การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 7 จัดขึ้นแล้วที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน โดยประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

27 May 2024

สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 7 จัดขึ้นแล้วที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน โดยประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต (Digital China Summit หรือ DCS) ครั้งที่ 7 ได้มีขึ้นที่เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา งานสุดยิ่งใหญ่นี้ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สำนักงานบริหารข้อมูลแห่งชาติ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารทรัพย์สินของรัฐในสังกัดคณะมนตรีรัฐกิจ และรัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยน จัดโดยรัฐบาลเทศบาลเมืองฝูโจวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในปีนี้ งานดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต จัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ได้เพิ่มประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนระบบข้อมูลระดับชาติ โดยจัดขึ้นในหัวข้อ "ปลดล็อกคุณค่าขององค์ประกอบข้อมูล พร้อมพัฒนาผลผลิตใหม่อย่างมีคุณภาพ" (Unlocking the Value of Data Elements and Developing New Quality Productivity) ซึ่งมีตัวแทนจากหลากหลายสาขาร่วมหารือเกี่ยวกับเทคโนโลยี โมเดล และนวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อสำรวจความก้าวหน้าของจีนในยุคดิจิทัล

การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีการลงนามโครงการเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด 421 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวมถึง 2.03 แสนล้านหยวน โครงการเหล่านี้ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีคุณภาพ และอัดฉีดแรงผลักดันใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของฝูเจี้ยน

ในระหว่างการประชุมสุดยอดดังกล่าว มีการเปิดตัวเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ดิจิทัลใหม่ ๆ มากมาย ทั้งยังได้จัดฟอรัมย่อย 13 หัวข้อด้วยกัน ทั้งในหัวข้อทรัพยากรข้อมูลและความปลอดภัยดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล และบริการรัฐบาลดิจิทัล เป็นต้น

งานดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ในปีนี้ยังได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางดิจิทัลของจีน (2566) ซึ่งแสดงให้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจดิจิทัลจีนในปี 2566 โดยที่มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมหลักคิดเป็นสัดส่วน 10% ของ GDP นอกจากนี้ ตลาดปัจจัยด้านข้อมูลเริ่มมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยมีการผลิตข้อมูลรวมกันมากถึง 32.85 ZB (1 ZB เท่ากับหนึ่งพันล้านล้านล้านไบต์) ในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 22.44% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของจีนยังได้ขยับขยายออกไป ด้วยกำลังทางคณิตศาสตร์รวม 230 EFLOPS ซึ่งมากเป็นอันดับสองของโลก

ทั้งนี้ งานดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต จัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้วนับตั้งแต่ปี 2561

ที่มา: สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit