ไทยพีบีเอส เปิดบ้านต้อนรับ ผู้เข้าอบรมโครงการ บยสส.รุ่นที่ 3

12 Feb 2024
ไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่ผู้เข้าอบรมโครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง (บยสส.) รุ่นที่ 3เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 67 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมศึกษาดูงานประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้แก่ผู้เข้าอบรมโครงการอบรมหลักสูตรผู้บริหารยุทธศาสตร์การสื่อสารมวลชนระดับสูง (บยสส.) รุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน โดยมี รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการส.ส.ท. ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวถึงบทบาทและทิศทางสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส ด้วย 5 คำสัญญา เพื่อยึดโยงกับประชาชน ได้แก่ 1. One Thai PBS เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว 2. More than TV เป็นมากกว่าสถานีโทรทัศน์ 3.Thai Originals ภาคภูมิไทย 4.Global Citizen เตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองโลก 5.Connecting the Nation สื่อสารคุณค่า และเชื่อมต่อความหลากหลาย
ไทยพีบีเอส เปิดบ้านต้อนรับ ผู้เข้าอบรมโครงการ บยสส.รุ่นที่ 3

นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการบรรยายในหัวข้อสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของไทยพีบีเอส ได้แก่ "การบริหารงานด้านข่าวแบบไทยพีบีเอส" โดยนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าว ไทยพีบีเอส หัวข้อ "Policy watch เชื่อมนโยบายสาธารณะ-สื่อ-ประชาชน" โดยนางสาวชุตินธรา วัฒนกุล บรรณาธิการบริหารด้านข่าวออนไลน์ ไทยพีบีเอส หัวข้อ "AI กับอนาคตในอุตสาหกรรมสื่อ" โดยนางสาวกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส และหัวข้อ "ไทยพีบีเอสกับเทคโนโลยีการออกอากาศ" โดยนายธนกร สุขใส รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรม มีข้อซักถามที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวชื่นชมไทยพีบีเอส ในการนำเสนอ "ละครบุญผ่อง" ที่สร้างจากเรื่องจริงของชายไทยธรรมดาผู้ได้รับการยกย่องจากนานาชาติว่าเป็นวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่ 2 และไทยพีบีเอส เป็นสื่อสาธารณะที่มีนวัตกรรมหลายเรื่องที่น่าสนใจ อย่าง "Policy watch" และ การนำนวัตกรรมด้าน AI มาใช้งาน ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตถึงการวิธีการขับเคลื่อน "Policy watch" และประเด็นของการใช้ AI โดยที่ต้องคำนึงถึงจริยธรรมไปด้วย"การขับเคลื่อน "Policy watch" นั้น ไทยพีบีเอส เป็นผู้ริเริ่ม โดยเริ่มต้นจากฐานข้อมูล งานวิจัย และข้อมูลจากหลาย ๆ ส่วนมากมาย แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้สำเร็จในระยะเวลารวดเร็ว หรือทำได้โดยลำพัง ต้องอาศัยภาคี เครือข่าย และความร่วมมือจากทุกหน่วย ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน "Policy watch" ไปพร้อม ๆ กัน" นางสาวชุตินธรา บก.บห.ด้านข่าวออนไลน์ ไทยพีบีเอส กล่าวด้าน นางสาวกนกพร ผอ.สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส กล่าวถึงประเด็น AI และจริยธรรม ว่า "ไทยพีบีเอสไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงโอกาส แต่เป็นความเสี่ยงด้วยเช่นกัน การเรียกร้องถึงจริยธรรมในการใช้ AI กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไทยพีบีเอส ไม่ได้ละเลย แต่ได้หารือกันถึงแนวทางมาตรฐาน จริยธรรมในการใช้งาน AI บ้างแล้ว"โดยการเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของไทยพีบีเอส ในครั้งนี้ นอกจากจะได้รับฟังบรรยายจากทีมผู้บริหารของไทยพีบีเอสแล้ว ยังได้เข้าชมสถานที่ และการทำงานจริงของไทยพีบีเอส ทั้งในส่วนห้อง Mini Studio ของสำนักสื่อดิจิทัล ห้อง Network Operations Center (NOC) ที่เป็นศูนย์กลางกลางควบคุมและดูแลระบบโครงข่ายการออกอากาศ และยังได้เข้าเยี่ยมชมสตูดิโอ และชมเบื้องหลังบันทึกเทปรายการ "คุยให้คิด" อีกด้วย

HTML::image(