นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เข้าร่วมงานการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค (ภาคกลางและตะวันตก) จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า ร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี และเครือข่ายพันธมิตรจัดการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค (ภาคกลางและตะวันตก) ณ นาเฮียใช้อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทยในรายการ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท โดยการแข่งขันดังกล่าวคือ หนึ่งในกิจกรรมสำคัญของโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ที่มุ่งส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE จาก ดีป้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ยกระดับศักยภาพเกษตรกรไทยให้ก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอภิญญา เอี่ยมอำภา รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยมีดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า และนายบุญทวี ดวงนิราช ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มชุมชน เกษตรกร และประชาชนที่สนใจร่วมงานเป็นจำนวนมาก
การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรในรายการ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหลักในการส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพนักบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และช่างซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรทั่วประเทศ โดยจะเดินสายจัดการแข่งขันใน 5 ภูมิภาค เริ่มจากภาคใต้ ภาคกลางและตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เพื่อคัดเลือกทีมที่ทำเวลาดีที่สุด ถูกต้องที่สุด และครบถ้วนตามภารกิจ เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์ระดับประเทศต่อไป
การแข่งขันรายการ Thailand Agriculture Drone Competition 2024 รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค (ภาคกลางและตะวันตก) ที่นาเฮียใช้ จังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร 112 ทีม และผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร 28 ทีม โดยผลการแข่งขันแบ่งเป็นทีมผู้ชนะการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมบัซซ์ไดรฟ์ รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ ทีมโดรน เอไอ รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีมนกเหล็ก รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท
ทีมผู้ชนะการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม JAE MAN รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ ทีมนกเหล็ก รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีมโดรน เอไอ รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท
พร้อมกันนี้ ทีมแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตรที่มีคะแนนสูงที่สุด 25 อันดับ และทีมซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรที่มีคะแนนสูงสุด 10 อันดับ ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา
สำหรับการแข่งขัน Thailand Agriculture Drone Competition 2024 รอบคัดเลือกใน 5 ภูมิภาคได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีซี่ 2018 จำกัด (NAcDrone) และ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือร่วมส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสการเข้าถึงและพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่กลุ่มชุมชน เกษตรกร และช่างชุมชน เพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ต่อไป
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit