นับเป็นครั้งแรกของโลกก็ว่าได้ที่วัดในประเทศไทยเปิดโอกาสให้อาหารแพลนต์เบสได้เข้ามามีบทบาทช่วยถนอมสุขภาพดูแลโภชนาการของพระภิกษุสงฆ์ไทยอย่างแท้จริง "วัดวชิรธรรมาวาส ลาดกระบัง" และ วัดโสภณาราม ลำลูกกาคลอง 12 นำร่องจัดอาหารแพลนท์เบส สำหรับ พระลูกวัดและบุคคลากรสัปดาห์ละครั้ง
งานนี้เป็นความร่วมมือทำโครงการร่วมกันระหว่าง "วัดวชิรธรรมาวาส" ลาดกระบัง "วัดโสภณาราม" ลำลูกกาคลอง12 "มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการ" Dharma Voices for Nutrition.(DVN Foundation.) ในนาม "โครงการครัวสุขภาพพระสงฆ์" และ "โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต" ภายใต้องค์กรพิทักษ์สัตว์สากล SinergiaAnimal องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม Dharma Voices for Animals. (DVA)
"วัดวชิรธรรมาวาส" นำโดย พระครูโฆษิตสุทธสร เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมมาวาส ลาดกระบัง และ "วัดโสภณาราม" ลำลูกกาคลอง 12 นำโดย พระครูอาทรธัญญานุรักษ์ เจ้าคณะตำบลบึงคอไห เจ้าอาวาส วัดโสภณาราม เมตตาร่วมมือรับเป็นวัดต้นแบบและวัดนำร่องให้กับ โครงการครัวสุขภาพพระสงฆ์ โดยมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการ ทั้งสองวัดจะบริการอาหารจากพืช 100% แก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ผู้มาปฎิบัติธรรม รวมถึงบุคคลากรที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ละ 1 วัน
ตามบันทึกข้อตกลงในทุกๆ วันเสาร์ วัดวชิรธรรมาวาส ลาดกระบัง จะฉันอาหารเมนูแพลนต์เบส (การทานอาหาร ที่เน้นพืชเป็นหลักและงดทานเนื้อสัตว์) ส่วนวัดโสภณาราม ลำลูกกาคลอง 12 จะฉันในมื้อเช้าของทุกวันพระ ตลอดระยะเวลาโครงการทางมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการ จะให้สูตรอาหารและบริการเข้าไปจัดสอนแม่ครัว ของวัดทำเมนูสุขภาพไร้เนื้อสัตว์ฟรีไม่มีค่าใข้จ่าย โครงการเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2567 ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม 2568 เป็นระยะเวลา 1 ปี
"พระครูอาทรธัญญานุรักษ์"เจ้าคณะตำบลบึงคอไห เจ้าอาวาสวัดโสภณาราม และ"พระครูโฆษิตสุทธสร" เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมมาวาส เป็นพระผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เล็งเห็นผลดีของการฉันอาหารแพลนต์เบสที่จะทำให้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ตลอดจนผู้มาปฎิบัติธรรมและญาติโยม จะได้มีสุขภาพดีแบบยั่งยืน ยาวนาน ฉันแบบไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์โลก เป็นการส่งเสริมศีล 5 และยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
เพราะการบริโภคอาหารจากพืชผัก ผลไม้ และลดปริมาณเนื้อสัตว์ลง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคเบาหวานประเภท2 โรคมะเร็งบางชนิด อาการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน รวมถึงภาวะ ดื้อยา นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ทำจากผัก ผลไม้ ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการลดการบริโภค เนื้อสัตว์หมายถึงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ ลดการตัดไม้ทำลายป่า และการใช้ที่ดิน ทำกินที่มาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ รวมถึงช่วยลดของเสียที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
ทางมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อโภชนาการหวังว่า การเริ่มต้นจากวัดต้นแบบทั้งสองแห่งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับ วัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยขณะนี้มีอีกหลายวัดได้แสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ นอกจากจะได้รับ ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กรพันธมิตรต่างๆ แล้ว ขอเชิญชวนให้ทุกคนที่มีศรัทธาต่อพระศาสนาได้ ช่วยกันบำรุงรักษาสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ และรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยกันผ่านการถวายภัตตาหารที่ทำมาจาก พืชผัก ผลไม้ แทนเนื้อสัตว์
วัดหรือหน่วยงานองค์กรใด สนใจอยากให้ทางมูลนิธิไปจัดสอนทำอาหาร บรรยายให้ความรู้ด้านโภชนาการ การใช้อาหารเป็นยาหรืออยากเข้าร่วมเป็นภาคีเครื่อข่ายกัน สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ เพจมูลนิธิเสียงธรรม เพีอโภชนาการ https://www.facebook.com/DVNthailand?mibextid=ZbWKwL
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit