นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามผลกระทบจากเหตุสารเคมีรั่วไหลในศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม เขตหนองแขม ว่า สนอ.ได้ประสานหัวหน้าศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมและสถานีดับเพลิงและกู้ภัยหนองแขม เพื่อติดตามผลกระทบจากสารเคมีดังกล่าวในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งทางอากาศและแหล่งน้ำ ตลอดจนแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้รับแจ้งว่า เป็นภัยขนาดเล็ก ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมทั้งทางอากาศและแหล่งน้ำ อย่างไรก็ตาม กทม.ได้จัดทำแผนเผชิญเหตุป้องกันสารเคมีรั่วไหลในศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมและศูนย์กำจัดมูลฝอยอื่น ๆ เพื่อป้องกันเหตุอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง
โดยเตรียมความพร้อมมาตรการป้องกันอันตรายและแผนเผชิญเหตุป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ดังนี้ (1) จัดทำแผนป้องกันและบรรเทาภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายระดับ กทม.ระดับเขต (2) จัดอบรมการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมีและวัตถุอันตราย (3) ให้ทุกหน่วยงานและส่วนราชการของ กทม.จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเขตและฝึกซ้อมแผนของหน่วยงาน และ (4) ศูนย์กำจัดมูลฝอย สสล.มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับจัดเก็บขยะอันตราย สารเคมีและวัตถุอันตรายก่อนนำไปบำบัดและกำจัดโดยบริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตบำบัดและกำจัดกากของเสียอันตราย/กากของเสียอุตสาหกรรม โดยก่อนการจัดเก็บสารเคมีอันตรายจะพิสูจน์ทราบสารเคมีก่อนทุกครั้ง และจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีสภาพเสถียรไม่ไวไฟ หน่วยงานมีแผนอัคคีภัย และฝึกซ้อมร่วมกับสถานีดับเพลิงและกู้ภัยท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม.กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม ได้ประสานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กทม.เข้าตรวจสอบขยะสารเคมี ที่สำนักงานเขตจัดเก็บจากการลักลอบทิ้งมานำส่งไว้ที่อาคารจัดเก็บมูลฝอยอันตรายหนองแขม โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ประสาน สปภ.เข้าตรวจสอบคุณลักษณะทางเคมี ความเป็นอันตราย วิธีการจัดเก็บ เก็บกัก และการกำจัดที่ปลอดภัย โดยกรณีดังกล่าวเป็นการตรวจสอบขยะสารเคมีจากการลักลอบทิ้ง ไม่ได้เป็นสารเคมีที่รั่วไหลจากโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยหนองแขมแต่อย่างใด
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ สปภ.พบว่า เป็นสารเคมีมีกลิ่น ประเภทแคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2) UN#1402 บรรจุถังแกลลอนขนาด 20 ลิตร 1 ถัง และถังเขียวประมาณ 20 ลิตร 1 ถัง และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทีมตอบโต้สารเคมี ให้นำถุงสารเคมีแคลเซียมคาร์ไบด์ มาตากให้แห้งในที่โล่งแจ้ง เพื่อลดกลิ่นสารเคมี หลังจากนั้นได้ใช้น้ำพรมเร่งปฏิกริยาระหว่างการทดสอบ ไม่มีการลุกไหม้ ไม่มีเกิดการระเบิด โดยทดสอบจนแน่ใจถึงความปลอดภัย ก่อนจัดเก็บถุงและภาชนะบรรจุสารเคมี เพื่อนำมาเก็บกักระหว่างกระบวนการสืบหาผู้กระทำความผิดลักลอบทิ้ง ทั้งนี้ กทม.มีภารกิจให้บริการจัดเก็บและกำจัดมูลฝอยอันตรายจากชุมชน ไม่รวมถึงมูลฝอยอันตรายจากอุตสาหกรรม เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เจ้าของกิจการต้องส่งของเสียจากกระบวนการผลิตนำไปกำจัดด้วยวิธีเฉพาะที่กฎหมายโรงงานกำหนดไว้
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit