จำนวน
82 เชือก
กรกฎาคม
จำนวน 107 เชือกกุมภาพันธ์
จำนวน 112 เชือก
สิงหาคม
จำนวน 126 เชือกมีนาคม
จำนวน 124 เชือก
กันยายน
จำนวน 94 เชือกเมษายน
จำนวน
98 เชือก
ตุลาคม
จำนวน 75 เชือกพฤษภาคม
จำนวน 101 เชือก
พฤศจิกายน
จำนวน 63 เชือกมิถุนายน
จำนวน 132 เชือก
ธันวาคม
จำนวน 84 เชือกสรุปตลอดทั้งปี 2566 ดำเนินการช่วยเหลือช้างไปทั้งสิ้น 1,198 ครั้ง ในการดำเนินการตรวจรักษานั้น ดร.น.สพ.อลงกรณ์ เน้นการให้ยาป้องกันโรค เนื่องด้วยต้องการเน้นเรื่องการป้องกันโรคเป็นหลักเพราะช้างเป็นสัตว์ใหญ่แต่ถ้าเจ็บป่วยจะใจเสาะยิ่งกว่ามนุษย์และสุนัข การป้องกันโรคที่ดีก็คือ ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพในแต่ละเชือก และนำไปสู่ภูมิคุ้มกันในหมู่ช้าง 300 เชือก ที่ได้ดูแลอยู่ ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ได้จากประสบการณ์กว่า 40 ปี ตั้งแต่ในอดีตที่คุณหมอได้รักษาช้างเร่ร่อนและได้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา โดยมีการปรับปรุงตัวยานำมาปรับเป็นสูตรใช้รักษาอาการช้างแต่ละเชือกอย่างเหมาะสมและต้องใช้เข็มฉีดยา จนทำให้ร่างกายของช้างตอบสนองได้ค่อนข้างดี ซึ่งโรคที่อันตรายและต้องเฝ้าระวัง คือ Avian flu (H5N1) SARS MERS โรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อเฉียบพลัน หรือ EEHV ยาฉีดที่ให้ช้างจะเน้นไปทำให้อวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคและป้องกันการเกิดโรคติดต่อในระยะยาว ฤทธิ์ยาจะไปเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อเมือกที่บุภายในอวัยวะต่างๆ เช่น เส้นเลือด และ ทางเดินอาหาร ทำให้ยากต่อการที่เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายได้ โดยเฉพาะเชื้อไวรัสมรณะ (EEHV) ในปี พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา ช้างที่อยู่ในพื้นที่จำนวนประมาณ 300 เชือก ไม่พบว่ามีอาการของโรคไวรัสมรณะตัวนี้ ส่วนโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ โรคคอบวม หรือ โรคโลหิตเป็นพิษ (HS) ก็ไม่พบว่ามีการติดต่อในช้างเช่นกัน สุขภาพของช้างโดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่า ดร.น.สพ.อลงกรณ์ มหรรณพ จะเกษียณอายุตั้งแต่ พ.ศ.2560 (พ.ศ.2554 เกษียณจากองค์การสวนสัตว์, พ.ศ.2560 เกษียณจากสำนักพระราชวัง ตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา) แต่ก็ยังคงดูแลรักษาช้างมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2518 จนถึงปัจจุบัน โดยได้รักษาช้างมาแล้วทั้งสิ้น ประมาณ 35,000 ครั้ง ซึ่งคุณหมอมักจะพูดอย่างอารมณ์ดีว่า "หลังจากทำงานเสร็จก็มานั่งนับจำนวนเข็มฉีดยาเบอร์ 18 ยาวหนึ่งนิ้วครึ่ง หัวพลาสติกสีชมพู ในแต่ละครั้งมันเยอะจริงๆ แต่ผมก็ยังคงมีความสุขกับการทำหน้าที่รักษาช้างให้มีสุขภาพที่ดีอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ" จำนวนเข็มฉีดยาที่คุณหมอได้ใช้ไปนั้นมากพอๆ กับจำนวนครั้งที่คุณหมออลงกรณ์ได้เคยช่วยดูแลรักษาช้าง อีกทั้งได้ช่วยชีวิตของช้างไว้จำนวนไม่น้อย สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลกของมนุษย์และพวกเขายังคงรอคอยความรัก ความเมตตา และความช่วยเหลือจากพวกเราในยามที่เขาไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองได้ทั้งจากความเจ็บป่วยและภัยรอบตัว และนั่นคือปณิธานของ 'สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย' (TSPCA) ที่ยึดมั่นเสมอมาเพื่อป้องกันสัตว์ทั้งหลายจากการถูกทารุณกรรมและเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป เราทุกคนต่างสามารถให้ความช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งพิงของสัตว์เหล่านั้นได้เช่นกัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit