ANDRITZ ปลุกโฉมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย! เปิดตัวโซลูชันอัจฉริยะครบวงจร บนแพลตฟอร์ม Metris มุ่งสู่การผลิตแบบอัตโนมัติภายในปี 2027

13 Mar 2024

ANDRITZ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับโลก ประกาศยกระดับวงการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย ด้วยการเปิดตัวโซลูชันระบบอัตโนมัติและดิจิทัลครบวงจร ภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัลอัจฉริยะที่ชื่อว่า Metris

ANDRITZ ปลุกโฉมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย! เปิดตัวโซลูชันอัจฉริยะครบวงจร บนแพลตฟอร์ม Metris มุ่งสู่การผลิตแบบอัตโนมัติภายในปี 2027

แพลตฟอร์ม Metris คือหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตของการผลิตอาหารสัตว์ ด้วยความสามารถโดดเด่นที่ปรับใช้งานร่วมกับระบบต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นยกระดับประสิทธิภาพ การปรับตัว ความพร้อมใช้งาน และความยั่งยืนของกระบวนการผลิต โดยตั้งเป้าหมายอันท้าทาย คือ การบรรลุการผลิตอาหารสัตว์แบบไร้คนควบคุม (Fully Autonomous Feed Plant Operations) ภายในปี 2027

"เส้นทางสู่การผลิตอาหารสัตว์อัจฉริยะในอนาคต จำเป็นต้องอาศัยการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและดิจิทัลขั้นสูงมาผสานกับความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมายาวนาน เพื่อปฏิวัติทุกกระบวนการผลิต ปลดล็อคศักยภาพ สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการไทย และด้วยการผสานความเชี่ยวชาญอันยาวนานเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย ANDRITZ มุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ตอบโจทย์อนาคต ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย โดยเราพร้อมเป็นพันธมิตรทำงานร่วมไปกับผู้ประกอบการในทุกย่างก้าว ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทยสู่ความยั่งยืน" นายโซเฮล นาซารี รองประธานแผนกระบบอัตโนมัติและดิจิทัล กลุ่มอาหารสัตว์และเชื้อเพลิงชีวภาพ กล่าว

เทคโนโลยีดิจิทัล เสริมศักยภาพ ผลักดันกำไร ลดต้นทุน

เทคโนโลยีดิจิทัลของ ANDRITZ ครอบคลุมตั้งแต่การปรับกระบวนการผลิต บริหารจัดการสินทรัพย์ การฝึกอบรมพนักงาน
ไปจนถึงการจัดการองค์ความรู้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์สามารถดึงศักยภาพของโรงงานออกมาได้อย่างเต็มที่ตลอดวัฏจักร ส่งผลต่อการเพิ่มผลกำไร และลดต้นทุน แพลตฟอร์มดิจิทัล Metris ของ ANDRITZ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต 7-16% ในหลากหลายอุตสาหกรรม

เสริมความแข็งแกร่ง ป้องกันโรงงานจากภัยไซเบอร์

ในยุคดิจิทัล ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ถือเป็นความเสี่ยงอันดับต้นๆ ที่ผู้ประกอบการโรงงานอาหารสัตว์ต้องให้ความสำคัญ ANDRITZ ทำงานร่วมกับ OTORIO ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำ มอบระบบป้องกันที่แข็งแกร่ง พร้อมช่วยดูแลสินทรัพย์และการดำเนินงานทั้งหมดตามความต้องการ ผสานรวมระบบ IT-OT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามมาตรฐาน IEC 62443 ป้องกันความเสี่ยงด้านดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จ

ยกระดับความพร้อมใช้งาน จำลองสถานการณ์ ลดความเสี่ยง

วิศวกรรมจำลอง (Simulation-based engineering) คือหัวใจสำคัญของเทคโนโลยี Digital Twin โดยอาศัยการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของโรงงาน เพื่อทดสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนเริ่มติดตั้งระบบจริง ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยย่นระยะเวลาการเริ่มต้นดำเนินงานโครงการใหม่ในหลากหลายอุตสาหกรรมได้ถึง 20% ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน นอกจากนี้ ANDRITZ นับเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่นำเสนอเทคโนโลยี Virtual Commissioning ซึ่งอาศัยระบบ Digital Twin ในการจำลองกระบวนการผลิตแบบเสมือนจริง ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้มากถึง 90% ส่งผลให้กระบวนการติดตั้งและเริ่มต้นดำเนินงานราบรื่น รวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร

หัวใจสำคัญสู่ความยั่งยืน

การนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและดิจิทัลของ ANDRITZ ไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ช่วยลดการใช้พลังงานได้มากถึง 3-17% ระบบจะทำหน้าที่ตรวจสอบ วิเคราะห์ และคาดการณ์การทำงานของเครื่องจักร ช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้ลดการสูญเสียพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถระบุจุดบกพร่องของเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาและบำรุงรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการหยุดชะงักของการผลิต ส่งเสริมกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน

ยกระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์!

ในยุคธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้บริหารโรงงานต่างมุ่งเน้นการนำข้อมูลเชิงปฏิบัติการที่ซับซ้อน มาวิเคราะห์และเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ขณะเดียวกัน ฝ่ายบริหารระดับสูงก็ต้องการข้อมูลที่แม่นยำเพื่อวางแผนและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีของ ANDRITZ ช่วยแปลงข้อมูลเชิงปฏิบัติการให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการตัดสินใจเชิงธุรกิจบนฐานข้อมูล

ทำความรู้จักระบบอัตโนมัติและดิจิทัลของ ANDRITZ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่งาน VICTAM Asia 2024 พร้อมเยี่ยมชมได้ที่บูธ ANDRITZ #H001

ANDRITZ ปลุกโฉมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย! เปิดตัวโซลูชันอัจฉริยะครบวงจร บนแพลตฟอร์ม Metris มุ่งสู่การผลิตแบบอัตโนมัติภายในปี 2027