สินเชื่อบ้านทีทีบี แนะทางเลือกประหยัด “ดอกเบี้ยบ้าน” ปิดหนี้บ้านได้ไว มีเงินเหลือใช้

22 Aug 2024

หนึ่งในเรื่องหนักอกของคนผ่อนบ้าน หนีไม่พ้นปัญหาดอกเบี้ยบานปลาย โดยเฉพาะผู้กู้สินเชื่อบ้านที่ผ่อนชำระค่างวดครบ 3 ปีแล้ว ซึ่งจะถูกปรับอัตราดอกเบี้ย มาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งเป็นระยะที่อัตราดอกเบี้ยสามารถปรับขึ้นลงได้ตามประกาศของแต่ละธนาคาร หากดอกเบี้ยอ้างอิงขยับตัวขึ้นจะส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น ยอดผ่อนชำระต่อเดือนถูกตัดเป็นเงินต้นได้น้อยลง อาจทำให้ระยะเวลาผ่อนบ้านยาวนานขึ้น และกระทบต่อการบริหารจัดการการเงินในระยะยาว

สินเชื่อบ้านทีทีบี แนะทางเลือกประหยัด “ดอกเบี้ยบ้าน” ปิดหนี้บ้านได้ไว มีเงินเหลือใช้

ทางเลือกที่ได้รับความนิยมซึ่งผู้กู้ใช้ในการลดภาระดอกเบี้ย คือ รีไฟแนนซ์ (Refinance) และ
รีเทนชัน (Retention) แต่ลูกค้าสินเชื่อบ้านจำนวนไม่น้อย ยังขาดความรู้และความเข้าใจว่าทั้งสองแนวทางมีความแตกต่างกันอย่างไร และทางเลือกไหนจะช่วยปิดหนี้บ้านได้เร็ว ให้ประโยชน์กับผู้กู้แต่ละรายได้สูงสุด สินเชื่อบ้านทีทีบี จึงขอนำเสนอรายละเอียดแต่ละรูปแบบเพื่อให้พิจารณา

เริ่มที่ “รีไฟแนนซ์” (Refinance) คือ การขอยื่นกู้บ้านหรือคอนโดกับธนาคารใหม่ ที่ให้เงื่อนไขในการผ่อนชำระที่ดีกว่าเดิม ซึ่งก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ช่วยให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนของผู้กู้น้อยลงและช่วยให้ปิดหนี้บ้านหมดได้ไวยิ่งขึ้น ผู้กู้บางรายสามารถลดภาระค่างวด มีเงินเหลือใช้จ่ายมากขึ้น หรือสามารถขอวงเงินกู้เพิ่มได้ด้วย โดยการรีไฟแนนซ์จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อขอยื่นกู้ใหม่และมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มเหมือนการทำสัญญาใหม่ และใช้เวลาในการอนุมัติสินเชื่อไม่ต่างจากการยื่นกู้ใหม่ แต่ถือว่าเป็นทางเลือกยอดนิยมในการลดอัตราดอกเบี้ย 

ส่วน “รีเทนชัน” (Retention) คือการยื่นเรื่องขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่กำลังผ่อนอยู่ ไม่ต้องเสียเวลายื่นเอกสารกู้ใหม่ แค่แจ้งธนาคารเดิมว่าขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ ซึ่งผลการอนุมัติจะเร็วกว่าการรีไฟแนนซ์ อย่างไรก็ตาม ถ้าประวัติการผ่อนชำระไม่ดี ก็อาจขอรีเทนชันไม่ผ่านได้ หรือถ้าผ่าน อัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็จะน้อยกว่าคนผ่อนที่มีประวัติดี โดยอัตราดอกเบี้ยของการรีเทนชัน แม้ว่าจะลดลงไปไม่เยอะมาก แต่ก็จะยังต่ำกว่าปีที่ 4 ที่ปรับขึ้นมาแบบลอยตัว

ดังนั้นเมื่อถามว่าระหว่างการ “รีไฟแนนซ์” กับการ “รีเทนชัน” ควรเลือกแบบไหนดีกว่ากัน? คงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ขอสินเชื่อว่าเป็นอย่างไร เช่น หากต้องการผ่อนชำระน้อยลง หรืออยากประหยัดดอกเบี้ยเยอะ ๆ จะได้ปิดบ้านเร็ว ๆ และมีเวลาที่พร้อมจะเตรียมเอกสาร เดินเรื่องกู้กับธนาคารใหม่ รีไฟแนนซ์ถือว่าเป็นช่องทางที่ตอบโจทย์ ส่วนใครที่ไม่อยากวุ่นวายกับการเตรียมเอกสารและสำรองเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เปรียบเทียบกับความคุ้มค่าแล้วไม่ต่างกันมาก เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลงมาในแบบที่รับได้ ก็อาจเลือกใช้วิธีรีเทนชันแทน

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาแหล่งสินเชื่อใหม่สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในทุกมิติ สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ทีทีบี พร้อมตอบโจทย์สำหรับคนมีบ้าน ช่วยให้จ่ายดอกเบี้ยถูกลง และเป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งตอนนี้ทีทีบี มีโปรโมชันดอกเบี้ยพิเศษให้กับคนที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านโดยเฉพาะ

  • ดอกเบี้ยคงที่ปีแรกเพียง 2.25% ต่อปี หรือดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรกเริ่มต้นเพียง 3.39% ต่อปี
  • ฟรี! ค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย
  • ผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปี
  • วงเงินอนุมัติสูงสุด 100% หรือ 50 ล้านบาท

และ หากลูกค้าต้องการวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม เพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือจะใช้รวบหนี้ดอกเบี้ยสูงให้ต่ำลง มาเหลือผ่อนที่เดียวกับทีทีบี ก็สามารถเลือก รีไฟแนนซ์บ้านพร้อมกับขอวงเงินกู้เพิ่มเติม ด้วยสินเชื่อบ้านแลกเงิน ท็อปอัพ และรับข้อเสนอ ดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 3 ปีแรก เพียง 5.45% ต่อปี (จากปกติ 6.18% ต่อปี)

ทีทีบี สนับสนุนให้ผู้กู้สามารถตัดสินใจเลือกแนวทางปรับลดดอกเบี้ยบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อช่วยให้ปิดหนี้บ้านได้ไว เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้เร็วขึ้น และมุ่งส่งเสริมให้ลูกค้าวางแผนใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และผ่อนชำระคืนไหว เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

สนใจสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ทีทีบี ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/link/home-refinance-pr

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว : สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.93% - 5.36%ต่อปี / สินเชื่อบ้านแลกเงิน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 6.57% - 10.23% ต่อปี / อัตราดอกเบี้ย MRR = 7.83% ต่อปี ณ วันที่ 3 ต.ค. 66 / อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ / เงื่อนไขการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit