วว. พัฒนากระบวนการฆ่าเชื้อดินจอมปลวกเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาไข่เค็ม

01 Apr 2024

ดินโพน หรือดินจอมปลวก เป็นดินมีแร่ธาตุต่างๆ ปะปนอยู่มากกว่าปกติ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมโพแทสเซียม และฟอสฟอรัส นิยมนำมาใช้ในกระบวนการผลิตไข่เค็ม ซึ่งจะพบปัญหาเชื้อราที่เปลือกไข่เค็ม ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ จึงพัฒนากระบวนการฆ่าเชื้อดินจอมปลวกและกระบวนการผลิตเพื่อลดการเกิดเชื้อราบนเปลือกไข่เค็ม และเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาไข่เค็มให้นานขึ้น โดยได้นำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่กลุ่มไข่เค็มบ้านขุนภูมิ ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งแปรรูปไข่เป็ดเป็นไข่เค็ม พอกด้วยดินเหนียวจากจอมปลวก

วว. พัฒนากระบวนการฆ่าเชื้อดินจอมปลวกเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาไข่เค็ม

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

1.ทำการฆ่าเชื้อดินจอมปลวกโดยการนึ่ง 1 ชั่วโมง และอบแห้ง 4 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียล

 2.ทำความสะอาดเปลือกไข่ด้วยน้ำเกลือก่อนการพอกดินจอมปลวก

3.หลังจากต้มไข่ให้สุก ต้องผึ่งเปลือกไข่ให้แห้งสนิทก่อนทำการบรรจุ

ประโยชน์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์

     1.กระบวนการผลิตที่ได้รับการปรับปรุงจาก วว. ช่วยลดการเกิดเชื้อราบนเปลือกไข่เค็ม

2.ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาไข่เค็มได้นานขึ้น (มากกว่า 1 เดือน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว.  โทร. 0 2577 9000