารขยะ การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะ เป็นต้น ส่วนตลาดสด ร้านอาหาร ภัตตาคาร และห้างสรรพสินค้า รวบรวมเศษอาหาร เศษผักและเปลือกผลไม้ เพื่อให้สำนักงานเขตจัดเก็บและนำไปหมักทำปุ๋ยใช้ประโยชน์ในพื้นที่ หรือส่งโรงงานหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึงได้ดำเนินการกิจกรรม "บ้านนี้ไม่เทรวม" ส่งเสริมการคัดแยก ส่งต่อขยะคืนสู่ระบบ สนับสนุนการหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากขยะโดยไม่ทิ้งรวม ภายใต้แนวคิดของทุกอย่างมีทางไป ร่วมกับเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาชนสามารถเข้าร่วมโครงการไม่เทรวม โดยลงทะเบียนเพื่อให้ กทม. เข้าไปรับขยะผ่านระบบ Traffy Fondue เพื่อจัดสรรเส้นทางและรับขยะจากทุกบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

HTML::image(