วัคซีนไม่ได้สำคัญเฉพาะสูงวัย หากแต่จำเป็นในทุกช่วงวัย ซึ่งมักถูกละเลยไปเมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงานหรือวัยผู้ใหญ่ โดยในวัยนี้เป็นช่วงที่การทำงานของร่างกายยังดีอยู่ รวมถึงยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากวัคซีนตั้งแต่วัยเด็ก ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและอาการเจ็บป่วยได้
สำหรับวัคซีนในผู้สูงวัยมีความสำคัญ พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้กล่าวว่าจนเมื่ออายุมากขึ้นหรือเข้าสู่ช่วงสูงวัย ระบบการทำงานก็เริ่มเสื่อมถอยลงไป ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอาจจจะมีอาการรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหมอเลยจะมาบอกถึงความสำคัญของวัคซีนในผู้สูงวัยกันค่ะ ดังนี้
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคได้ดีขึ้น
- ลดอาการเจ็บป่วยรุนแรง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือปัจจัยเสี่ยง
- ช่วยให้ฟื้นตัวจากการติดเชื้อได้ดีกว่าการไม่ได้รับวัคซีน
- ลดโอกาสการนอนโรงพยาบาลและลดโอกาสเสียชีวิต
วัคซีนหลักๆที่จำเป็นในสูงวัย ได้แก่
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งมักมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝน โดยในปัจจุบันมีวัคซีนขนาดสูง ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยมีแอนติเจนมากกว่าเดิม 4 เท่า และกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม ช่วยลดความรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ เช่น ปอดอักเสบ เส้นเลือดสมองและหัวใจตีบ เป็นต้น
- วัคซีนงูสวัด ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ 1. ชนิดเชื้อเป็น ฉีดเข็มเดียว แนะนำให้ในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 2. วัคซีนจากวิศวพันธุกรรม ซึ่งเป็นวัคซีนงูสวัดตัวใหม่ สามารถให้ได้ในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าชนิดเชื้อเป็น
- วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ แนะนำให้ตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันก่อนฉีด โดยฉีด 3 เข็ม
- วัคซีนนิวโมคอคคัส หรือปอดอักเสบ แนะนำในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งจะช่วยป้องกันปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียpneumoniae ช่วยลดโอกาสเสียชีวิตจากปอดอักเสบรุนแรงได้ โดยควรฉีดวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่
- PCV13 ป้องกันเชื้อไวรัสปอดอักเสบ 13 สายพันธุ์ 1 เข็ม
- PPSV23 ป้องกันเชื้อไวรัสปอดอักเสบ 23 สายพันธุ์ 1 เข็ม
ทั้งนี้ก่อนการฉีดวัคซีน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งนะคะ เนื่องจากแต่ละคนย่อมมีสภาวะสุขภาพ โรคประจำตัว ข้อห้ามที่แตกต่างกันค่ะ