"ความจริงมีลูกค้าจำนวนมากที่สนใจจะใช้รถของเรา ดังนั้นเราเชื่อมั่นว่าการมีพันธมิตรในพื้นที่ จะทำให้เราสามารถให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าและรถไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ของเราไปถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึง" นายกฤศ กล่าวนายกฤศกล่าวว่าการขับเคลื่อนกลยุทธ์ผ่านเครือข่ายพันธมิตรคู่ค้าในขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเพราะกระแสการใช้รถไฟฟ้าในภาคธุรกิจและองค์กรรัฐวิสากิจและองค์กรภาครัฐกำลังตื่นตัวเพราะรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนส่งเสริมให้องค์กรในสังกัดเปลี่ยนการใช้รถสันดาปภายในมาเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน รัฐบาลยังมีนโยบายด้านภาษีสนับสนุนให้ภาคธุรกิจหันมาใช้รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้ออกมาตรการให้บริษัทหรือนิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการซื้อรถโดยสารหรือรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานโดยไม่มีกำหนดเพดานราคาขั้นสูง โดยกรณีซื้อรถที่ผลิต/ประกอบในประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 เท่า และในกรณีนำเข้ารถสำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า โดยมาตรการนี้จะมี ผลใช้บังคับจนถึงสิ้นปี 2568การออกมาตรการสนับสนุนการใช้รถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดจากมาตรการ EV3 และ EV3.5 ที่เน้นกลุ่มรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์และรถกระบะเป็นหลัก ซึ่งบอร์ดอีวีคาดว่าการสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ครั้งนี้ จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 10,000 คัน ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอีวีของภูมิภาคในรถยนต์ทุกประเภท"EVT ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุน ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม เพราะ EVT ไม่ได้แค่ขายรถ แต่เราขาย Solution ครบวงจรตามความต้องการใช้งานของลูกค้า เราสามารถออกแบบตัวรถให้สอดคล้องกับภารกิจของลูกค้า เรายังมีการพัฒนา Application เพื่อให้ผู้ใช้บริการรถ EVT สามารถตรวจสอบการให้บริการของเราได้แบบ Realtime ดังนั้น เราจึงไม่กังวลเรื่องการแข่งขันเพราะเราได้พัฒนาเทคโนโลยีการเดินรถของเรามาตลอด 30 ปี" นายกฤศ กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit