มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ถอดบทเรียน การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เพื่อยกระดับการดำเนินโครงการฯ สู่การจัดทำหลักสูตรแกนกลาง ที่โรงเรียนสามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม นำโดย นายกฤตยรัฐ ปารมี ผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิฯ พร้อมด้วย ดร.สำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการ สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน พ.ต.อ.หญิง ณัชชา เขมะสิงคิ ผกก.ฝอ.7 บก.อก.บช.ตชด. นายวราราชย์ เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ซีพีเอฟ คณะวิทยากรจากสถาบันรามจิตติ และคณะครูอาจารย์จาก 11 โรงเรียนต้นแบบโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ร่วมถอดบทเรียนและพัฒนาหลักสูตร ณ โรงแรม เอเชีย แอร์พอร์ท กรุงเทพมหานคร
นายกฤตยรัฐ ปารมี ผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิฯ เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ดำเนิน "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน" ก้าวเข้าสู่ปีที่ 36 ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ 959 โรงเรียน เพื่อส่งมอบคุณค่าทางโภชนาการอาหาร สร้างแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ แก่เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานทำให้นักเรียนและประชาชน เข้าถึงความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการกว่า 213,000 คน ผลิตไข่ไก่เพื่อบริโภคมากกว่า 26.2 ล้านฟอง ขณะเดียวกัน มูลนิธิฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ จึงมุ่งยกระดับผลลัพธ์การจัดการองค์ความรู้จากโครงการฯ โดยผนึกกำลังกับโรงเรียนภายใต้สังกัด สพฐ. และ บก.ตชด. เพื่อถอดบทเรียน การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนในครั้งนี้ เพื่อเป็นหลักสูตรแกนกลางต้นแบบ โดยทุกโรงเรียนสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามบริบทและความเหมาะสม
ด้าน นายวราราชย์ เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า ด้วยภารกิจของมูลนิธิฯ ที่มุ่งสืบสานงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชน เกษตรกร และผู้สูงวัยในชนบทห่างไกล ตามรอยใต้เบื้องพระยุคลบาทอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ซีพีเอฟ ได้ร่วมกับมูลนิธิฯ ส่งมอบโครงการฯ และส่งบุคลากรเข้าไปติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงไก่ไข่และการจัดการผลผลิต แก่ครูและนักเรียนในโครงการฯ บริษัทพร้อมให้การสนับสนุนโครงการฯนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติได้บริโภคไข่ไก่คุณภาพดีจากฝีมือการดูแลของพวกเขาเองต่อไป และหวังว่าโรงเรียนทุกแห่งจะสามารถบริหารจัดการโครงการฯ สู่ ความสำเร็จอย่างยั่งยืน และเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
การจัดงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบ 11 แห่งจากทั่วประเทศ ที่มีผลการเลี้ยงดี และมีหลักสูตรเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนใช้ในรายวิชา เพื่อมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ทักษะการเลี้ยง ตลอดจนการบริหารจัดการโครงการฯ ร่วมกัน ทำให้เกิดกระบวนการถอดบทเรียน โดยมีวิทยากรจากสถาบันรามจิตติ ร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ผ่านกิจกรรมการค้นหา วิเคราะห์แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ และการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะจากกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่ไข่ ทั้งด้านบริหารจัดการ ด้านการเงิน ด้านอาชีพ สู่การพัฒนาเป็นธุรกิจ และพัฒนาให้เป็นหลักสูตรแกนกลางร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไป ทางด้าน ดร.สำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการ สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร กล่าวว่า สพฐ. ขับเคลื่อนนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ สอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ของมูลนิธิฯ ที่พัฒนาทักษะทั้งด้านโภชนาการ การเป็นผู้ประกอบการ และการบริหารกองทุน และสพฐ. ยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและบุคลากร ร่วมนำองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ ร่วมกัน มาพัฒนาและยกระดับการดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ สู่การจัดทำหลักสูตรแกนกลางสำหรับทุกโรงเรียน ถือเป็นการสร้างสรรค์คุณค่าให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี โดยแนวทางหลักสูตรที่ได้จากการสัมมาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะนำไปประยุกต์ใช้กับทุกโรงเรียนต่อไป
การจัดงานสัมมนาฯ ครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบ 11 แห่งจากทั่วประเทศ ที่มีผลการเลี้ยงดี และมีหลักสูตรเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนใช้ในรายวิชา เพื่อมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ทักษะการเลี้ยง ตลอดจนการบริหารจัดการโครงการฯ ร่วมกัน ทำให้เกิดกระบวนการถอดบทเรียน โดยมีวิทยากรจากสถาบันรามจิตติ ร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ผ่านกิจกรรมการค้นหา วิเคราะห์แนวคิดการเลี้ยงไก่ไข่ และการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะจากกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่ไข่ ทั้งด้านบริหารจัดการ ด้านการเงิน ด้านอาชีพ สู่การพัฒนาเป็นธุรกิจ และพัฒนาให้เป็นหลักสูตรแกนกลางร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
"โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน" เป็นความร่วมมือของ เครือซีพี โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และซีพีเอฟ ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2532 โดยน้อมนำแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตาม "โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน" มาดำเนินการสานต่อ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนถิ่นทุรกันดารและพื้นที่ห่างไกล ได้บริโภคไข่ไก่อย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างโภชนาการที่ดี เติบโตสมวัยทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา นักเรียนและชุมชนได้เรียนรู้ทักษะการเลี้ยงไก่ไข่ การบริหารจัดการธุรกิจเกษตรในฟาร์มขนาดเล็ก และประยุกต์กิจกรรมสู่การเรียนการสอน สามารถบริหารจัดการผลผลิตไข่ไก่จำหน่ายแก่ชุมชน ทำให้ได้บริโภคไข่ไก่สดในราคาที่เหมาะสม สร้างรายได้หมุนเวียน ต่อยอดขยายผล เกิดเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit