ระวัง! เข่าพังก่อนวัย.. เช็กสัญญาณเสี่ยง

11 Mar 2024

ระวัง! เข่าพังก่อนวัย.. เช็กสัญญาณเสี่ยง"ข้อเข่าเสื่อม"

ระวัง! เข่าพังก่อนวัย.. เช็กสัญญาณเสี่ยง

หากคุณปวดเข่า เคลื่อนไหวเข่าลำบาก ข้อเข่ามีเสียงดัง คุณอาจเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อเข่าเสื่อมสภาพหรือสึกกร่อนลง ระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดง แค่รู้สึกมีเสียงดังกรอบแกรบเมื่อขยับเข่า แต่หากยังใช้งานเข่าอย่างหนัก ไม่ถูกวิธี และมีน้ำหนักตัวมาก อาจทำให้กระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อเข่าสึกกร่อนมากขึ้นจนกระดูก 2 ชิ้นติดกันโดยไม่มีกระดูกอ่อนหุ้ม น้ำในข้อก็น้อยลง ส่งผลให้ปวดเข่า ปวดกระดูกมากขึ้น เข่าฝืด เคลื่อนไหวลำบาก

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคข้อเรื้อรังอย่างเช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ก็สามารถเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังไม่มากได้เช่นเดียวกัน และอีกปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ ท่าทางหรือการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ และการเล่นกีฬาผาดโผน เช่น วิ่ง กระโดด ก็ทำให้เสี่ยงข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนทั่วไป

ข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ

มาเช็กกันหน่อยว่า คุณเสี่ยง "ข้อเข่าเสื่อม" หรือไม่?

  • อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • น้ำหนักตัวมาก (ค่า BMI > 25)
  • ทำงานที่ต้องเดินตลอดเวลา
  • เข่ายึด ฝืด หรือ งอลำบาก
  • มีเสียงกรอบแกรบที่เข่าขณะเคลื่อนไหว
  • ปวดเจ็บแปลบๆ ที่ข้อเข่า เวลาเดินหรือลงบันได
  • ปวดข้อเข่าขณะลุกนั่ง
  • ขาโก่ง งอผิดรูป เดินโยกตัว

หากมีอาการเกิน 3 ข้อขึ้นไป แสดงว่าคุณอาจมีความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ

ลองสังเกตตัวเองหรือคนใกล้ตัวดูนะครับว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ หากมีอาการเสี่ยงควรไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะข้อเข่าเป็นอวัยวะสำคัญที่รองรับการทรงตัว หากปล่อยทิ้งไว้จนข้อเข่าเสื่อมรุนแรงอาจทำให้เดินไม่ได้และมีความเจ็บปวดมาก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

ทำอย่างไร ถ้าไม่อยากให้ข้อเข่าเสื่อม? เราสามารถชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว แอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทกต่อเข่า เช่น การกระโดด การวิ่ง
  • ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดแรงกดต่อข้อเข่า
  • ทานอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อเสริมสร้างกระดูก เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว
  •  เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า นั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
  • ลดการใส่รองเท้าส้นสูง การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำจะทำให้เข่าแอ่น ส่งผลต่อข้อเข่า

ดูแล้วไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ อาจจะไม่ต้องทำทีเดียวทั้งหมด เพียงแค่เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทีละนิดทีละหน่อยเพื่อสุขภาพที่ดีของข้อเข่า และให้เราสามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่วไปนานๆ"โรคข้อเข่าเสื่อม" และ "การดูแลตัวเองเมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อม" อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/281

สายด่วนสุขภาพโทร. 0 2743 9999 ต่อ 2999Line Official @ramhospital

HTML::image(
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit