แพม ปานพิมพ์ มั่นใจปรึกษาวางแผนการมีบุตรที่ IVF & Women Clinic

20 May 2024

เตรียมพร้อมวางแผนเรื่องการมีครอบครัว สำหรับดาราสาว "แพม ปานพิมพ์ เตชะธนชัยพัฒน์" ที่เคยเปิดเผยว่าตนเองมีอาการป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ล่าสุดเจ้าตัวเข้าปรึกษาทางศูนย์ดูแลภาวะผู้มีบุตรยาก และคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช "IVF & Women Clinic" และได้พูดคุยกับทาง ร.ศ.นพ.ภัทรภูมิ โพธิ์พงษ์ หรือคุณหมอภัทร ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และการผ่าตัดส่องกล้อง

แพม ปานพิมพ์ มั่นใจปรึกษาวางแผนการมีบุตรที่ IVF & Women Clinic

ซึ่งงานนี้สาวแพม ปานพิมพ์ ได้ปรึกษากับทางคุณหมอภัทร ถึงอาการป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ว่าโรคนี้ส่งผลต่อการมีบุตรหรือไม่ในอนาคต และจะสามารถส่งต่อเป็นพันธุกรรมให้กับทายาทได้หรือไม่ ซึ่งเจ้าตัวเผยว่า  "ตัวแพมเคยป่วยไม่สบายเป็นไข้สูงมาก แล้วไม่หาย เลยไปหาหมอ แล้วบังเอิญตรวจเจอว่าตนเองเป็นโรคธาลัสซีเมีย เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ที่ผ่านมาแพมดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองมาตลอด แต่ก็กังวลใจว่า ถ้าหากมีครอบครัว แล้วมีลูก โรคธาลัสซีเมียจะส่งต่อพันธุกรรมถึงลูกหรือไม่ เลยเข้ามาปรึกษาคุณหมอภัทร ที่ IVF & Women Clinic ศูนย์ดูแลภาวะผู้มีบุตรยาก และคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช ซึ่งทางคุณหมอภัทร ก็ได้พูดถึงแนวทางนวัตกรรมการทำ IVF ที่สามารถหยุดถ่ายทอดพันธุกรรมธาลัสซีเมีย สาวๆคนไหนที่กังวลใจว่าตนเองเป็นโรคธาลัสซีเมีย และจะมีบุตรได้ไหม แพมแนะนำว่ามาปรึกษาคุณหมอภัทรได้เลยค่ะ คุณหมอใจดีมาก ให้คำแนะนำดีมาก ตัวแพมเองก็ได้ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปบอกต่อเพื่อนๆ ได้ หรือใครที่มีบุตรยาก ทาง IVF & Women Clinic ก็มีบริการรักษาภาวะการผู้มีบุตรยาก แบบครบวงจรเลยค่ะ โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมากประสบการณ์กว่า 20 ปี ที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข"

ด้าน รศ. นพ.ภัทรภูมิ โพธิ์พงษ์  สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากประจำ IVF & Women Clinic เปิดเผยว่า " ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของโรคธาลัสซีเมีย หมอจะขอกล่าวถึง เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ หรือพ่อแม่มือใหม่ กับการวางแผนการมีบุตร ทั้งนี้พบว่าปัจจุบัน เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคน Generation Y และ Generation Z ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างมีความตื่นตัวในการวางแผนเรื่องของการมีบุตรมากขึ้น ทั้งคนที่กำลังสร้างครอบครัวและคนที่ยังไม่มีครอบครัว เนื่องจากมีการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีมากขึ้นนั่นเอง  ซึ่งเทรนด์ในอนาคตบอกได้เลยว่า คนรุ่นใหม่จะมีความสนใจและใส่ใจในตัวเองและครอบครัว มีการวางแผนมากขึ้น โดยเฉพาะการมีบุตร เราจะเห็นว่าคนจะแสวงหาความรู้ แสวงหาเทคโนโลยีในการช่วยเรื่องของการมีบุตรมากขึ้น ไม่เฉพาะผู้มีบุตรยาก หรือมีปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นกลุ่มที่ต้องการมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีการวางแผน ดังนั้นในอนาคตคนจะมาฝากไข่ ฝากอสุจิมากขึ้น เป็นตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการมีบุตร ซึ่งเทคโนโลยี ต่าง ๆ ในการช่วยเรื่องการวางแผนการมีบุตรนั้นมีไว้สำหรับทุกคนและทุกวัย"

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเป็นการเตรียมตัวมีบุตรที่มีคุณภาพสมบูรณ์แข็งแรงนั้น คือการตรวจสุขภาพการก่อนมีบุตร นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นจุดแรกในการคัดกรองและรู้ถึงสุขภาพทั้งด้านกรรมพันธุ์ และยีนส์ด้อยที่อาจไม่ได้มีการแสดงอาการ หากแต่จะเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาของโรคภัยต่าง ๆ ได้ สำหรับบุตรในครรภ์ถ้าทั้งพ่อและแม่ มียีสต์ด้อยที่ตรงกันแล้วไม่ทราบล่วงหน้านั่นเอง โดยเฉพาะประเทศไทยโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม หรือ ธาลัสซีเมีย ถือเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่สามารถถ่ายถอดทางพันธุ์กรรมได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่คู่สมรส และพ่อแม่มือใหม่ที่ต้องการวางแผนการมีบุตรต้องให้ความสำคัญ

ทั้งนี้ในวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปีนั้น จะเป็น "วันธาลัสซีเมียโลก (World Thalassemia Day)" เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของโรคธาลัสซีเมียและผลกระทบของโรค ในเดือนพฤษภาคมนี้ จึงถือว่าเป็นเดือนแห่งวันธาลัสซีเมียโลก เรามาทำความรู้จักกับโรคธาลัสซีเมียกันให้มากขึ้น โดยจะอธิบายให้ทราบกันแบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อสังเกตตนเอง โดยเฉพาะคู่สมรส และคุณพ่อคุณแม่ ที่ต้องเตรียมตัววางแผนการมีบุตร บอกได้เลยว่า ธาลัสซีเมีย ไม่ได้เป็นโรคที่น่ากลัวมากแต่อย่างใด แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้หากมีการตรวจพบเจอโรค และปัจจุบันนี้ ธาลัสซีเมีย ก็ป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากการกลายพันธุ์บนยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนโกลบินที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงไม่มีประสิทธิภาพและแตกง่าย

ใครจะเป็นพาหะธาลัสซีเมียได้บ้าง  พาหะธาลัสซีเมียจะไม่แสดงอาการใด ๆ และผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นพาหะจนกว่า จะได้รับการตรวจ ผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะได้รับยีนปกติจากพ่อแม่คนหนึ่ง และยีนที่บกพร่องจากพ่อแม่อีกคนหนึ่ง และอาจไม่จำเป็นต้องรักษา

ธาลัสซีเมีย มีอาการอย่างไร อาการธาลัสซีเมียของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของพาหะธาลัสซีเมียที่ได้รับการถ่ายทางพันธุกรรม

กลุ่มพาหะธาลัสซีเมียที่ไม่มีอาการ หรือมีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย อาจมีอาการอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือไม่มีอาการ

กลุ่มผู้ที่มีระดับอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ที่อาจต้องรับเลือดเป็นครั้งคราว โดยอาจมีอาการเหนื่อยง่าย  อ่อนเพลียง่าย มีภาวะซีดเล็กน้อย ภาวะเจริญเติบโตช้า หัวใจทำงานหนัก ภาวะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า ความผิดปกติของกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน  และภาวะม้ามโต

กลุ่มผู้ที่มีระดับอาการรุนแรง (Severe symptoms) ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียเมเจอร์ จำเป็นต้องได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอ โดยมักมีอาการดังต่อไปนี้ ภาวะไม่อยากอาหาร (Poor appetite)  ภาวะผิวซีดจางรุนแรง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน (Hemolytic crisis) ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice) ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือสีชา กระดูกเปราะ แตกหักง่าย หายใจลำบาก มีโครงสร้างกระดูกบนใบหน้าผิดปกติ มีกะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มสูง หน้าผากสูง เนื่องจากมีการขยายตัวของไขกระดูก และ การเสียชีวิตของทารกในครรภ์มารดา หรือหลังคลอด โดยมีภาวะซีดมาก บวมน้ำ และหัวใจวาย

กลุ่มที่เสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือแรกเกิด

ผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียที่ต้องการมีบุตร ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนการมีบุตรเพื่อวางแผนการมีบุตรอย่างปลอดภัยและเพื่อป้องกันการส่งต่อพาหะธาลัสซีเมียไปยังลูกหลานในอนาคต มีการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ หรือฝากครรภ์ ควรตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ซื้อยาบำรุงเลือดมาทานเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอกรณีแพทย์วินิจฉัยและแนะนำ

ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันของศูนย์ IVF & Women Clinic สามารถป้องกันการส่งต่อให้ลูกหลาน ปัจจุบันเราใช้เทคนิค NGS หรือ Next Generation Sequencing เป็นนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมทั้งหมดในเซลล์ ที่มีความละเอียดและมีความแม่นยำสูงถึง 98% จึงเป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน โดยนักวิทยาศาสตร์จะคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติและแข็งแรงที่สุด เพื่อให้อัตราในการฝังตัวของตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ประสบผลสำเร็จ ปลอดภัย มีคุณภาพการดูแลป้องกันอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ IVF & Women Clinic กรณีเคสของคุณแพม ปานพิมพ์ ก็เช่นเดียวกัน หมอได้พูดคุยและแนะนำการตรวจรักษา เพื่อหยุดการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก่อนการมีบุตร

การตรวจสุขภาพของคู่สมรสทั้งชายและหญิง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเทคนิค NGS หรือ Next Generation Sequencing ช่วยในเรื่องของการมีบุตร จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวของทุกคนต่อไปในอนาคต พร้อมเชิญชวนคนรุ่นใหม่วางแผน และให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรลดความเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรม เข้ารับคำปรึกษากับทางศูนย์ IVF & Women Clinic โทร.02-6533331 / 097-2509331 เฟซบุ๊ก : IVF&Women Clinic , ไลน์ : @iwclinic

HTML::image(