Xendit สตาร์ทอัพยูนิคอร์น บุกตลาดไทย เปิดให้บริการโซลูชันชำระเงินดิจิทัลครบวงจร พร้อมช่วยยกระดับศักยภาพการเติบโตเศรษฐกิจดิจิทัลไทย
กระแสเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตต่อเนื่อง 'Xendit' สตาร์ทอัพยูนิคอร์น สัญชาติอินโดนีเซีย เดินหน้ากลยุทธ์บุกตลาดฟินเทคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) กับก้าวใหม่ขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศไทย เปิดให้บริการโซลูชันทางการเงินดิจิทัลแก่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่ SMEs รายย่อยไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค ด้วยพันธกิจ "Making Payments Simple" ช่วยให้การชำระเงินเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)
เศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) กำลังเป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก หลังมีแนวโน้มเติบโตสดใสต่อเนื่อง ซึ่งมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 27% มาตั้งแต่ปี 2021 ด้วยหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งการขยายตัวของผู้บริโภคดิจิทัล การขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆ ความนิยมของอีคอมเมิร์ซ และการเติบโตของการเงินดิจิทัล
จากรายงาน e-Conomy SEA Report 2023 โดยความร่วมมือของ Google, Temasek และบริษัทที่ปรึกษา Bain & Company สำรวจกลุ่มเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ระบุว่า รายได้จากเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ในปี 2023 อยู่ที่ราว 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นสัดส่วน 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากธุรกิจคอมเมิร์ซ (E-commerce) การท่องเที่ยวออนไลน์ (Online Travel) การขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์ (Transport & Food Delivery) และสื่อออนไลน์ (Online Media) ขณะที่อีกกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากบริการด้านการเงินดิจิทัล (Digital Financial Services) ซึ่งมีการเติบโตอย่างโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านการลงทุน การบริหารความมั่งคั่ง สินเชื่อ การชำระเงิน ประกันภัยและอื่นๆ
ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการชำระเงินดิจิทัลในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายและเป็นโอกาสของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการการแข่งขันทางเทคโนโลยีและสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย และคาดการณ์ว่าในปี 2030 จะเติบโตได้ถึงระดับ 100,000 - 165,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยสนับสนุนเหล่านี้ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ Xendit สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น ดาวรุ่งด้านการชำระเงินระหว่างธุรกิจแบบ B2B เจ้าแรกในอินโดนีเซีย เดินหน้ากลยุทธ์ขยายการเติบโตสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)อย่างต่อเนื่อง พร้อมความมุ่งมั่นที่จะช่วยส่งเสริมโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ผ่านการนำเสนอบริการโซลูชันที่เหมาะสมกับตลาดและความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน
นายโมเสส โล (Moses Lo) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Xendit กล่าวว่า " Xendit เป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านการเงินที่มีรากฐานแข็งแกร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งให้บริการโซลูชันทางการเงินแก่ธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่ SMEs ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อช่วยให้ขั้นตอนในการชำระเงินสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยเป็นผู้จัดหาระบบพื้นฐานทางการชำระเงินที่ปลอดภัยและง่ายต่อการทำงานร่วมกันกับลูกค้า พร้อมทั้งมีทีมงานมืออาชีพที่คอยดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีที่สุด ภายหลังจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 Xendit ได้รับความเชื่อมั่นจากธุรกิจต่างๆ ในอินโดนีเซียและรัฐบาล โดยได้เป็นผู้ดูแลโซลูชันทางการเงินให้แก่บริษัทชั้นนำอย่าง Traveloka, Garuda Indonesia และ Tech In Asia เป็นต้น "
จากความสำเร็จที่น่าประทับใจในอินโดนีเซีย Xendit ต่อยอดขยายธุรกิจเข้าไปยังประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ซึ่งได้มีปรับกลยุทธ์การให้บริการตามพื้นที่และความต้องการของธุรกิจในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยผลักดันให้ธุรกิจมีการขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ สำหรับปี 2024 นี้ Xendit มีความพร้อมที่จะเป็นผู้ให้บริการพื้นฐานการชำระเงินในระดับภูมิภาค ภายใต้พันธกิจ "Making Payments Simple" ช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยได้ขยายความสามารถในการทำธุรกรรมดิจิทัลในระดับภูมิภาคไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงเชื่อมต่อกับระบบที่ทันสมัยของ Xendit
"การขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การเพิ่มฐานลูกค้าใหม่เท่านั้น แต่เรายังเชื่อมั่นในการทำให้ธุรกิจมีพลัง ด้วยเครื่องมือที่พวกเขาต้องการเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ สำหรับ Xendit เป้าหมายของเราคือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินดิจิทัลที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และช่วยทำให้กระบวนการชำระเงินเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็ว สำหรับการขยายตลาดเข้าสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ เรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ก้าวต่อไป เพื่อทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงได้กับทุกๆ คนในอุตสาหกรรมนี้" นายโมเสส เจียน เฮง โล กล่าว
ด้าน นางสาวเทสซ่า วิจายะ (Tessa Wijaya) ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ Xendit กล่าวว่า ปัจจุบัน Xendit ให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 6,000 รายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการทำธุรกรรมมากกว่า 320 ล้านครั้งต่อปี ผ่านการให้บริการรับชำระเงิน การโอนเงินข้ามประเทศ การดำเนินธุรกิจและการจัดการร้านค้า พร้อมด้วยบริการด้านการเงินดิจิทัลอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีลูกค้าครอบคลุมทั้ง SME รายย่อย สตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซ และบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ โดย Xendit มีแผนที่จะพัฒนาการให้บริการด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย พร้อมการบริการที่เต็มไปด้วยความคุ้มค่าและสามารถเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยจุดเด่นด้านบริการ ดังนี้
โดย Xendit มีเป้าหมายที่จะมองหาและแก้ไขระบบการรับชำระเงินให้ตรงตามความต้องการของแต่ละบริษัท และพร้อมที่จะสร้างโซลูชันที่เหมาะสมกับตลาดการชำระเงินดิจิทัลในประเทศไทย โดยมีกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ร้านค้าทุกขนาด สตาร์ทอัพที่มีฝันที่จะขยายธุรกิจไปสู่ระดับภูมิภาค ไปจนถึงบริษัทใหญ่ในภูมิภาค
"เราเชื่อมั่นในการก้าวข้ามขีดจำกัดและพร้อมจะช่วยทำให้ธุรกิจในแต่ละประเทศมีพลังในการเติบโตมากยิ่งขึ้น จากการเชื่อมต่อระดับโลกและการทำธุรกรรมดิจิทัลแบบไร้รอยต่อ ด้วยความเชี่ยวชาญที่เน้นการเข้าถึงในระดับท้องถิ่นและการมีมาตรฐานที่ดีที่สุดระดับโลกของเรา เราหวังว่าการนำเสนอโซลูชันทางการชำระเงินแบบดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรมของเราเข้าสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้แก่อุตสาหกรรมดิจิทัลไทยได้อย่างแน่นอน" นางสาวเทเรเซีย แซนดร้า วิจายะ กล่าว
ทั้งนี้ Xendit เป็นผู้ให้บริการระบบการชำระเงินแบบไร้รอยต่อและง่ายต่อการใช้งานระดับภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนในระดับท้องถิ่น สำหรับการขยายธุรกิจในประเทศไทยครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินชาวไทยอย่าง นายกรณ์ จาติกวณิช ที่เข้ามาร่วมพัฒนาธุรกิจในฐานะที่ปรึกษาและเป็น Chairman ของบริษัทฯ
"การชำระเงินเป็นฟันเฟืองที่สำคัญอย่างยิ่งในกลไกทางเศรษฐกิจโดยรวมในยุคดิจิทัลนี้ ระบบการชำระเงินที่แข็งแกร่งระดับโลกถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ โดนที่ Xendit จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการเงินของไทย ตลอดจนร่วมงานโดยตรงกับธุรกิจในท้องถิ่นเพื่อส่งมอบบริการและเทคโนโลยีระดับโลก เราจะร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในทุกกิจกรรมของเรา" นายกรณ์ จาติกวณิช กล่าว
การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นการร่วมผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมยกระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลและพัฒนาเทคโนโลยีการเงินในประเทศไทยต่อไปอย่างยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit