'นาโนโค๊ตติ้งเทค' สตาร์ทอัพ สวทช. จับมือ บ. Technopreneur ขยายตลาด ชูผลิตภัณฑ์เรือธง "สารเคลือบนาโนสำหรับโซลาร์เซลล์" หวังโต 300%

09 Aug 2024

ดีพเทคสตาร์ทอัพของ สวทช. ในนาม "นาโนโค๊ตติ้งเทค" เดินหน้าขยายธุรกิจ ลงนามความร่วมมือกับ 2 พันธมิตรธุรกิจอย่าง เมจิโคเนกซ์ และ พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น เพื่อร่วมผลักดันการใช้ประโยชน์น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ในตลาดใหม่ นำร่องใช้งานเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล 3 แห่ง คือ สกลนคร, สมุย และสุราษฎร์ธานี ก่อนขยายสู่โรงพยาบาลทั่วไทย ชูความเข้มแข็งของพันธมิตรธุรกิจ ร่วมผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่ตลาด ตั้งเป้าเติบโต 300% ในปี 2567

'นาโนโค๊ตติ้งเทค' สตาร์ทอัพ สวทช. จับมือ บ. Technopreneur ขยายตลาด ชูผลิตภัณฑ์เรือธง "สารเคลือบนาโนสำหรับโซลาร์เซลล์" หวังโต 300%

ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ นาโนโค๊ตติ้งเทค และนักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า นาโนโค๊ตติ้งเทค เป็นดีปเทคสตาร์ทอัพภายใต้ สวทช. ที่ขยายผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) ของนาโนเทค มาสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีผลิตภัณฑ์เรือธงอย่าง "น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์" นำร่องตลาด

น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์ เป็นนวัตกรรมที่จะแก้ปัญหาซึ่งกลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรม โซลาร์ฟาร์ม รวมถึงผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์กำลังเผชิญ โดยปกติแล้ว ผู้ประกอบการอาจจะแก้ปัญหานี้ด้วยการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมาก รวมถึงต้องใช้บุคลากรที่มีใบประกอบวิชาชีพด้านการทำงานบนที่สูง หากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนที่สูงหรือหลังคา และยังต้องคำนึงถึงความชำนาญในการทำความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงของรอยขีดข่วน และการชำรุดเสียหายของโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าลง ดังนั้นการใช้น้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์ จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยการพัฒนาสารเคลือบที่ทำให้เกิดคุณสมบัติการลดการเกาะของฝุ่นของพื้นผิว และยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ โดยของเหลว น้ำ หรือน้ำมัน ที่ตกกระทบพื้นผิววัสดุที่ผ่านการเคลือบ จะกลิ้งไหลออกจากพื้นผิวและชำระล้างฝุ่นรวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ทิ้งคราบน้ำ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังออกแบบและพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบให้ใช้งานง่ายในรูปแบบสเปรย์ และปาดเคลือบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นผิววัสดุอีกด้วย

แนวโน้มของพลังงานทางเลือก และความต้องการใช้งานโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การตอบรับของนาโนโค๊ตติ้งเทคเป็นไปอย่างดี ดร. ธันยกรเผยว่า ปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตที่ 400% ด้วยลูกค้าทั้งกลุ่ม B2B และ B2C และในปี 2567 นี้ เราก็คาดหวังที่จะโต 300% หนึ่งในแผนฯ ก็คือ พันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งราได้มีความร่วมมือกับบริษัท เมจิโคเนกซ์ จำกัดและบริษัท พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น จำกัดการจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ Technopreneur ที่มีศักยภาพ ได้แก่ บริษัท พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น จำกัด และ บริษัท เมจิโคเนกซ์ จำกัด เพื่อช่วยผลักดันการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมให้แพร่หลายมากขึ้น เครือข่ายพันธมิตร 3 บริษัทจึงตกลงที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขึ้น ในการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์สารเคลือบนาโน โดยจะช่วยผลักดันการจับคู่ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย, ส่งเสริมให้เกิดการใช้งานสารเคลือบนาโนในอุตสาหกรรมบนพื้นผิวที่หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการใช้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สารเคลือบนาโน ให้แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งภายในงาน ได้รับเกียรติจาก ดร. อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ร่วมแสดงความยินดีพร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง การประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมจิโคเนกซ์ จำกัด กล่าวว่า เมจิโคเนกซ์ มีความยินดีที่จะเป็นพันธมิตรร่วมทาง กับบริษัท นาโนโค๊ตติ้ง เทค เพื่อช่วยผลักดันต่อยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสารเคลือบนาโน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. หน่วยงานวิจัยชั้นนำของประเทศ ให้มีการใช้งานในการเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนบริษัท พีพีเอน เฮลท์ อินโนเวชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล

"ในช่วงแรกนี้ เรามีแผนขยายการใช้นวัตกรรมสารเคลือบนาโน สำหรับโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ นำร่องใน 3 แห่ง ได้แก่ สกลนคร, สมุย และสุราษฎร์ธานี ก่อนที่จะขยายสู่จังหวัดอื่นๆ ในขณะเดียวกัน เราคาดหวังความร่วมมือนี้สู่การใช้งานสารเคลือบนาโนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป" ดร. ศิรศักดิ์ย้ำ

HTML::image(