การขนส่งปศุสัตว์คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้การระบาดของไวรัสที่ร้ายแรงอย่างไข้หวัดนกแพร่กระจายได้รวดเร็วขึ้น
การขนส่งปศุสัตว์กลายเป็นประเด็นสำคัญ หลังจากบทความล่าสุดจาก The New York Times ที่ชูประเด็นเรื่องการขนส่งปศุสัตว์ว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของโรคที่มีอัตรา การเสียชีวิตสูง และอาจทำให้เกิดโรคระบาดใหญ่ได้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก Colorado State University, Harvard Law School, University College London และ City University of Hong Kong ออกมาอธิบายให้เห็นถึงความ เชื่อมโยงระหว่างการขนส่งปศุสัตว์และการระบาดของเชื้อ H5N1 ในวัวที่สหรัฐอเมริกา
"การเกษตรสมัยใหม่ในปัจจุบันลดคุณภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ และกระบวนการขนส่งปศุสัตว์ก็มักมีการขังสัตว์ ในพื้นที่ที่แคบและไม่มีการระบายอากาศที่ดี ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค" ชิสากัญญ์ อารีพิพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายการสื่อสาร ของซิเนอร์เจีย แอนนิมอล ประเทศไทย กล่าว
การระบาดของไข้หวัดนกในโคนมที่สหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่เดือนมีนาคม ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีการระบาดของไข้หวัดนก H5N1 ในฟาร์มโคนม 51 แห่งทั่ว 9 รัฐของ สหรัฐอเมริกา และมีคนงานในฟาร์มติดเชื้อไวรัสนี้ด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน การระบาดครั้งนี้มีต้นตอจากการแพร่เชื้อ จากนกป่ามายังวัวในรัฐเท็กซัสเมื่อปีที่ผ่านมา และภายในเวลาไม่นานไวรัสก็ได้แพร่กระจายไปไกลถึงฟาร์มใน ไอดาโฮ นอร์ทแคโรไลนา และมิชิแกน นี่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแพร่กระจายของโรคผ่านการขนส่ง ปศุสัตว์
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามีคนติดเชื้อไวรัส H5N1 กว่า 800 คนในระหว่างปี 2003 ถึง 2024 และมีอัตรา การเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 50 "เราต้องเร่งดำเนินการอย่างจริงจังเรื่องสุขภาพสัตว์และสุขภาพมนุษย์ เพื่อลดการ ระบาดของไวรัสอันตรายอย่าง H5N1 การควบคุมการระบาดไม่ใช่เรื่องที่สามารถจัดการได้ง่าย เราจึงต้องเน้นการ ป้องกันก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ" ชิสากัญญ์กล่าว
ความเสี่ยงของการทำฟาร์มอุตสาหกรรม
การทำฟาร์มอุตสาหกรรมมีกระบวนการผลิตที่ค่อนข้างเป็นลักษณะเฉพาะเช่น การผสมพันธุ์หรือการขุนเลี้ยงก่อนจะ ส่งสัตว์ไปยังที่อื่นๆ และในขั้นตอนการขนส่งสัตว์นี้เองที่เพิ่มความเสี่ยงในการระบาดของโรค จากการศึกษาที่ ดำเนินการโดย USDA นักวิจัยพบว่าร้อยละ 12 ของไก่ที่ถูกฆ่าตายในฟาร์มมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วยจากอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย และหลังจากมีการขนส่งสัตว์แล้ว ตัวเลขก็พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 56
รายงานหลายชิ้นเผยว่าการขนส่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์เป็นอย่างมาก เช่น ระบบภูมิคุ้มที่แย่ลงในวัว ซึ่งทำให้วัวเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น และที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือการระบาดของโรค ในหมู เนื่องจากหมูสามารถติดเชื้อไข้หวัดหลายชนิดได้พร้อมกัน ทำให้ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยน พันธุกรรมและสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้
นอกจากนี้ปศุสัตว์ยังสามารถแพร่เชื้อโรคตามเส้นทางการขนส่งได้ ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อมนุษย์ การศึกษาของ นักวิจัยจาก Johns Hopkins และ Baltimore พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคและสายพันธุ์ที่ดื้อยา ปฏิชีวนะสามารถแพร่จากรถบรรทุกสัตว์ปีกคันหน้าไปยังรถคันหลัง รวมทั้งสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถแพร่เชื้อไปยัง สถานที่ปลายทางได้อีก เช่น ตลาดค้าประมูลสัตว์ ซึ่งมักมีสัตว์แก่ เจ็บป่วย หรือสัตว์ที่ไม่เป็นที่ต้องการอยู่รวมกัน เป็นจำนวนมาก
ในระดับการขนส่งทั่วโลก การค้าหมูระหว่างประเทศมีส่วนทำให้เกิดไวรัสไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดแรกของศตวรรษที่ 21 ที่คร่าชีวิตผู้คนนับแสน การค้าหมูทั่วโลกแบบนี้ยังก่อให้เกิดการแพร่ กระจายของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น Streptococcus suis ที่สามารถส่งผลกระทบต่อหมูและมนุษย์
"ผู้บริโภคควรใส่ใจว่าสัตว์ถูกเลี้ยงและขนส่งอย่างไรค่ะ ไม่เพียงเพราะพวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก และ สามารถทุกข์ทรมานได้ แต่ยังเพราะสุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเขา มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของเราทุกคน โรคติดต่อในสัตว์หลายชนิด เช่น ไข้หวัดนกเป็น 'โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน' และการระบาดอย่างต่อเนื่องในสัตว์ ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะได้รับเชื้อจากสัตว์โดยตรง หรือจากผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกปนเปื้อนและนั่น ทำให้เชื้อมีโอกาสพัฒนามากขึ้นค่ะ" ชิสากัญญ์กล่าว
เรียกร้องให้ปรับปรุงมาตรการควบคุมการขนส่งสัตว์และลดการทำฟาร์มอุตสาหกรรม
แม้เราจะทราบดีว่าการขนส่งเป็นต้นตอสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อโรค แต่ก็ยังไม่มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนออกมา กฎหมายที่ล้าสมัยและการบังคับใช้อย่างไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลกลาง แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูป กฏระเบียบการขนส่งปศุสัตว์ในสหรัฐฯ มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งประเทศในยุโรปก็เป็นตัวอย่างและเป็นผู้นำในการ กำหนดกฎระเบียบที่ดีขึ้น และสร้างมาตรฐานระดับสากลขึ้นมาแล้ว เช่น การบังคับใช้ระบบติดตามปศุสัตว์
ประเทศในกลุ่ม Global South เช่น ประเทศไทย ก็ไม่แตกต่าง เรายังขาดกฎระเบียบที่เข้มงวดและความสามารถ ในการควบคุมและตรวจสอบสภาพการขนส่งปศุสัตว์ "ประเทศไทยควรพิจารณาตั้งกฎระเบียบที่มีมาตรฐานสากลและมีการบังคับใช้อย่างเร่งด่วนค่ะ เช่น ลดระยะเวลาและจำนวนสัตว์สูงสุดในการขนส่งแต่ละครั้ง ปรับปรุงระบบการ บันทึกข้อมูลมีการติดตามที่แม่นยำ เป็นต้น แน่นอนว่าการปฏิรูปกฏหมายเป็นสิ่งจำเป็น แต่เรายังมีปัญหาที่ใหญ่ กว่านั้นรออยู่ โดยภาพรวมฟาร์มอุตสาหกรรมจะยังเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุข และสวัสดิภาพสัตว์ไปตลอด และนั่นยิ่งเน้นให้เห็นถึง ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในโลกให้พึ่งพา โปรตีนจากสัตว์น้อยลง" ชิสากัญญ์กล่าวสรุป
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit