ปัจจุบัน กระแสของโลกกำลังมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การประกอบกิจการอย่างสมดุล ทั้งการดูแลสิ่งแวดล้อม (Environmental) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) ตามแนวคิดที่เรียกว่า Environmental, Social, Governance หรือ ESG ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความยั่งยืนเพื่ออนาคตที่ดี
ล่าสุด ไลอ้อน ประเทศไทย ได้รับรางวัลโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ประกอบการโรงงานที่มีมาตรฐาน ประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบ มีการปล่อยของเสียเป็นศูนย์ หรือมีของเสียเกิดน้อยที่สุด มีการใช้วัตถุดิบและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้มาตรฐาน มีการดำเนินกิจกรรมที่น่าเชื่อถือ มีการเกื้อกูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือสังคมโดบรอบ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญและดำเนินกิจการที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ผลักดันสู่มาตรฐานสากลตามแนวทาง Circular Economy
ดร. กิตติวัตร โสมวดี รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อคนไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตลอดระยะเวลา 55 ปี กล่าวว่า ไลอ้อน ประเทศไทย มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางของ ESG เพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผนวกกับการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด Circular Economy
ด้าน Environmental ได้นำแนวทาง BCG Economy มาปรับใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานสะอาด ส่งเสริมนวัตกรรม สร้างความร่วมมือ รักษาระบบนิเวศ โดยมีการบริหารจัดการของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) คิดค้นนวัตกรรมการหมุนเวียนน้ำใช้ในการผลิต ด้วยวิธี Cascade Water Management ทำให้สามารถนำน้ำกลับมาใช้หมุนเวียนในกระบวนการผลิตได้หลายขั้นตอน และยังสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นวัตถุดิบคาร์บอนต่ำได้ และจัดโครงการต้นแบบด้าน BCG Economy โดยร่วมมือกับหลายหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และวิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน ภายใต้ "โครงการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบและแปรรูปสมุนไพรภายในชุมชน" เช่น สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพื้นที่และป่าอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และประเมินเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต ต่อยอดสู่การวิจัยและพัฒนานำสมุนไพรแปรรูปมาใช้เป็นวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้านปากซอลส์ ครีมอาบน้ำโชกุบุสซึ และชมพูฟอลเลส เป็นต้น
ด้าน Social พัฒนาธุรกิจด้วยนโยบาย "เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพในทุกภารกิจ" สร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดี ผ่านโครงการเพื่อสังคม อาทิ โครงการทันตกรรมป้องกัน โครงการ Happy Life & Happy Home ส่งเสริมให้ชุมชนมีสุขอนามัยที่ดี และการให้โอกาสทางการศึกษาโดยจัดทำหลักสูตรอาชีวะศึกษาระบบทวิภาคี หลักสูตร Mechatronic มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จบแล้วมีโอกาสเข้าทำงานต่อในองค์กร หรือสามารถทำงานในสาขาวิชาชีพได้ทันที พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ด้วยกิจกรรม Think better Kaizen คัดเลือกผลงานส่งระดับเครือสหพัฒน์ ส่งเสริมต่อเนื่องถึงระดับประเทศ เช่น Thailand Kaizen Award และระดับภูมิภาคถึงระดับสากล ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม (Promote Equity) มีการพิมพ์อักษรเบลล์บนบรรจุภัณฑ์ สำหรับผู้พิการทางสายตา ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ตามมาตรฐานสากล Iso45001การจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
ด้าน Governance ดำเนินธุรกิจบนฐานของจรรยาบรรณประกอบกิจการที่ดี ภายใต้กรอบธรรมาภิบาล โปร่งใส และเป็นธรรม รวมถึงการได้รับการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติขอภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต ตั้งแต่ปี 2018 จนถึงปัจจุบัน
ทั้งหมดนี้ คือการดำเนินการด้านความยั่งยืนตามแนวทาง ESG เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ซึ่งการดำเนินลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยแนวทางอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฟุ๊ตพริ้นขององค์กร (Carbon Footprint of Organization) ภายใต้ Scope 1,2 และ 3 ได้มากถึง 20% หรือ 68,000 ตันคาร์บอนไดออกโซด์ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้มากกว่า 7 ล้านต้น (ในปี 2022 เทียบกับปี 2021) บริษัทยังได้ทำการประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ของบริษัท (Carbon Footprint of Product) เพื่อเป็นตัวชี้วัดให้เกิดการพัฒนาความร่วมมือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเพื่อให้การตรวจวัดเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก - องค์การมหาชน (อบก.) และได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction: CFR) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานเป็นรายแรกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2014 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจานเข้มข้นไลปอนเอฟ สูตรอนามัย ผลิตภัณฑ์ล้างจานไลปอนกลิ่นชามะนาว และผลิตภัณฑ์ล้างจานโปร และในปัจจุบันยังมีการขยายผลไปอีกหลายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำยาซักผ้าเปาวินวอซ ผงซักฟอกเปาซิลเวอร์นาโน ผงซักฟอกเปาเอ็มวอซ
"ไลอ้อน ประเทศไทย ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิ ลดลง 55 % ในปี 2030 และลดลงเท่ากับศูนย์ในปี 2050 ในขอบเขตที่ 1 และ 2 (Scope1,2) และลดลด 50% ในขอบเขตที่ 3 (Scope3) โดยมีกลยุทธ์ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและ การใช้ Energy Technology ทำงานร่วมกับ Digital Technology ให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด" ดร. กิตติวัตร กล่าว
นางสาวประกาย คุณคุปต์ ผู้จัดการบริหารบริหารคุณภาพและตัวแทนบริหารระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รางวัลที่ได้รับ นับเป็นความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน ประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจภายใต้วัฒนธรรมองค์กรคนดี และยังคงเดินหน้านโยบายการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนภายใต้แนวคิด ESG ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต สู่เป้าหมาย "คาร์บอนต่ำ" เพื่อสร้างการเติบโตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals) ต่อไป
ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกถุง ทุกชิ้น ที่ผลิตโดยโรงงานของไลอ้อน จึงเป็นสินค้าคาร์บอนต่ำ หรือผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของไลอ้อน ก็มีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit