กินเค็ม... เสี่ยงโรคร้าย มากกว่าแค่โรคไต

14 Mar 2024

รสเค็มเป็นรสชาติที่ติดปากคนไทย ซึ่งมาจากสารประกอบโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือที่นำมาใช้ในการทำอาหาร โซเดียมนั้นมีประโยชน์กับร่างกายคือ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของร่างกายเป็นปกติ ความดันและปริมาตรของเลือดเป็นปกติ ปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวัน คือไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (ประมาณ 1 ช้อนชา) แต่หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้

กินเค็ม... เสี่ยงโรคร้าย มากกว่าแค่โรคไต

เมื่อเราทานเกลือก็จะอยากทานน้ำ ทำให้เพิ่มปริมาณเกลือแร่ในเลือด ส่งผลให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ หนักขึ้น ทำให้แรงดันหลอดเลือดสูง อาจเกิดภาวะหัวใจโต นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ และการกินเค็มมากไป ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง นำไปสู่ภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรืออัมพาตได้ ที่น่ากลัวคือ เมื่อโซเดียมมากเกินไปร่างกายอาจไม่แสดงอาการแต่จะทำลายอวัยวะต่างๆ ไปเรื่อยๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีคือสิ่งสำคัญ 

เมื่อรู้แล้วว่าการกินเค็มส่งผลเสียต่อร่างกาย ถึงเวลาที่เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพที่ดี ดังนี้

  • กินอาหารสดจากธรรมชาติ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ อาหารประเภทนี้มีโซเดียมต่ำและใยอาหารสูง ดีต่อระบบย่อยอาหาร
  • ลดการเติมเครื่องปรุง ฝึกชิมรสอาหารก่อนปรุง ปรับลดการเติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส น้ำส้มสายชู
  • อ่านฉลากก่อนซื้อ เลือกซื้ออาหารที่มีโซเดียมต่ำ สังเกตฉลากโภชนาการ หรือเลือกสินค้าที่มีฉลาก Low Sodium แสดงว่ามีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดการกินเค็ม

การปรับนิสัยการกินไม่จำเป็นต้องหักดิบ เราสามารถค่อยๆ ปรับเปลี่ยนทีละน้อย อาจต้องใช้เวลา แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือ สุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคต่างๆ แน่นอน! ลองทำดู คุณทำได้…

สายด่วนสุขภาพโทร.1512 Line Official : @ramhospital

กินเค็ม... เสี่ยงโรคร้าย มากกว่าแค่โรคไต
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit